การใช้สารโปรไบโอติคเสริมในอาหารลูกสุกรหย่านม

Main Article Content

วันดี เจี่ยเจริญ

บทคัดย่อ

การศึกษาผลของการใช้โปรไบโอติค  ซึ่งประกอบด้วยสปอร์ของบาซิลลัส  โตโยอิ 1 x 109 สปอร์ต่อกรัมในอาหารลูกสุกรหย่านม  โดยใช้ลูกสุกรพันธุ์ลาร์จไวท์ X แลนด์เรซ อายุ 4 สัปดาห์  จำนวน 40 ตัว (เพศผู้ 20 ตัว  เพศเมีย 20 ตัว) สุ่มลูกสุกรแต่ละเพศให้ได้รับอาหารทดลองสูตรต่าง ๆ ดังนี้  สูตรอาหาร  20 เปอร์เซนต์โปรตีน  สูตรอาหาร 18 เปอร์เซนต์โปรตีน  สูตรอาหาร 18 เปอร์เซนต์โปรตีนเสริมด้วยโปรไบโอติคในระดับ 0.05, 0.1, 0.2 เปอร์เซนต์ของสูตรอาหาร  ตามลำดับ  ลูกสุกรที่ได้รับอาหารทดลองทั้ง 5 สูตร  มีอัตราการเจริญเติบโตดังนี้คือ 0.531, 0,534, 0.502 0.535 และ 0.562 กิโลกรัมต่อวัน  ตามลำดับ  ซึ่งความแตกต่างนี้ไม่มีนัยสำคัญทางสถิ  และประสิทธิภาพการใช้อาหารเท่ากับ 1.80, 1.95, 1.95, 1.93 และ 1.84 ตามลำดับ  โดยที่ลูกสุกรที่ได้รับอาหารที่เสริมโปรไบโอติคในระดับ 0.2 เปอร์เซ็นต์ จะมีแนวโน้มของประสิทธิภาพการใช้อาหารดีกว่ากลุ่มอื่น ๆ ที่ได้รับอาหารที่มีโปรตีน 18 เปอร์เซนต์ แต่ใกล้เคียงกับกลุ่มที่ใช้อาหารโปรตีน 20 เปอร์เซ็นต์.


ผลของการใช้โปรไบโอติคต่อสุขภาพของลูกสุกรพบว่า กลุ่มที่ได้รับอาหารโปรตีน 18 เปอร์เซ็นต์ เสริมด้วยโปรไบโอติค  ความรุนแรงของอาการขี้ไหลของลูกสุกรน้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ได้เสริมโปรไบโอติค แต่ไม่แตกต่างกับกลุ่มที่ได้รับอาหารโปรตีน 20 เปอร์เซนต์


การใช้โปรไบโอติคเสริมในสูตรอาหารเป็นผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น  ทั้งนี้เนื่องจากถึงแม้จะลดระดับโปรตีนลงเหลือ 18 เปอร์เซนต์ แต่ก็มีการปรับระดับของกรดอะมิโนให้ใกล้เคียงกันทุกสูตร และเมื่อเปรียบเทียบกลุ่มที่ได้รับอาหารโปรตีน 18 เปอร์เซ็นต์ พบว่า ระดับที่เสริมโปรโบโอติค 0.2 เปอร์เซ็นต์ เป็นระดับที่ทำให้ต้นทุนค่าอาหารต่อการเพิ่มน้ำหนัก 1 กิโลกรัมต่ำที่สุด แต่ก็ยังคงสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับอาหารโปรตีน 20 เปอร์เซ็นต์  ที่ไม่ได้เสริมสารโปรไบโอติค.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พารักษา, นวลจันทร์., คันโธ, อุทัย., นาคะสิงห์, ชินะทัตร์ และ สุขมณี เนรมิต. (2533). การใช้ส่วนผสมจุลินทรีย์ประเภทโปรไบโอติค และกลุ่มเอ็นไซม์เสริมในอาหารลูกสุกรหย่านม. รายงานการประชุมวิชาการ ครั้งนี้ 28, สาขาสัตวศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
Hale, O.M. and Newton, G.L. (1979). Effects of a non-viable Lactobacillus species fermentation product on performance of pigs. J. Anim. Sci. 48: 770–775.
Males, R.J. and Johnson, D. (1990). Probiotic-what are they? What do they do? J. Anim. Sci. 68: 504-505. (Abstr.).
Pollmann, D.S. (1986). Probiotics in pig diets. pp. 193-205. In: Haresign, W. and Cole, D.J.A. Recent Advances in Animal Nutrition. University Press, Cambridge.
SAS. (1985). SAS/STATTM Guide for Personal Computer, Version 6 Edition, Cary, NC: 381 p.