ผลของโซเดียมไนเตรทและโซเดียมไนไตรท์ต่อคุณภาพแหนมที่ผลิตโดยใช้ Glucono-delta-lactone ร่วมกับเชื้อบริสุทธิ์เริ่มต้นผสม

Main Article Content

สุธยา บุญถนอม
ไพโรจน์ วิริยจารี
นินนาท ชินประหัษฐ์

บทคัดย่อ

คุณภาพของแหนมทั้งทางด้านฟิสิกส์ เคมี และจุลชีววิทยา  เป็นสิ่งจำเป็นที่ควรระลึกถึงในการผลิต ซึ่งผลิตภัณฑ์สุดท้ายที่ได้ควรมีลักษณะปรากฏเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค อาทิ  สี  ตลอดจนลักษณะเนื้อสัมผัสรสชาติ รวมไปถึงความปลอดภัยในการบริโภค  ปัจจัยหนึ่งที่น่าจะมีผลกระทบต่อคุณภาพดังกล่าวคือ  ปริมาณโซเดียมไนเตรทและโซเดียมไนไตรท์ ซึ่งจากการศึกษาโซเดียมไนเตรท (200-500 ppm) และโซเดียมไนไตรท์ (100-200 ppm) ถูกใช้ร่วมกับกลูโคโนเดลตาแลคโตน (0.25%) และเชื้อบริสุทธิ์เริ่มต้นผสมของ Lactobacillus plantarum (NHI 1100), Pediococcus cerevisiae (NZ DRI) และ Micrococcus varians (ATCC 15306) ที่ผ่านการหมักที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 48 ชั่วโมง  พบว่าสิ่งทดลองที่มีโซเดียมไนเตรท 500 ppm และโซเดียมไนไตรท์ 200 ppm มีผลต่อปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ในกลุ่ม Enterobacteriaceae อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p<0.05 โดยตรวจพบเชื้อในกลุ่มดังกล่าว Log N เท่ากับ 3.39 ในผลิตภัณฑ์สุดท้าย รวมถึงปริมาณ Staphylococcus aureus และ Salmonella spp. แต่ทั้งนี้ลักษณะปรากฏในด้านสี ปริมาณสารไนเตรท ปริมาณสารไนไตรท์ที่เหลือตลอดจนค่าความเป็นกรดด่างของผลิตภัณฑ์สุดท้ายในแต่ละสิ่งทดลองไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p> 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ไพโรจน์ วิริยจารี, ลักขณา รุจนไกรกานต์ และอำพิน กันธิยะ. 2536. การพัฒนาผลิตภัณฑ์แหนม โดยใช้เทคโนโลยีเชื้อบริสุทธิ์เริ่มต้นผสม 1. แหล่งคาร์โบไฮเดรตที่เหมาะสมต่อการผลิตแหนม. วารสารเกษตร.9:51.
สุธยา บุญถนอม. 2537. การใช้สารเคมีที่ให้ความเป็นกรดและหัวเชื้อผสมในผลิตภัณฑ์แหนม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อดิศร เสวตวิวัฒน์. 2533. ผลของการใช้กล้าเชื้อแบคทีเรียแลคติคต่อซาลโมเนลลาในการหมักแหนม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
AOAC. 1984. Official Methods of Analysis. (13rd ed.) Association of Official Analytical Chemists, Washington D.C.
Kamphake, L., Hannah, S., and Cohen, J. 1967. Automated analysis for nitrate by hydrazine reduc- tion. Water Res. 1: 205.
Klettner, P. G., and Baumgartner, P. A. 1980. The technology of raw dry sausage manufacture. FoodTechnol.in Australia, 32: 380.
Kiss, I. 1984. Testing Methods in Food Microbiology. Elsevier, Amsterdam-Oxford.
Mathey, R. 1980. Effect of different curing aids on nitrite/nitrate breakdown in raw cured meats. FSTA.12: 237
Nurmi, E. 1966, Effect of bacterial inoculations on characteristics and microbial flora of dry sausage. Acta. Agr. Fenn. 108: 1
Rhia, W.E.Jr., and Solberg, M. 1975. Clostridium perfringens inhibition by sodium nitrite as a function of pH, inoculum size and heat. J.Food Sci. 40: 439.
Varga, C. 1973. Changes in the pH of pork as depending on the amount of admixtures, FSTA. 5: 200.
Walonic, D. S. 1987. Stat-Packets. Walonick Associates Inc., Minneapolis, MN.
Wenderdel, B. 1980. Reduction of resderal nitrite and nitrate contents of raw dry sausages. FSTA. 12: 205