ผลของอุณหภูมิรากต่อการเจริญเติบโตของลิ้นจี่
Main Article Content
บทคัดย่อ
ผลของอุณหภูมิรากที่มีต่อการเจริญเติบโตของลิ้นจี่ พันธุ์จักรพรรดิ์ทำการศึกษาที่ระดับอุณหภูมิราก 15 °ซ 20 °ซ และอุณหภูมิรากปกติ (เฉลี่ย 26.2 °ซ) ปรากฏว่า ต้นที่ได้รับอุณหภูมิรากปกติ มีอัตราการเติบโตในด้านความสูงของต้น ความกว้างของทรงพุ่ม และเส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้นสูงกว่าระดับอุณหภูมิราก 20 และ 15 °ซ อุณหภูมิรากปกติ และ 20 °ซ มีระยะเวลาการเปลี่ยนสีของใบน้อยกว่าที่อุณหภูมิราก 15 °ซ ส่วนต้นที่ได้รับอุณหภูมิราก 15°ซ มีความยาวช่อใบและเส้นผ่าศูนย์กลางของช่อใบน้อยที่สุด แต่ต้นที่ได้รับอุณหภูมิราก 20 และ 15°ซ มีผลต่อจำนวนช่อใบใหม่ต่อยอดมากกว่าอุณหภูมิรากปกติ ที่อุณหภูมิราก 20 และ 15 °ซ มีผลต่อเปอร์เซ็นต์การผลิช่อดอกและการติดผลมากกว่าที่ระดับอุณหภูมิรากปกติ ซึ่งอุณหภูมิรากปกติมีปริมาณไนโตรเจนในใบสูงกว่าที่อุณหภูมิราก 20 และ 15 °ซเช่นเดียวกับฟอสฟอรัสในใบของต้นที่ได้รับอุณหภูมิรากปกติและ 20 °ซ มีสูงกว่าอุณหภูมิราก 15 °ซ ส่วนปริมาณโปแตสเซียมไม่แตกต่างกัน
Article Details
References
ทัศนุพันธุ์ กุศลสถิตย์. 2532. ผลของอุณหภูมิรากที่มีต่อการเจริญเติบโตของส้มโอ. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท สาขาวิชาพืชสวน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เชียงใหม่. 72 น.
นพดล จรัสสัมฤทธิ์. 2536. ฮอร์โมนพืชและสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช. สหมิตรออฟเซท กรุงเทพฯ. 124 น.
พาวิน มะโนชัย. 2535. ผลกระทบของอุณหภูมิรากที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของมะม่วง. วิทยานิพนธ์ปริญญา โท สาขาวิชาพืชสวน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เชียงใหม่. 116 น.
สมบุญ เตชะภิญญาวัฒน์. 2538. สรีรวิทยาของพืช. ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ. 203 น.
Batten, J.D. and E.Lahav. 1981. The effect of temperature on growth and nutrient uptake in three litchi varieties. Res. Rep. Trop. Fr. Res. Sta., Alstonville, N.S.W. pp. 37-38.
Chaikiattiyos, S. C., M.Menzel and T.S.Rasmussen. 1994. Floral induction in tropical fruit trees : Effect of temperature and water supply. J. Hort Sci. 69: 397-415.
Cooper, A.J. 1973. Root Temperature and Plant Growth. Commonwealth Agricultural Bureaux, Farnham Royal. 73 p.
George, A.P. and R.J.Nissen. 1987. The effects of root temperature on growth and dry matter production of Annona species. Scientia Hort. 31: 95-99.
Hoagland, D.R. and D.I.Arnon. 1952. The Water Culture Method for Growing Plants without Soil. California Agricultural Experimental Station Bulletin No.147.
Kramer, P.J. 1969. Root and Root Growth in Plant and Soil Water Relationships. McGraw-Hill Book Company, New York. pp. 104-148.
Meinke, H. and A.Karnatz.1990. Influence of air and soil temperature on grafted and self-rooted Passiflora hybrids. Scientia Hort. 43: 237-246.
Menzel, C.M. 1983. The control of floral initiation in lychee: a review. Scientia Hort. 21: 201-215. Menzel, C.M. and D.R.Simpson. 1988. Effect of root and shoot temperature on growth and flowering of lychee. Maroochy Hort. Res.Sta.Report No. 5.p 69.
Menzel, C.M. and D.R.Simpson. 1992. Flowering and fruit set of lychee (Litchi chinensis Sonn.) in subtropical Queensland. Aust. J. Expt. Agr. 32 : 105-111.
Menzel, C.M., D.W. Turner, V.J. Doogan and D.R.Simpson.1994. Root shoot interaction in passionfruit (Passiflora sp.) under the influence of changing root volumes and soil temperatures. J.Hort.Sci. 69(3): 553-564.
Menzel, C.M., T.S.Rasmussen and D.R.Simpson. 1989. Effect of temperature and leaf water stress on growth and flowering of litchi (Litchi chinensis Sonn.). J. Hort. Sci. 64(6): 739-752.
Skene, K.G.M. and G.H.Kerridge.1967. Effect of root temperature on cytokinin activity in root exudate of Vitis vinifera L. Plant Physiol. 42: 1131-1139.