การกระจาย และ ความหนาแน่นของพืชในธรรมชาติ ที่สัตว์บริโภคบนที่ดอนอาศัยน้ำฝน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาพืชในธรรมชาติหรือวัชพืชบนพื้นที่ดอนอาศัยน้ำฝน ในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมป่าจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นพื้นที่สูงเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง 340 เมตร มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจชนิดของพืชใน ธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เป็นพืชอาหารสัตว์ รวมทั้งคุณค่าทางอาหารของพืชเหล่านั้น โดยได้แบ่งพื้นที่เป็น 3 บริเวณ ตามโอกาสที่จะมีพืชในธรรมชาติให้วัวเข้าไปแทะเล็มได้ แล้วใช้กรอบขนาด 0.1 ตารางเมตร สุ่มเก็บ 20 จุด/ บริเวณ รวม 60 จุด 2 ครั้งต่อเดือน ตั้งแต่ มิถุนายน 2532 ถึง พฤษภาคม 2533 พบว่ามีพืชทั้งหมด 58 ชนิด กระจาย ใน 22 วงศ์ มีในวงศ์หญ้า (Gramineae) มากที่สุด 15 ชนิด สาบแร้งสาบกา : Ageraurn cottyzoides เป็นวัชพืชที่ มีความสำคัญมากที่สุด จากการใช้ค่า Summed Dominance Ratio (SDR) เป็นเกณฑ์ตัดสิน พบว่ามีเพียง 27 ชนิด ที่จัดเป็นพืชที่มีความน่ากินสูง (Palatable) โดยมี Digitaria setigera สำคัญลำดับแรกในกลุ่มนี้ และพบว่ามี องค์ประกอบทางเคมีดังนี้ โปรตีน 8.04% ไขมัน 2.04% เยื่อใย 34.24% เถ้า 8.21% และคาร์โบไฮเดรต 45.01% สาบแร้งสาบกาได้เข้าครอบงำพืชอาหารสัตว์ในธรรมชาติที่สําคัญเช่น หญ้าคา :Imperata cylindrical รวมทั้ง D.setigera ทําให้ความสามารถของทุ่งหญ้าในการใช้เลี้ยงสัตว์ลดลง ทั้งนี้มีสาเหตุจากการใช้สารเคมีกําจัดวัชพืชกลุ่มหญ้าในแปลงถั่วเหลือง การขยายพื้นที่ปลูกถั่วเหลือง และไม้ผลยืนต้น เป็นการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ดอนอาศัยน้ำฝนมากขึ้น แต่ในทางตรงข้าม จะทําให้การใช้ประโยชน์ของบริเวณโดยทั่วไปเพื่อการเลี้ยงสัตว์ลดลง และ จํานวนวัวต่อรายของเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ลดลง
Article Details
References
วรัญญวัฒก์, อารีย์. (2526). พืชอาหารสัตว์ – หลักและปฏิบัติ. ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สํานักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัดเชียงใหม่. (1989). โครงการปฏิรูปที่ดินจังหวัดเชียงใหม่. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สุวรรณเนตร, อดุลย์., ชัยกมลาส, สุชาดา., กุณาศล, นารีรัตน์. และ พรหมศรัทธา, รัตนาภรณ์ (2526), ศึกษาคุณค่าทางอาหารของวัชพืชบกและวัชพืชน้ำ. หน้า 301-312. ในรายงานประจำปี 2526. กองเกษตรเคมี กรมวิชาเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เล่ม 2.
Gohl, B. (1981). Tropical feeds. FAO animal production and health series No. 12. Food and Agriculture Organization of the United Nations, Rome.
Harada, J., Paisooksantivatana, Y. and Zungsontiporn, S. (1987). Weeds in the highlands of northern Thailand : color illustrated. National weed science research institute project. Department of Agriculture, Bangkok, Thailand.
Holm, L.G., Plucknett D.L., Pancho, J.V. and Herberger, J.P. (1977). The world's Worst Weeds : Distribution and Biology. The University press of Hawaii, Honolulu.
Insomphun, S., Sriwattanapongse, V. and Kanacharaeonpongse, A. (1990). On-farm cropping systems research for upland rainfed conditions. Paper presented at the university research grants programme, ACNARP-CMU workshop, Chiang Mai University, 8 June, 1990.
Rachapaetayakom, P., Vorachinda, R. and Bourchan, W. (1988). Feeding value and utilization of some local plants as animal feed. p. 23-43. In : The Utilization of Local Materials as Animal Feeds; Proceedings of the symposium held at Chiang Rai, Thailand, May 25-27, 1988.
Radanachaless, T. and Krasaechai, A. (1988). Woody perennial systems for rainfed uplands : The performance of the multipurpose trees during the second year. Final report submitted to ACNARP - Thailand.
Radanachaless, T. and Krasaechai, A. (1990). Woody perennial systems for rainfed uplands : The performance of the multipurpose trees during the third year. Paper presented at the university research grants programme, ACNARP-CMU work shop, Chiang Mai University, 8 June, 1990.