อิทธิพลของฟอสเฟต ความเป็นกรด-เบสของดิน ความชื้นและอุณหภูมิที่มีต่อการดูดและการคายโบรอนในดิน

Main Article Content

สุพจน์ โตตระกูล
กนกพันธ์ พันธุ์สมบัติ

บทคัดย่อ

การศึกษาการดูดและการคายโบรอนและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการดังกล่าวของดินชุดเรณูซึ่งเป็นดินร่วนปนทราย  จากสถานีวิจัยและศูนย์ฝึกอบรมการเกษตรแม่เหียะ คณะเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พบว่า ไอโซเทอร์มการดูดโบรอนของดินชนิดนี้ เป็นไปตามสมการของแลงเมียร์ในช่วงของการเติมโบรอน 1-30 ไมโครกรัมต่อดินหนึ่งกรัมเท่านั้น อย่างไรก็ตาม  ไอโซเทอร์มดังกล่าวเข้าได้กับสมการของฟรอยด์ลิชได้ทุกช่วงของโบรอนที่เดิม  นอกจากนั้นการดูดและการคายโบรอนของดินชนิดนี้ก็ยังแสดงลักษณะ ฮีสเทอรีซิส.


การใส่ฟอสฟอรัสลงไปในดินก่อนใส่โบรอน เพื่อที่จะให้ฟอสเฟตเข้าไปยึดครองตำแหน่งการตรึงโบรอนในดินนั้น ทำให้การตรึงโบรอนที่ใส่ลงไปในดินเกิดขึ้นน้อยที่สุด ส่วนผลของการเพิ่มขึ้นของความชื้น อุณหภูมิและค่าความเป็นกรด-เบสในดินนั้น  พบว่า ทำให้การตริงโบรอนของดินเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามผลของความชื้นในดินต่อการตรึงโบรอนไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญเมื่อดินมีระดับความชื้นต่ำ อันตรกริยาระหว่างคู่ของปัจจัย และกลุ่มของปัจจัยที่ควรนำไปใช้ก็ได้แสดงไว้.


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Biggar, J.W. and Fireman, M. (1960). Boron adsorption and release by soils. Soil. Sci. Soc. Amer. Proc. 24: 115-120.
Elrashidi, M.A and O'Connor, G.A (1982). Boron sorption and desorption in soils. Soil. Sci. Amer. Proc. J. 46: 27-31.
Hatcher, J.T., Bower, C.A and Clark, M. (1967). Adsorption of boron by soils as influenced by hydroxy aluminum and surface area. Soil. Sci. 104: 422-426.
Hesse, P.R. (1971). A Textbook of Soil Chemical Analysis. Willium Clowers and Sons. Ltd., London, pp 384-387.
Jackson, M.L. (1965). Soil Chemical Analysis. Plentice-Hall, Inc. Englewood Cliffs, N.J., USA .,
Karen, R. and Gast, R.G. (1983). pH-dependent boron adsorption by montmorillonite hydroxyaluminum complexes. Soil. Sci. Soc. Amer. Proc. 47: 116-1121.
Okasaki, E. and Chao, T.T. (1968). Boron adsorption and desorption by some Hawaiian soils. Soil. Sci. 105: 255-259.
Sims, J.R. and Bingham, F.T. (1967). Retention of boron by layer silicates, sesquioxides, and soil materials. I. Layer silicates. Soil. Sci. Amer. Proc. 31: 728-732.
Tisdale, S.L. and Nelson, W.L. (1966). Soil Fertility and Fertilizers and 2nd ed., The Macmillan Company. pp. 311-317.