การยกระดับเลือดโคพันธุ์บราห์มันในโคพื้นเมืองของเกษตรกรรายย่อยบนที่สูงโดยใช้ฮอร์โมนคุมสัดและเทคนิคผสมเทียม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะเพิ่มพันธุกรรมของโคพันธุ์บราห์มัน ซึ่งมีอัตราการเจริญเติบโตสูงกว่าเข้าไปในฝูงโคพื้นเมืองของเกษตรกรรายย่อยบนที่สูง โดยใช้ฮอร์โมนคุมสัด (Oestrus Synchronization) และเทคนิคการผสมเทียมด้วยน้ำเชื้อโคพันธุ์แท้บราห์มัน โดยใช้ฮอร์โมนคุมสัด 2 วิธีคือ : (1) SMB คือ ในโครงซินโคร – เมท บี (SYNCRO-MATE B) ในรูปแท่งโพลีเมอร์ (Polymer) ที่มีฮอร์โมนโปรเจสโตเจน (Progestogen) ชื่อ SC21009 3 มก. ฝังเข้าใต้ผิวหนัง ควบกับการฉีด 3 มก. SC21009 และ 5 มก. beta-estradiol 17-valerate ต่อตัวโดยฉีดเข้ากล้ามเนื้อ (2) SMP ฮอร์โมนโปรเจสโตเจนที่ใช้คือ โปรเจสเตอร์โรน (Progesterone, P4) ปริมาณ 18 มก. จุในหลอดยางซิลิโคน (Silicone rubber) ควบกับการฉีด 3 มก. โปรเจสเตอร์โรน และ 5 มก.beta-estradiol 17-valerate ต่อตัว โคทั้งสองกลุ่มได้รับการฉีด Pregnant Mare Serum Gonadotropin (PMSG) เข้ากล้าม 400 i.u./ตัว ในวันถอนฮอร์โมนโปรเจสโตเจนผลการทดลองพบว่า สามารถควบคุมการเป็นสัดของโคในหมู่บ้านของเกษตรกรรายย่อยบนที่สูงได้ดี ผลการผสมเทียมพบว่า กลุ่ม SMB และ SMP มีการผสมติดร้อยละ 6.7 และ 13.3 ตามลำดับ นอกจากนี้ในกลุ่ม SMP มีโค 33 เปอร์เซนต์ที่อาจจะตั้งท้อง
Article Details
References
พงษ์เพียจันทร์, เพทาย. และ อภิชาติสรางกูร, ทัศนีย์. (2533). การประเมินประสิทธิภาพการสืบพันธ์ของโคนมโดยวิธีเรดิโออิมมูนโนแอสเซ. วารสารเกษตร 6(1): 21-40.
ยิ้มมงคล, สมิต. (2534). การพัฒนาการเลี้ยงโคเนื้อสำหรับเกษตรกรรายย่อย. วารสารโคกระบือ 14(3): 18-27. รัตนรณชาติ, สุวัฒน์. (2533). การอนุรักษ์และปรับปรุงพันธุ์โคขาวลำพูน. สัมมนาเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งพันธุกรรมสัตว์ในประเทศไทย, 21-23 พฤศจิกายน 2533, สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, กรุงเทพฯ. 11 หน้า.
วารสารโคกระบือ. (2533). แนวทางพัฒนาการผลิตโคกระบือในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7. วารสารโคกระบือ 13(6): 32-43.
วัฒนกุล, นุสรา. (2534 ก). เร่งใช้ฮอร์โมนคุมสัดฝูงวัวนมรายย่อยในอิสาน. วัวควาย 4(45): 68-70.
วัฒนกุล, นุสรา. (2534 ข). สัมมนาอเมริกันบราห์มัน. ตอน 2: การให้อาหารเพื่อให้ได้ลูกดก. วารสารวัวควาย 4(46): 63-67.
วารสารวัวควาย. (2534). สัมมนาอเมริกันบราห์มัน. ตอน 2 : การให้อาหารเพื่อให้ได้ลูกดก. วารสารวัวควาย 5 (51): 42-44.
สิมารักษ์, สุจินต์., ภัทรจินดา, วิโรจน์. และยอดเศรณี, สมจิตต์. (2552). ลักษณะทางการสืบพันธุ์ของโคพื้นเมืองไทย. ว. วิทยาศาสตร์เกษตร 22(6): 357-373.
Chupin, D., Pelot, J. and Thimonier, J. (1975). The control of reproduction in the nursing cow with a progestogen short-term treatment. Ann. Biol. Anim. Bioch. Biophys. 15(2): 263-271.
Dzuik, P.J. and Cook, B. (1966). Passage of steroids through silicone rubber. Endocrinology 78: 208-211.
Food and Agricultural Organization of the United Nation. (1992). Statistical profile of livestock development in asia-pacific region. RAPA Publication 1992/21. P.3.
Mauer, RE, Webel, S.K. and Brown, M.D. (1975). Ovulation control in cattle with progesterone intravaginal device (PRID) and gonadotropin releasing hormone (GnRH). Ann. Biol. Anim Bioch. Biophys. 15(2): 291-296.
Wiltbank, J.N. and Gonzales-Padilla, (1975). Synchronization and induction of estrus in heifers with a progestagen and estrogen. Ann. Biol. Anim Bioch. Biophys. 15(2): 255-262.
Witbank, J.N. and Kasson, C.W. (1968). Synchronization of estrus in cattle with an oral progestational agent and an injection of an estrogen. J. Anim. Sci. 27: 113-116.
Wishart, D.F. and Young, I.M. (1974). Artificial insemination of progestin (SC21009) -treated cattle at predetermined times. Vet. Rec. 95: 503-508.