การผสมผสานไม้ยืนต้นเพื่อการพัฒนาระบบการเกษตรที่ยืนยงบนที่ดอนอาศัยน้ำฝน 2. การเปรียบเทียบพันธุ์มะม่วงที่มีอายุ 4 ปี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การเปรียบเทียบพันธุ์มะม่วงจำนวน 15 พันธุ์ที่ปลูกผสมผสานกับถั่วเหลืองปลายฤดูฝน เพื่อพัฒนาระบบการเกษตรบนที่ดอนอาศัยน้ำฝน ณ พื้นที่โครงการปฏิรูปที่ดิน เพื่อการเกษตรกรรมป่าจอมทองจังหวัดเชียงใหม่ ได้ศึกษามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 ผลการศึกษาในช่วง 4 ปีแรก โดยพิจารณาจากทั้งผลผลิตและองค์ประกอบอื่น ๆ พบว่ามะม่วงแต่ละพันธุ์มีข้อดีแตกต่างกัน พันธุ์ศาลายาให้ผลดกที่สุด 81 ผลต่อต้นในปีที่ 4 พันธุ์เพชรบ้านลาดและแก้วลืมรัง เก็บเกี่ยวผลได้ก่อนในสัปดาห์ที่สามของเดือนเมษายนขณะที่พันธุ์อื่น ๆ เก็บเกี่ยวได้ในเดือนพฤษภาคมหรือหลังจากนี้ พันธุ์โชคอนันต์ให้ผล 3 รุ่นต่อปีแสดงความเป็นมะม่วงทวายชัดเจน พันธุ์แก้วหัวจุก เป็นมะม่วงอุตสาหกรรมที่ตลาดต้องการไม่จำกัด ให้ผลผลิตปานกลาง แต่มีผลแตกเสียหายสูง มะม่วงทุกพันธุ์ให้ผลขนาดเล็กในสัดส่วนที่สูง มะม่วงรับประทานผลสุกรวมทั้งพันธุ์น้ำดอกไม้ เพิ่มปัญหาคุณภาพความสวยงามของผิวเปลือกต่ำเมื่อพร้อมจำหน่ายพันธุ์ที่ต้นโตพุ่มกว้าง เช่น พิมเสนมัน ทองคำ อกร่อง หนองแซง เจ้าคุณทิพย์ และหนังกลางวัน มีผลให้การฉีดพ่นสารกำจัดศัตรูพืช และการเก็บเกี่ยวผลผลิตทำได้ยากขึ้น พายุฤดูร้อน เป็นสาเหตุที่สำคัญของการตายของมะม่วงในช่วงปีที่ 2-4 และยังทำให้ผลมะม่วงได้รับความเสียหายอีกด้วยถั่วเหลืองที่ปลูกผสมผสานกับมะม่วงมีผลผลิตลดต่ำจากปีแรก ๆ มาเป็นลำดับและในปีที่ 4 ให้ผลผลิตเพียง 97 กก. ต่อไร่หรือร้อยละ 65 ของแปลงที่ปลูกเฉพาะถั่วเหลืองในรายงานยังได้กล่าวถึงการปลูกมะม่วงของเกษตรกรบนที่ดอนอาศัยน้ำฝนในบริเวณรอบ ๆ พร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางการศึกษาในโอกาสต่อไป
Article Details
References
ธวัชชัย รัตน์ชเลศ. (2533). การกระจายและความหนาแน่นพืชในธรรมชาติที่สัตว์บริโภคบนที่ดอนอาศัยน้ำฝน. วารสารเกษตร. 6(4): 239-251.
ธวัชชัย รัตน์ชเลศ และพฤกษ์ ยิบมันตะสิริ. (2535). การใช้แนวทางวิจัยระบบฟาร์มเพื่อปรับปรุงไม้ผลยืนต้นบนที่ดอนอาศัยน้ำฝน : กรณีศึกษาพื้นที่ปฏิรูปที่ดินป่าจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่, MCC Agricultural Technical Report No. 16. 15 หน้า.
ธวัชชัย รัตน์ชเลศ พฤกษ์ ยิบมันตะสิริ., และคนึงนิจ กิตติวัฒน์. (2536). ผลิตภาพของมะม่วงในระบบเกษตรผสมผสานบนที่ดอนอาศัยน้ำฝน. MCC Agricultural Technical Report No. 21. 17 หน้า.
ธวัชชัย รัตน์ชเลศ และภัททนันท์วุฒิการณ์ ทิมม์. (2534). ปัญหาและความต้องการในการปลูกมะม่วงของเกษตรกรบนที่ดอนอาศัยน้ำฝน. วารสารเกษตร 7(2): 134-153.
ธวัชชัย รัตน์ชเลศ และอดิศร กระแสชัย. (2534). การผสมผสานไม้ยืนต้นเพื่อการพัฒนาระบบการเกษตรที่ยืนยงบนที่ดอนอาศัยน้ำฝน 1. การประเมินพันธุ์ไม้ยืนต้น. วารสารเกษตร 7 (1): 77-95.
ธวัชชัย รัตน์ชเลศ และอดิศร กระแสชัย. (2535 ก). การเปรียบเทียบพันธุ์มะม่วงเพื่อพัฒนาการเกษตรแบบยืนยงบนที่ดอนอาศัยน้ำฝน. วารสารเกษตร 8(1): 50-68.
ธวัชชัย รัตน์ชเลศ และอดิศร กระแสชัย. (2535 ข). การผสมผสานไม้ยืนต้นเพื่อการพัฒนาระบบการเกษตรที่ยืนยงบนที่ดอนอาศัยน้ำฝน 2. การเปรียบเทียบพันธุ์มะม่วงที่มีอายุ 3 ปี.วารสารเกษตร 8 (3): 281-294.
ประศาสน์ สุทธารักษ์. 2535. ผลของปุ๋ยไนโตรเจนและการทำร่มเงาที่มีต่อต้นมะม่วงปลูกในปีแรก บนที่ดอนอาศัยน้ำฝน. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) สาขาพืชสวน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 101 หน้า.
พฤกษ์ ยิบมันตะสิริ ธวัชชัย รัตน์ชเลศ และสุพร อำมฤคโชค. (2535). ประสบการณ์วนเกษตรในพื้นที่ภาคเหนือ. เอกสารเสนอในการสัมมนาเรื่อง การพัฒนาวนเกษตรในประเทศไทย. 1-3 ธันวาคม 2535. โรงแรมเชียงใหม่ฮอลิเดย์การ์เดนจังหวัดเชียงใหม่. 12 หน้า.
รักชัย คุรุบรรเจิดจิต ศศิธร วสุนันต์ สกล พหรมพันธุ์ เบลเยี่ยม เจริญพานิช ภคินี อัครเวสสะพงศ์ สิริวิภา สัจจพงษ์ และประเสริฐ อนุพันธ์. (2536). การศึกษาและเปรียบเทียบมะม่วงแก้วสายพันธุ์ดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. เอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการด้านพืชสวน ประจำปี 2535 - 36 สถาบันวิจัยพืช สวน กรมวิชาการเกษตร 22-26 กุมภาพันธ์ 2536. โรงแรมเชียงใหม่ภูคำ จังหวัดเชียงใหม่.หน้า 45.
อนงค์ ยะใจ. (2534). ลักษณะและปัญหาบางประการของมะม่วงที่ปลูกบนที่ดอนอาศัยน้ำฝน. ปัญหาพิเศษวิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) สาขาพืชสวน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 68 หน้า.
Amaruekachoke, S. and K. Kittiwat. (1994). Integration of forage legume for rehabilitation of degraded land in northern Thailand. MCC Agricultural Technical Report No. 29. 20 p.
Gypmantasiri, P. and K. Kittiwat. 1993.Growth and performance of grain and forage legumes on the rainfed uplands. MCC Agricultural Technical Report No. 28. 12 p.
Gypmantasiri, P. and T. Radanachaless. 1992. Promotion of farmer organization in rehabilitation of rainfed uplands. p. 231-234. In C. Veer and J. Chamberlain (ed.). Regional Wood Energy Development Programme in Asia: Local Organization in Community Forestry Extension in Asia. Field Document No.34. p. 231-234.