การทำกิจกรรมหลายอย่างในมหาวิทยาลัย  หลายครั้งเกิดคำถามขึ้นมาว่า กิจกรรมชนิดนี้เราควรทำหรือไม่? เป็นหน้าที่ของเราหรือไม่? ถ้าใช่  เราควรทำกิจกรรมนั้นในระดับไหน? มีความลุ่มลึกอย่างไร? ถ้าไม่ใช่  เพราอะไร? เราไปแย่งงานคนอื่นทำหรือไม่? บางครั้งไม่น่าเชื่อว่าเราตั้งคำถามแม้กระทั่งว่า  สิ่งนี้เป็นสาระหรือไม่? เพื่อหาคำตอบคำถามข้างต้น  คงจะให้ข้อคิดอะไรได้บ้างถ้าเรามองไปข้างหลังดูที่มาของมหาวิทยาลัย  จากนั้นค่อยดูปัจจุบัน เพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับการกำหนดทิศทางในอนาคต. อาจารย์สุกิจ  นิมมานเหมินท์ (2511)* ได้อธิบายพัฒนาการการเกิดมหาวิทยาลัยดังนี้ : ที่ประเทศอินเดียมีมหาวิทยาลัยแห่งตักศิลาที่ซึ่งราชโอรสจากแคว้นต่างๆ และมหาวิทยาลัยแห่งนาลันทา (Nalanda) ที่พระถังซัมจั๋งได้เดินทางด้วยความยากลำบากจากประเทศจีนมายังอินเดีย เพื่อแสวงหาวิชาความรู้มาทดแทนบางส่วนที่ขาดไปในประเทศจีน  ทั้งๆ ที่ในขณะนั้นศิลปวัฒนธรรมของประเทศจีนก็รุ่งเรืองอยู่แล้ว  ในยุโรปศตวรรษที่ 12 ที่ปารีส  ประเทศฝรั่งเศส, เมืองโบโลญา (Bologna) ประเทศอิตาลี  ได้มีการพยายามศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ต่อมนุษย์  มนุษย์ต่อพระเจ้า  โดยใช้วิชาตรรกวิทยาเป็นเครื่องมือ  เกิดเป็นมหาวิทยาลัยแห่งกรุงปารีส  และมหาวิทยาลัยเมืองโบโลญา  ในระหว่างพัฒนาการเกิดมหาวิทยาลัยมีทั้งเกิดจากนักเรียนรวมตัวกันแล้วจ้างอาจารย์มาสอน  และอาจารย์รวมตัวกันแล้วรับนักเรียนเข้ามา  จะอย่างไรก็ตามทั้งสองแบบมีความเหมือนกันคือ  เกิดการรวมตัวกันขึ้นเพื่อแสวงหาความรู้  แน่นอนว่าความรู้ที่แสวงหานี้จะต้องเป็นความรู้ที่เป็นเลิศทางวิชาการ  ดังนั้นถ้ามหาวิทยาลัยสอนวิชาที่ไม่มีความเป็นเลิศคงไม่มีคนมาเรียน  ต่อมามหาวิทยาลัยได้เกิดขึ้นในส่วนต่างๆ  ของทวีปยุโรป  รวมทั้งอังกฤษที่เกิดมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด  และเคมบริดจ์  ที่นี่มีบรรยากาศของการเรียนรู้เองของนักศึกษา  อาจารย์เป็นผู้ชี้แนะส่วนหนึ่งเท่านั้น  นั่นคือการเรียนในมหาวิทยาลัยไม่ใช่การสื่อทางเดียวจากอาจารย์เข้าไปหานักศึกษาเท่านั้น  ยิ่งกว่านั้นหลายครั้งอาจารย์ได้ความคิดจากการถามของนักศึกษา.

จากประวัติศาสตร์  อย่างน้อยได้ให้ภาพบทบาทของมหาวิทยาลัยว่าเป็นแหล่งของวิทยาการใหม่ ๆ ที่มีความเป็นเลิศสำหรับสังคม  เป็นที่ซึ่งมีการนำวิทยาการต่างๆ มารับใช้ หรือชี้นำสังคมได้ด้วย. ถ้ามหาวิทยาลัยในประเทศไทยจะทำในสิ่งเดียวกันนี้  ถ้าดูจากวัตถุประสงค์ของมหาวิทยาลัย  คือสอน, วิจัย  และส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม  ถ้าไม่ขยายความแล้วโรงเรียนต่างๆก็ได้ทำสิ่งนี้อยู่แล้ว  ความแตกต่างน่าจะอยู่ที่ว่าจะต้องสอนวิชาการที่เป็นเลิศ  ที่ชี้นำสังคมได้วิจัยเรื่องที่สู่ความเป็นเลิศที่ชี้นำสังคมได้  และส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมที่เป็นเลิศ ที่ดีงามหรือไม่?

เผยแพร่แล้ว: 2020-10-29

เชื้อราที่ติดมากับเมล็ดข้าวพันธุ์บาสมาติ และการควบคุมเชื้อ

ชาตรี สิทธิกุล , สมบัติ ศรีวงศ์, โศรยา ตะรังษี

31-40

การใช้ถั่วพูะแฮะเป็นอาหารสัตว์ 3. สัตว์เคียวเอื้องและกระต่าย

บุญล้อม ชีวะอิสระกุล , ศิริลักษณ์ พรสุขศิริ , สุชน ตั้งทวิพัฒน์

85-103