เชื้อราที่ติดมากับเมล็ดข้าวพันธุ์บาสมาติ และการควบคุมเชื้อ

Main Article Content

ชาตรี สิทธิกุล
สมบัติ ศรีวงศ์
โศรยา ตะรังษี

บทคัดย่อ

การตรวจสอบเชื้อราที่ติดมากับเมล็ดข้าวพันธุ์บาสมาติด้วยวิธี Blotter โดยนำตัวอย่างเมล็ดข้าวมาจากเชียงราย แม่แตง และแม่เหียะ พบเชื้อราทั้งหมด 16 ชนิด มาจาก 12 genera เชื้อที่พบมาก ได้แก่ Aspergillus spp., Trichoconis padwickii และ Penicillium spp. ตามลำดับ เชื้อราที่สำคัญที่ทำให้เกิดโรคติดมากับเมล็ดได้แก่  Bipolaris oryzae, T. padwickii และ Fusarium moniliforme งานทดลองครั้งนี้ได้ทดสอบ แช่เมล็ดข้าวในน้ำร้อนและใช้สารเคมีคลุกเมล็ด เพื่อกำจัดเชื้อราที่ติดมากับเมล็ด การแช่เมล็ดในน้ำร้อนใช้อุณหภูมิ 3 ระดับคือ 50-53, 53-56 และ 56-59 เซลเซียส แต่ละอุณหภูมิแช่เมล็ดในเวลาต่างกัน ได้แก่ 5, 10, และ 15 นาที  การใช้น้ำร้อนพบว่า ที่อุณหภูมิ 50-56 เซลเซียส แช่นานทั้ง 3 ระยะเวลา ไม่สามารถระงับการเจริญของเชื้อราที่สำคัญที่ติดมากับเมล็ดได้ สำหรับอุณหภูมิ 56-59 เซลเซียส ระยะเวลาแช่ 15 นาที มีผลในการระงับการเจริญของเชื้อรา 6 ชนิด แต่ใน Treatment นี้ทำให้การงอกของเมล็ดลดลงมากถึง 62% สำหรับการทดสอบสารเคมี 4 ชนิด ได้แก่ Benomyl, Captan, MCB + Mancozeb และ Mancozeb ที่อัตราความเข้มข้น 2 ระดับ  สรุปได้ว่า MCB + Mancozeb ที่ความเข้มข้น 0.5% มีประสิทธิภาพดีกว่าสารเคมีชนิดอื่นและสารเคมีทั้ง 4 ชนิดช่วยทำให้การงอกของเมล็ดดีขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกศวยุทธ, กมลศักดิ์. (2530). การปลูกข้าวพันธุ์บาสมาติในประเทศไทย. เกษตรอุตสาหกรรม. 2 (23): 41-43.
ดิสถาพร, สมคิด. (2524). การแพร่ระบาด และผลงานวิจัยใหม่ล่าสุดของโรคข้าวที่สำคัญในประเทศไทย ปี พ.ศ. ข่าวสารโรคพืช ประจำเดือน เมษายน-มิถุนายน หน้า 1-6.
ฝ่ายวิชาการธนาคารกสิกรไทย. (2530). ข้าวบาสมาติ: ความหวังใหม่ของชาวนา เกษตรอุตสาหกรรม. 2(23): 35-40.
วรรณวาทกุล, พิภพ. (2530). อนาคตของข้าวหอมบาสมาติในประเทศไทย. ข่าวสารเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 72 (2): ประจำเดือนเมษายน-พฤษภาคม.
สุทธิ์ผลไพบูลย์, สุขสันต์. และ ตราชู, ไพบูลย์. (2530). ข้าวบาสมาติข้าวพันธุ์ดีที่ควรมอง กสิกร. 58(5): 375-378.
Agarwal, V.K. and Sinclair, J.B. (1987). Principles of seed pathology Volumn II. CRC Press Inc., Boca Raton, Florida, USA. 168 pp.
Chidambaram, P., Mathur, S.B. and Neergaard, P. (1976). Identification of seedborne fungi. The In- ternational Seed Testing Association. p. 176-177.
Imolehin, E.D. (1983). Rice seedborne fungi and their effect on seed germination. Plant Disease 67: 1334-1336.
Ou, S.H. (1985). Rice diseases. The Cambrain News (Aberystwyth) Ltd., Great Britain. 380 pp.