ผลของความสั้น-ยาวของวันต่อการให้ดอกของปทุมมา

Main Article Content

อดิศร กระแสชัย

บทคัดย่อ

การศึกษาการตอบสนองต่อวันสั้นและวันยาวที่มีต่อการเกิดดอกของต้นปทุมมา Curcuma sparganifolia พบว่า วันสั้นจะยับยั้งการเกิดดอก ในขณะที่วันยาวจะส่งเสริมการเกิดดอก  ต้นที่ได้รับวันยาวจะมีความสูง  และจำนวนหน่อมากกว่าต้นที่ได้รับสภาพวันสั้น  พบว่าต้นที่ได้รับวันสั้นและวันยาวมีจำนวนใบที่ไม่แตกต่างกัน.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

วรอุไร, พิศิษฐ์. (2534). เทคโนโลยีการผลิตหัวพันธุ์ไม้ดอกประเภทหัว. หนังสือเทคโนโลยีการผลิตไม้ดอกไม้ประดับ จัดพิมพ์โดยสมาคมไม้ประดับแห่งประเทศไทย. กรุงเทพฯ. หน้า 51-53.
วรอุไร, พิศิษฐ์, สุวรรณธาดา, ฉันทนา. และ อาภาวัชรุตม์, พิมพ์ใจ. (2536). โครงการบังคับไม้ดอกประเภทหัวบางชนิดให้ออกนอกฤดูกาล. จดหมายข่าว สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 1(3): 6.
ศูนย์พยากรณ์อากาศภาคเหนือ กรมอุตุนิยมวิทยา. ข้อมูลความยาวของวันในรอบปี อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
กระแสชัย, อดิศร. (2533). การศึกษาการปรับปรุงพันธุ์ปทุมมา (Curcuma sparganifolia) โดยการใช้รังสีแกมม่า. ว. เกษตรศาสตร์ (วิทย์) 24: 125-135.
Wareing, P.E., and Phillips, I.D.J. (1981). Growth & Differentiation in Plants. Pergamon Press. 343 pp.