การดำเนินงานวิจัยในปัจจุบัน กำลังประสบปัญหาที่ต่างไปจากเมื่อระยะ 10 ปี ที่ผ่านมา  ในอดีตนักวิจัยประสบปัญหาการขาดแคลนทุนเพื่อการวิจัย แหล่งทุนวิจัยจากเงินงบประมาณแผ่นดินมีน้อยมาก และต้องเจียดไปสนับสนุนโครงการวิจัยจำนวนมากทั่วประเทศ ทำให้เงินทุนวิจัยมีลักษณะเป็นเบี้ยหัวแตกไม่อาจพัฒนาโครงการวิจัยขนาดใหญ่ได้ ผลงานวิจัยจึงขาดความต่อเนื่องและความเป็นรูปธรรมที่จะนำไปปฏิบัติได้ แหล่งทุนวิจัยขนาดใหญ่มีค่อนข้างจำกัดมักจะได้จากองค์กรระหว่างประเทศหรือจากรัฐบาลต่างประเทศเป็นหลักซึ่งก็มักจะให้ทุนตามความสนใจของแหล่งทุนเท่านั้น อาจไม่สนองตอบต่อการแก้ปัญหาภายในประเทศ

ปัจจุบัน ประเทศมีรายได้มากขึ้น ประชากรมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวเพิ่มขึ้นจนประเทศไทยไม่ถูกจัดเป็นประเทศยากจนและด้อยพัฒนาอีกต่อไป งบประมาณวิจัยจากแหล่งทุนต่างประเทศจึงลดลงมาก ในขณะที่วรนักวิจัยส่วนใหญ่ยังโชคดีที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและรัฐบาลเริ่มเล็งเห็นความสำคัญของการวิจัยได้สนับสนุนงบประมาณวิจัยเพิ่มมากขึ้น  โดยผ่านองค์กรและสถาบันที่เกี่ยวข้อง โครงการวิจัยขนาดใหญ่มูลค่าหลายสิบล้านบาท สามารถพัฒนาขึ้นได้ โดยอาศัยทุนวิจัยภายในประเทศ โครงการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาประเทศได้รับการกระตุ้นให้มีการพัฒนาขึ้นและดำเนินการโดยไม่ต้องกังวลว่าจะไม่มีงบประมาณวิจัยสนับสนุนอย่างไรก็ตามการดำเนินงานวิจัยที่กำลังถึงทางตันเช่นเดิม ปัญหาหลักไม่ใช่งบประมาณ แต่เป็นเรื่องการขาดบุคลากรวิจัยที่มีคุณภาพ

ปัญหานี้เป็นเรื่องเร่งด่วนที่เราทุกคนในฐานะนักวิชาการและนักวิจัยควรจะต้องร่วมมือกันหาทางแก้ไขการพัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่โดยมีนักวิจัยอาวุโสเป็นพี่เลี้ยงในลักษณะเป็นนักวิจัยร่วมในโครงการการร่วมมือกันพัฒนาโครงการลักษณะสหสาขาวิชาและ/หรือสหสถาบัน  เพื่อระดมทรัพยากรที่กระจัดกระจายอยู่ในแหล่งต่าง ๆ มาสร้างประโยชน์แก่ประเทศชาติอย่างเต็มที่ ตลอดจนการผลิตบัณฑิตที่มีคุณสมบัติเป็นนักวิจัยที่ดีเหล่านี้ล้วนเป็นแนวทางที่อาจช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนบุคลากรได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เพียงแต่เราต้องเริ่มที่ “ความเข้าใจ ความมีวิสัยทัศน์ และความร่วมมือ” ให้ได้เท่านั้น

เผยแพร่แล้ว: 2020-10-27

อายุและน้ำหนักเมื่อเป็นสัดครั้งแรกของโคสาวพันธุ์อเมริกันบราห์มัน

นิพนธ์ วิทยากร, พัชรินทร์ สนธิ์ไพโรจน์, ปกรณ์ ภู่ประเสริฐ

252-258