การใช้ถั่วพูะแฮะเป็นอาหารสัตว์ 3. สัตว์เคียวเอื้องและกระต่าย

Main Article Content

บุญล้อม ชีวะอิสระกุล
ศิริลักษณ์ พรสุขศิริ
สุชน ตั้งทวิพัฒน์

บทคัดย่อ

การใช้เมล็ดถั่วมะแฮะเป็นแหล่งอาหารโปรตีนเพื่อทดแทนกากถั่วเหลืองในสูตรอาหารข้นสำหรับสัตว์เคี้ยวเอื้องและกระต่าย ได้ทำการศึกษาในแกะรุ่นเพศเมียจำนวน 12 ตัว และเพศผู้จำนวน 6 ตัว น้ำหนักเริ่มต้นเฉลี่ย 13.5 กก. แบ่งออกโดยสุ่มเป็น 3 กลุ่ม เลี้ยงบนคอกยกพื้นแบบขังเดี่ยว  ให้ได้รับฟางข้าว (ให้กินเต็มที่) และหญ้าขนสดวันละ 500 กรัม/ตัว  เป็นอาหารหยาบ  ส่วนอาหารข้นให้ได้รับชนิดใดชนิดหนึ่ง  ดังต่อไปนี้คือ 1) ชนิดที่ใช้กากถั่วเหลืองเป็นแหล่งโปรตีน   ชนิดที่ใช้เมล็ดถั่วมะแฮะแทนที่กากถั่วเหลือง 50% หรือเทียบเท่ากับใช้เมล็ดถั่วมะแฮะ 24% ในอาหาร  และชนิดที่ใช้เมล็ดถั่วมะแฮะเป็นแหล่งโปรตีนล้วน (97% ของสูตรอาหาร) โดยให้ในอัตราวันละ 250 กรัม/ตัว  ทำการเลี้ยงและเก็บข้อมูลด้านสมรรถภาพในการผลิต  เป็นเวลา 16 สัปดาห์  หลังจากนั้นหาการย่อยได้ของอาหารทุกสูตร  โดยใช้วิธีเก็บข้อมูลทั้งหมดเปรียบเทียบกับการใช้เถ้าที่ไม่ละลายในกรด (AIA) เป็นตัวบ่งชี้ภายใน  ส่วนในกระต่ายใช้กระต่ายลูกผสมคละเพศพันธุ์ซิกาเซดกับนิวซีแลนด์ขาว  หลังหย่านม จำนวน 30 ตัว  แบ่งออกโดยสุ่มเป็น 5 กลุ่ม  กลุ่มละ 6 ตัว  เลี้ยงในกรงขังเดี่ยว  ให้อาหารข้นที่มีส่วนผสมของเมล็ดถั่วมะแฮะในสูตรอาหารระดับ 0, 10, 20, 30 และ 40% โดยให้ในช่วงเช้าในอัตรา 90% ของปริมาณที่กินได้เต็มที่เมื่อเทียบกับอายุและน้ำหนักตัว  ส่วนในช่วงบ่ายให้กินหญ้าขนสดอย่างเต็มที่  ปรากฏว่าแกะที่ได้รับอาหารข้นทั้ง 3 สูตร  กินอาหารได้คิดเป็นปริมาณวัตถุแห้ง (รวมอาหารหยาบและข้น) ไม่แตกต่างกัน (3% นน. ตัว/วัน) มีการย่อยได้ของโภชนะในอาหาร และอัตราการแลกน้ำหนัก (84, 8.2 และ 8.7) ตลอดจนอัตราการเจริญเติบโต (58.9, 63.6 และ 64.3 กรัม/วัน) ไม่แตกต่างกัน  แสดงว่าเมล็ดถั่วมะแฮะสามารถใช้เป็นแหล่งของโปรตีนและพลังงานทดแทนส่วนหนึ่งของกากถั่วเหลือง รำ และข้าวโพดในสูตรอาหารสัตว์เคี้ยวเอื้องได้ หรือใช้ผสมกับเกลือและแร่ธาตุเสริมอาหารหยาบคุณภาพต่ำพวกฟางข้าวได้โดยตรง  โดยไม่มีผลเสียต่อปริมาณอาหารที่กินได้ การย่อยได้ และสมรรถภาพการผลิต ในขณะที่กระต่ายสามารถใช้เมล็ดถั่วมะแฮะได้ถึงระดับ 40% ของสูตรอาหาร หรือแทนที่กากถั่วเหลืองได้ในระดับ 43% โดยมีแนวโน้มว่า อัตราการเจริญเติบโตและอัตราแลกน้ำหนักด้อยลงเล็กน้อย  นอกจากนี้ยังพบว่า การหาการย่อยได้ในแกะโดยวิธี AIA ได้ผลไม่ต่างจากวิธีเก็บมูลทั้งหมด.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จันทลักขณา, จรัญ. (2523). สถิติวิธีวิเคราะห์และวางแผนงานวิจัย. สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัด. กรุงเทพฯ.
ชีวะอิสระกุล, บุญล้อม. (2531). ผลการเสริมฟางข้าวด้วยกระถินแห้งระดับต่างๆ และความแม่นยำของการใช้เถ้าที่ไม่ละลายในกรดเป็นตัวบ่งชี้ภายในเพื่อหาการย่อยได้. ว.เกษตร 4(2) -95-107.
ชีวะอิสระกุล, บุญล้อม. (2535). การใช้ถั่วมะแฮะเป็นอาหารสัตว์ 2. การย่อยได้ของใบและเมล็ดในสัตว์เคี้ยวเอื้อง. ว. เกษตร 8(1): 71-86.
ตั้งทวีวิพัฒน์, สุชน. และ ชีวะอิสระกุล, บุญล้อม. (2532). การใช้เมล็ดถั่วมะแฮะเพื่อเป็นอาหารสัตว์ปีก. 4. การเสริมเมทไธโอนีนในสูตรอาหารที่มีถั่วมะแฮะระดับสูง. ว. เกษตร. 5(3): 157-170.
ตั้งทวีวิพัฒน์, สุชน. และ ชีวะอิสระกุล, บุญล้อม. (2534). การใช้ถั่วมะแฮะเป็นอาหารสัตว์ 1. ใบถั่วมะแฮะในอาหารไก่เนื้อ. ว. เกษตร 7(2): 118-133.
ปัญจทวี, สุภารัตน์. (2527). การศึกษาความสามารถในการย่อยได้ของอาหารท้องถิ่นสำหรับกระต่าย. ปัญหาพิเศษปริญญาโท. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
ศีตะโกเศศ, ปราโมช. และศิริ, อนุชา. (2529). การใช้ต้นถั่วมะแฮะเป็นอาหารเสริมในฤดูแล้ง. รายงานการวิจัย, สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร, สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้, เชียงใหม่.
ศีตะโกเศศ, ปราโมช., สรวมศิริ, สมปอง. และ เสือภู่, กริสน์. (2533). การใช้ประโยชน์จากใบถั่วมะแฮะเป็นแหล่งโปรตีนในอาหารสัตว์ 1. การเจริญเติบโต การให้ผลผลิต คุณค่าทางอาหารและต้นทุนการผลิต. รายงานการประชุมทางวิชาการ ครั้งที่ 28, สาขาสัตว์ สัตวแพทย์และประมง, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. หน้า 103 112.
สรวมศิริ, สมปอง. และ ศีตะโกเศศ, ปราโมช. (2531). การใช้ถั่วมะแฮะแห้งในสูตรอาหารข้นเลี้ยงโครุ่น. รายงานการประชุมทางวิชาการ ครั้งที่ 26, สาขาสัตว์ สัตวแพทย์และประมง, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. หน้า 25-40.
Aduku, A.O., Dim, N.I. and Hassan, W. (1989). Evalaution of tropical green forages for dry season feeding of rabbits. J. Appl. Rabbit Res. 12(2): 113-115.
Akinola, J.O., Birch, C.J., Whiteman, P.C. and Wallis, E.S. (1975). Grazing evaluation of pigeon pea. In: Proc. Aust. Conf. on Tropical Pastures. Townsville. Australia. pp 7-46.
A.O.A.C. (1980). Association of Official Analytical Chemists, 13th ed. Washington, DC, USA.
Blaxter, K.L. (1962). The energy metabolism of ruminants. Hutchinson, London. U.K.
Brown, D., Salim, M., Chavalimu, E. and Fitzhugh, H. (1988). Intake, selection, apparent digestibility and chemical composition of Pennisetum purpureum and Cajanus cajan foliage as utilized by lactating goats. Small Ruminant Res. 1(1): 59-65.
Cheeke, P.R. and Patton, N.M. (1980). Carbohydrate overload of the hindgut: A probable cause of enteritis. J. Appl. Rabbit Res. 3(3): 20.
Cheeke, P.r., Patton, N.M. and Templeton, G.S. (1982). Rabbit production. 5th ed. The Interstate Printers Publishers Inc., Danville, Illinois, USA.
Cheva-Isarakul, Bl. and Cheva-Isarakul, Bs. (1985). Variation in the nutritive value of rice straw in Northern Thailand. 2 Voluntary feed intake and digestibility by sheep. In: Proc. Relevance of Crop Residues as Animal Feeds in Developing countries. Wanapat, M. and Devendra, C. (eds.). Funny Press, Bangkok, Thailand. Pp. 43-52.
Cheva-Isarakul, Bs. (1988a). Small ruminants in northern Thailand: Present systems and outlook. In: Ruminant Feeding Systems Utilizing Fibrous Agricultural Residues 1987. Dixon, R.M. (ed.). IDP, Canberra, Australia. Pp 57-64.
Cheva-Isarakul, BI. (1988b). Performance of sheep fed urea-treated or urea- molasses supplemented straw with or without fresh leacaena supplement as compared with fresh grass. In: The Ruminant Feeding Systems Utilizing Fibrous Agricultural Residues-1987. Dixon, R.M. (eds). IDP, Canberra, Australia. pp. 225-238.
Cheva-Isarakul, Bl. (1989). Performance and digestibility of sheep fed sweet corn stover silage compared with fresh para grass. Thai J. Agric. Sci. 22(3): 263-269.
Devendra, C. (1989). Nutrition of and feeding strategies for sheep in Asia. In: Sheep Production in Asia. Proc. of the Workshop of PCARRD at Los Banos, Laguna, Philippines, April 18-23, 1988. Devendra, C. and Faylon, P.S. (eds.). IDRC. Pp. 21-42.
Djanegara, A. and Rangkuti, M. (1989). Sheep production and development in Indonesia. In: Sheep Production in Asia. Proc. of the Workshop of PCARRD at Los Banos, Laguna, Philippines, April 18-23, 1988. Devendra, C. and Fayloned, P.S. (eds.) IDRC. pp. 126-137.
Falvey, L. and Visitpanich, T. (1980a). Nutrition of highland swine. 2. Preparation of pigeon pea seed fed in conjunction with rice bran and banana stalk. Thai J. Agric. Sci. 13: 29-34.
Falvey, L. and Visitpanich, T. (1980b). Nutrition of highland swine. 3. Grain legume supplementation and growth potential. Thai J. Agric. Sci. 13: 109-118.
Gobl, B. (1981). Tropical feeds. Food and Agriculture Organization of the United Nations. Rome, Italy. Jambunathan, R. and Singh, U. (1981). Grain quality of pigeon pea. In: Proc.of the Int. Workshop on Pigeon peas. ICRISAT, Patancheru, India. V1, pp 351-356.
National Research Council (NRC). (1984). Nutrient requirements of dairy cattle, 6th ed. National Academy Press, Washington, DC., USA.
Parades, L., Acevedo, F., Capriles, M., Paz, M., Fernandez, L. and Rivero, A. (1986). Pigeon pea (Cajanus cajan) foliage and concentrate as a supplement to grazing for dual purpose heifers. Nutr. Abstr. Rev. (Ser. B), 57(5): 283.
Park, Y.W., Reynolds, G.A. and Stanton, T.L.(1989). Comparison of dry matter intake and digestibi- lity of sun-cured pigeon pea, alfalfa and coastal bermuda grass by growing dairy goats. Small Ruminant Res. 2(1): 11-18.
Tangtaweewipat, S. and Elliott, R. (1989). Nutritional value of pigeon pea (Cajanus cajan) meal in poultry diets. Anim. Feed Sci. Technol. 25(1-2): 123-135.
Van Keulen, J. and Young, B.A. (1977). Evaluation of acid-insoluble ash as a natural marker in ruminant digestibility studies. J. Anim. Sci. 44:282-287.
Visitpanich, T., Batterham, E.S. and Norton, B.W. (1985). Nutritional value of chickpea (Cicer arietinum) and pigeonpea (Cajanus cajan) meals for growing pigs and rats. I. Energy content and protein quality. Australian J. Agric. Res. 36: 327-335.
Wijnberg, C. and Whiteman, P.C. (1985). Effect of stocking rate of goats and stage of crop growth when grazed on grain yield and goat production from pigeonpea (Cajanus Cajan). Australian J. Exp. Agric. and Anim. Husb. 25(4): 796-805.