ผลการใช้เมล็ดหรือกากเมล็ดทานตะวันระดับสูงในอาหารเป็ดไข่

Main Article Content

สุชน ตั้งทวีวิพัฒน์
บุญล้อม ชีวะอิสระกุล

บทคัดย่อ

การใช้เมล็ดหรือกากเมล็ดทานตะวันเป็นแหล่งโปรตีนและ/หรือพลังงานในอาหารเป็ดไข่  ได้ทำการทดลองโดยใช้เป็ดลูกผสมกากีแคมป์เบลล์ ที่เลี้ยงในคอกย่อยขนาด 2 x 5 ตารางเมตร  มีถังใส่น้ำให้เป็ดได้กินเล่น  และจุ่มหัวคอกละใบ  แบ่งการศึกษาออกเป็น 2 การทดลอง  คือ  การทดลองที่ 1 ใช้เป็ดไข่ที่มีอายุ 52 สัปดาห์  จำนวน 120 ตัว  แบ่งเป็น 4 กลุ่ม  กลุ่มละ 3 ซ้ำ  ให้ได้รับอาหารที่มีเมล็ดทานตะวัน ในสูตรอาหารระดับ 0, 15, 30 และ 45% หรือเทียบเท่ากับแทนที่กากถั่วเหลือง 0, 31, 62 และ 93% ทดลองเป็นเวลา 3 เดือนส่วนการทดลองที่ 2 ใช้เป็ดไข่สาวอายุ 26 สัปดาห์  จำนวน 180 ตัว  แบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม  กลุ่มละ 3 ซ้ำ  ให้ได้รับอาหารที่มีเมล็ดหรือกากเมล็ดทานตะวันในสูตรอาหารระดับ 23 หรือ 10, 15 และ 20% ซึ่งเทียบเท่ากับแทนที่กากถั่วเหลืองระดับ 50 หรือ 50, 75 และ 100% ตามลำดับ  เปรียบเทียบกับสูตรอาหารที่ไม่มีการใช้ทั้งเมล็ดและกากเมล็ดทานตะวัน  ทดลองเป็นเวลา 6 เดือน  ปรากฏว่า  ผลผลิตไข่  ปริมาณอาหารที่กิน  และน้ำหนักไข่เฉลี่ยลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (P <0.05) ตามการเพิ่มระดับเมล็ดทานตะวันในอาหาร  โดยการใช้เมล็ดทานตะวันที่ระดับ 23% ในอาหารเป็ดสาว (การทดลองที่ 2) ไม่มีผลเสียต่อสมรรถภาพการผลิตไข่ แต่ทำให้ไข่ฟองเล็กลง  ส่วนการใช้กากเมล็ดทานตะวันแทนที่กากถั่วเหลืองบางส่วนหรือทั้งหมด  ไม่มีผลเสียต่อสมรรถภาพการผลิตไข่และคุณภาพไข่

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชีวะอิสระกุล, บุญล้อม. และ ตั้งทวีวิพัฒน์, สุชน. (2533). คุณค่าทางอาหารของเมล็ดทานตะวันในอาหารสัตว์ปีก. รายงานการประชุมทางวิชาการ ครั้งที่ 28 สาชาสัตวศาสตร์, หน้า 61-72, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
ตั้งทวีวิพัฒน์, สุชน. และ ชีวะอิสระกุล, บุญล้อม. (2533ก). การใช้เมล็ดทานตะวันเป็นแหล่งโปรตีนและพลังงานในอาหารสัตว์ปีก. รายงานการประชุมทางวิชาการ ครั้งที่ 28 สาขาสัตวศาสตร์, หน้า 47-60, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ.
ตั้งทวีวิพัฒน์, สุชน. และ ชีวะอิสระกุล, บุญล้อม. (2533ข). ผลการใช้เมล็ดทานตะวันระดับต่าง ๆ ในอาหารไก่เนื้อ. ว. เกษตรศาสตร์ (วิทย.) 244): 439-456.
ตั้งทวีวิพัฒน์, สุชน. และ ชีวะอิสระกุล, บุญล้อม. (2534). การใช้เมล็ดทานตะวันระดับสูงในอาหารไก่ไข่, ว. เกษตร. 7(3): 275-288
ศูนย์สถิติการเกษตร. (2534). สถิติการเกษตรของประเทศไทย ปีการเพาะปลูก 2533-2534. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, กรุงเทพฯ.
Dean, W, F. (1985). Nutrient requirements of meat-type ducks. In: Duck Production Science and World Practice. Proc. of a workshop at CIPANAS, Bogor, Indonesia. Farrell, D.J.and Stapleton, P. (eds.), Univ. of New England, Armidale, Australia. pp. 31-57.
Karunajeewa, H., Abu-Serewa, S., Tham, S.H. and Eason, P. (1987). The effects of dietary level of sunflower seeds and lysine on quality and laying performance of White Leghorn hens. J. Sci. Food and Agric. 41(4): 325-333.
Kashani, A and Carlson, C.W. (1988). Use of sunflower seeds in grower diets for pullets and subsequent performance as affected by aureomycin and pelleting. Poultry Sci. 67: 445-451.
Lee, K. and Moss, C.W. (1989). Performance of laying chickens fed diets containing confectionary- type sunflower seeds. Poultry Sci. 68:84.
Mayer, R.O., and Cheeke, P.R. (1975). Utilization of alfalfa meal and alfalfa protein concentrate by rats. J. Anim Sci. 40: 500-508.
NRC. (National Research Council). (1984). Nutrient Requirements of Poultry, 8th Ed. National Academy Press. Washington, D.C., USA
Pan, C.M., Lin, C.I., and Chen, P.C. (1981). Studies on Laying duck nutrition. 2 Protein and energy requirements of Tsaiya (Anas platyrhynchos var. domestica). J. Taiwan Livestock Res. 14(1): 39-44.
Schubert, R, Richter, G. and Gruhn, K. (1982). Comparative studies of digestion in Muscovy and Pekin ducks and in laying hens. Archiv fuer Tierernaehrung 32(7/8): 531-537.
Scott, M.L (1982). Nutrient requirement of poultry. Feedstuffs Year Book Issue. 50(30): 57-58.
Shen, T.F. (1985). Nutrient requirements of egg-laying ducks. In: Duck Production Science and World Practice. Proc. of a workshop at CIPANAS, Bogor, Indonesia Farrell, D.J. and Stapleton, P. (eds.), Univ. of New England, Armidale, Australia. pp. 16-30.
Shen, T.F. (1991). Mule duck production in Taiwan. II. Nutrient requirements of mule ducks. Food and Fertilizer Technology, Extension Bulletin No 328, Taiwan.
Solntsev, M.K. (1988). Egg yield of ducks in relation to the amount of protein and bacitracin in the feed mixture. In: Biologicheski aktivnye veshchestva v zhivotnovodstve. Gorki, USSR.
Steel, R.G.D., and Torrie, J.H. (1960). Principles and procedures of Statistics. McGraw-Hill Book Company, Inc. New York, USA
Tan, J.Z, Chen, H. and Zeng, AQ. (1988). Energy and protein requirements of Putian laying ducks. Chinese J. Anim Sci. 6: 3-8.
Uwayjan, M.G., Azar, E.J. and Daghir, N.J. (1983). Sunflower seed in laying hen rations. Poultry Sci. 62: 1247-1253.