การเจริญและผลผลิตของกระถินณรงค์และกระถินยักษ์ในจังหวัดเชียงใหม่1

Main Article Content

จรูญ สุขเกษม
ชวลิต ชโลธร

บทคัดย่อ

การศึกษาการเจริญและผลผลิตของกระถินณรงค์พันธุ์ ACACAU QLD ACACAU PNG และกระถินยักษ์พันธุ์ LEUCHY Kx3B และ LEUCLE K636 ได้ดำเนินการมาเป็นเวลา 3 ปี บนดิน Plinthic Paleaquults ที่สถานีวิจัยและศูนย์ฝึกอบรมการเกษตรแม่เหียะ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


จากผลการทดลองปรากฏว่า กระถินยักษ์พันธุ์ LEUCLE K636 เป็นต้นไม้เอนกประสงค์ที่เหมาะสมที่สุด โดยมีความสูงเฉลี่ย 11.19 เมตร และ มีน้ำหนักแห้ง 24.91 กิโลกรัม/ต้น ส่วนกระถินณรงค์พันธุ์ ACACAU PNG เจริญเติบโตและให้ผลผลิตต่ำสุด การลิดกิ่งช่วยลดความสูงของต้นไม้ แต่ช่วยเพิ่มขนาดของลำต้นอย่างไรก็ตามไม่มีความแตกต่างทางสถิติของน้ำหนักแห้งของใบ ดอก และผล ซึ่งอยู่ระหว่าง 2.29-3.24 กิโลกรัม/ต้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Kinch, D.M., J.C. Ripperton. 1962. Koa haole, production and processing. Hawaii Agricultural Experiment Station, University of Hawaii, Honolulu, HI, USA. Bulletin 129.
Nitis, I.M., K. Lana, W. Sukanten, M. Suarna, and S. Putra. 1989. The concept and development of the three-strata forage system. Shrubs and Tree Fodders for Farm Animals. Proceedings of a workshop in Denpasar, Indonesia, 24-29 July 1987. pp 92-102.
Topark-Ngarm, A. 1989. Shrubs and tree fodders in farming system in Asia. Shrubs and tree fodders for farm animals. Proceedings of a workshop in Denpasar, Indonesia, 24-29 July 1989. pp 12-21.