การใช้เมล็ดถั่วเหลืองที่ไม่ผ่านการสกัดน้ำมันเป็นอาหารสัตว์ปีก 1. นกกระทาไข่ และไก่สาว 1

Main Article Content

สุชน ตั้งทวิพัฒณ์
บุญล้อม ชีวะอิสระกุล

บทคัดย่อ

การใช้เมล็ดถั่วเหลืองที่ไม่ผ่านการสกัดน้ำมัน แต่ผ่านความร้อนแบบเอ็กซ์ทรูด (Extrude; Full fat Soybean, FFSB) ซึ่งมีปริมาณโปรตีนและไขมันค่อนข้างสูง (40 และ 20% ตามลำดับ) ไปทดแทนกากถั่วเหลืองระดับ 0, 50 และ 100% ในสูตรอาหารนกกระทาไข่  และไก่ไข่รุ่น  จำนวน 150 และ 300 ตัว เป็นเวลา 84 และ 98 วันอตามลำดับ  โดยอาหารนกกระทาไข่มีโปรตีนระดับ 22% ส่วนอาหารไก่ไข่รุ่นในช่วงอายุ 6-12 สัปดาห์  มีโปรตีน 15.5% และช่วงอายุ 13-20 สัปดาห์  มีโปรตีน 13.5% เท่ากันทุกกลุ่ม ยกเว้นค่าพลังงานใช้ประโยชน์และไขมันปล่อยให้สูงขึ้นตามการใช้ FFSB ในอาหาร ผลปรากฏว่า สมรรถภาพการผลิตทั้งของนกกระทาไข่ (ผลผลิตไข่และประสิทธิภาพการใช้อาหาร) และไก่รุ่น (อัตราการเจริญเติบโต  ปริมาณอาหารที่กินและอายุเมื่อไข่ครบ 5% ของฝูง) ของกลุ่มที่ได้รับ FFSB แทนที่กากถั่วเหลืองครึ่งหนึ่งหรือทั้งหมด ให้ผลไม่ต่างจากกลุ่มควบคุม (0% FFSB) แต่ความสม่ำเสมอของฝูงไก่เมื่ออายุ 20 สัปดาห์สูงขึ้นตามระดับการใช้ FFSB ในอาหาร (81 vs 86 และ 91%) ตามลำดับ.


อย่างไรก็ดีพบว่าการใช้ FFSB แทนที่กากถั่วเหลือง มีผลทำให้ราคาอาหารสูงขึ้น เป็นเหตุให้ต้นทุนค่าอาหารในการผลิตไข่นกและค่าตัวไก่สาวมีราคาสูงขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จันทลักขณา, จรัญ. (2523). สถิติวิธีวิเคราะห์และวางแผนงานวิจัย. สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัด, กรุงเทพฯ.
ธรรมบุตร, สวัสด์. (2525). การใช้ถั่วเหลืองไม่อัดน้ำมันเป็นอาหารไก่กระทง ไก่รุ่น. รายงานผลวิจัยสาขาสัตวศาสตร์, กรมปศุสัตว์, กรุงเทพฯ.
ภูวดลไพโรจน์, ศิริลักษณ์. (2525). กรรมวิธีที่เหมาะสมในการปรับปรุงคุณค่าทางโภชนาการของถั่วเหลืองและกากถั่วเหลืองเพื่อใช้เป็นอาหารเลี้ยงลูกสุกรหย่านมก่อนกำหนด. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
เศรษฐภักดี, วิมลรัตน์. (2520). ผลของการใช้จุลินทรีย์ เอนไซม์ และสารละลายด่างช่วยปรับปรุงคุณภาพของถั่วเหลืองเพื่อเลี้ยงลูกสุกรหย่านมก่อนกำหนด. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
อื้อเชี่ยวชาญกิจ, กษิดิศ. (2518). ผลของการแช่ถั่วเหลืองนึ่งและกากถั่วเหลืองลงในสารละลายกรดหรือด่างเพื่อใช้เป็นอาหารเลี้ยงสุกรหย่านมก่อนกำหนด. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
Bajjalieh, N., Orf, J.H., Hymowitz, T. and Jensen, A.H. (1980). Response of young chicks to raw, defatted, Kunitz trypsin inhibitor variant soybeans as sources of dietary protein. Poultry Sci. 59: 328-332.
Carew, L.B., Jr., Hill, F.W. and Nesheim, M.C. (1961). The comparative value of ground unextracted soybeans and heated dehulled soybean flakes as a source of soybean oil and energy for the chick. J. Am. Oil Chem. Soc. 38: 249-253.
Featherston, W.R. and Rogler, J.C. (1966). A comparison of processing conditions of unextracted soybeans for utilization by the chick. Poultry Sci. 45: 330-336.
Hayward, J.W., Steenbock, H. and Bohstedt, G. (1936). The effect of heat as used in the extraction of soybean oil upon the nutritive value of the protein. J. Nutr. 11: 219-234.
Johnson, L.A., Deyoe, C.W., Hoover, W. J. and Schwenke, J.R. (1980). Inactivation of trypsin inhibitor in aqueous soybean extracts by direct steam infusion. Cereal Chem. 57 (6): 376.
McNaughton, J.L. and Reece, F.N. (1980). Effect of moisture content and cooking time on soybean meal, urease index, trypsin inhibitor content, and broiler growth. Poultry Sci. 59: 2300-2306. McNaughton, J.L., Reece, F.N. and Deaton,J.W. (1981). Relationships between color, trypsin inhibitor contents, and urease index of soybean meal and effects on broiler performance. Poultry Sci. 60: 393-400.
National Research Council (NRC). (1984). Nutrient requirements of poultry, 8th ed. National Academy Press, Washington, DC.
Porter, P.J. and Britton, W.M. (1974). Fatty acid composition of chicks fed full fat soybeans. Poultry Sci. 53: 1137-1141.
Renner, R., Clandinin, D.R. and Robblee, A.R. (1953). Action of moisture on damage done during overheating of soybean oil meal. Poultry Sci. 32: 582-585.
Rogler, J.C. and Carrick, C.W. (1964). Studies on raw and heated unextracted soybeans for layers. Poultry Sci. 43: 605-612.