การศึกษาวัสดุปลูกที่เหมาะสมสำหรับปทุมมา

Main Article Content

ฉันทลักษณ์ ติยายน
อดิศร กระแสชัย

บทคัดย่อ

ในการเปรียบเทียบวัสดุปลูก 5 ชนิดกับ Curcuma sparganifolia พบว่า หัวปทุมมาที่ปลูกในแกลบดิบผสมกับขุยมะพร้าวอัตราส่วน 1: 1 ร่วมกับการใช้ปุ๋ยที่เหมาะสมจะงอกและแทงหน่อเร็วที่สุด มีอัตราการเจริญเติบโตที่ดี ให้ดอกเร็วที่สุดและมากที่สุดในบรรดาวัสดุทดสอบอื่น ๆ อีก 4 ชนิด ได้แก่ ดินเหนียว, ดินแม่น้ำ, ดินร่วนผสมเปลือกถั่วอัตรา 1: 1 และทรายผสมขุยมะพร้าวอัตรา 1: 1 นอกจากนี้ยังให้หัวใหม่มากที่สุด และใช้เวลาสั้นในการทำความสะอาดหัว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ฉันทนา สุวรรณธาดา. 2538. เอกสารประกอบการสอนกระบวนวิชา 359414 ไม้ดอกประเภทหัว. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เต็ม สมิตินันท์. 2523. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (ชื่อพฤกษศาสตร์- ชื่อพื้นเมือง). กรมป่าไม้กรุงเทพฯ: 100-101
พิศิษฐ วรอุไร ; ฉันทนา สุวรรณธาดา และ พิมพ์ใจ อาภาวัชรุตม์. 2536. โครงการบังคับต้นไม้ ประเภทหัวบาง ชนิดให้ออกนอกฤดูกาล. จดหมายข่าวสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปีที่ 1 ฉบับที่ 3
สุรวิช วรรณไกรโรจน์. 2537. ปทุมมาและกระเจียวในไม้ตัดดอกเขตร้อน กองส่งเสริมพืชสวน กรมส่งเสริม การเกษตร: 58-72
เสาวลักษณ์ สุขสมัย. 2538. ปทุมมาที่ท่าเดื่อ ในรวมฮิตไม้ตัดดอกเมืองร้อน. สำนักพิมพ์มติชน กรุงเทพฯ: 80- 84.
สุรชาติ ดูอารียะกุล. 2539. โรคเที่ยวหรือหัวเน่าของไม้ดอกตระกูลกระเจียว และการป้องกันกำจัดเอกสาร ประกอบคำบรรยายการสัมนาวิชาการเรื่อง ผลกระทบของโรคหัวเน่าของปทุมมาต่อการผลิตและการส่งออก ณ. สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1
อดิศร กระแสชัย. 2536. ผลของความสั้น-ยาว ของวันต่อการให้ดอกของปทุมมา. วารสารเกษตร 9(2): 118- 129
อดิศร กระแสชัย. 2538a. ผลของขนาดหัวที่ใช้ปลูกต่อการเกิดหัวใหม่. รายงานประชุมวิชาการไม้ดอกไม้ ประดับแห่งชาติครั้งที่ 1 สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ: 64-70
อดิศ รกระแสชัย. 2538b. ผลของจำนวนและความยาวของรากสะสมอาหารของปทุมมาต่อการเกิดหัวใหม่. รายงานประชุมวิชาการไม้ดอกไม้ประดับแห่งชาติครั้งที่ 1 สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ: 4-70
อุดร คำหอมหวาน. 2538. บทสัมภาษณ์ใน : รวมฮิตไม้ตัดดอกเมืองร้อน สำนักพิมพ์มติชน กรุงเทพฯ. หน้า 71- 75.
อุษา เลปวิทย์ และ อดิศร กระแสชัย. 2538. การศึกษาความเข้มแสง ที่มีผลต่อการชักนำให้เกิดวันยาวของ ปทุมมา. รายงานประชุมวิชาการไม้ดอกไม้ประดับแห่งชาติครั้งที่ 1 สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ : 58-63