น้ำตาลที่เหมาะสมต่อการผลิตแหนมโดยใช้เทคโนโลยีเชื้อบริสุทธิ์เริ่มต้นผสม

Main Article Content

ไพโรจน์ วิริยจารี
ลักขณา รุจนะไกรกานต์
อิศรพงษ์ พงษ์ศิริกุล
วิวรรธน์ วรรธนัจฉริยา
สุธยา บุญถนอม

บทคัดย่อ

น้ำตาล 5 ประเภท ได้แก่ ซูโครส แลคโตส มอลโตส กลูโคส และแซคคาโลสนำมาให้เป็นปัจจัยของการศึกษาถึงชนิดของน้ำตาลที่เหมาะสมต่อการผลิตแหนม ร่วมกับแหล่งคาร์โบไฮเดรต คือ ข้าวเจ้า และข้าวเหนียว  โดยใช้เทคโนโลยีเชื้อบริสุทธิ์เริ่มต้นผสม  จากการทดลองพบว่าการใช้กลูโคส ร้อยละ 0.5 ในสูตรการผลิตทำให้ได้ผลิตภัณฑ์แหนมที่มีคุณภาพที่ดี ในสูตรดังกล่าวมีปริมาณน้ำตาลรีดิวส์ค่อนข้างสูง คิดเป็นร้อยละ 0.9130±0.0183  ซึ่งเหมาะสมพอที่จะให้เชื้อแบคทีเรียประเภทที่สามารถรีดิวส์ไนเตรท เป็นไนไตรท์เจริญเติบโตและมีกิจกรรมที่ดี  นอกจากนี้ปริมาณน้ำตาลรีดิวส์ที่เหลือ สามารถให้เชื้อแบคทีเรียประเภทที่สร้างกรดแลคติคใช้ใน การผลิตกรดแลคติคได้สูงถึงร้อยละ 1.0392 ±0.0205 มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างเกท่ากับ 4.2340±0.00 และปริมาณคาร์โบไฮเดรตคงเหลืออยู่คิดเป็นร้อยละ 1.6354±0.1068 หลังจากเสร็จสิ้นการหมัก 48 ชั่วโมงแล้วผลิตภัณฑ์แหนมที่ได้มีการยอมรับที่ดีของผู้บริโภค  โดยมีค่า mean ideal ratio scores ของสีที่ปรากฏลักษณะเนื้อที่มองเห็นความแน่นเนื้อ ความฉ่ำเนื้อ ความเนียนเนื้อ ความเปรี้ยว ความเค็ม กลิ่นเครื่องเทศ และการยอมรับรวมเท่ากับ 1.25 ± 0.27, 0.79 ± 0.18, 0.93 + 0.13, 1.03 + 0.14, 0.82 + 0.17, 0.96 ± 0.12, 1.03 + 0.11, 0.82 ±0.21 และ 0.71 ± 0.17 ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ไพโรจน์ วิริยจารี และอรัญ หันพงศ์กิตติกุล. (2533, 2535). ปฏิบัติการอุตสาหกรรมการหมัก. ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ไพโรจน์ วิริยจารี. (2533). การวางแผนและการวิเคราะห์ทางด้านประสาทสัมผัส. ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร. คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
AOAC. (1984). Official Methods of Analysis (13rd edition) Association of official Analytical Chemists, Washington, D.C.
Bacus, J. (1984). Utilization of Microorganisms in Meat Processing. Research Studies Press, Ltd., England.
Deibel, R.H., C.F. Niven. Jr., and G.D. Wilson. (1961). Microbiology of meat curing III. Some microbiological and related technological aspects in the manufacture of fermented sausages. Appl. Microbiol., 9: 156-165.
Gibbs, P.A. 1987. Novel uses for lactic acid fermentation in food preservation. J. Appl. Bacteriol. Symposium Supplement, 515-58S.
Miller, G.L. (1959). Use of dinitrosalicylic acid reagent for determination of reducing sugars.Analytical Chemistry 31: 426-428.
Pearson, D. (1987). The Chemical Analysis of Food. Churchill Livingstone. London and New York.
Walonick, D.S. (1987) Stat-Packets. Walonick Associates Inc., Minneapoils, MN.
Wiriyacharee, P. (1990). The Systematic Development of a Controlled Fermentation Process Using Mixed Bacterial Starter Cultures for Nham, a Thai Semi-dry Sausage. Ph.D. Thesis in Product Development in Food Fermentation, Massey University, New Zealand.