ชีววิทยาและเขตแพร่กระจายของมวนร่างแหในประเทศไทย. IV. มวนร่างแหพุทรา <I>Monosteira minutule</I> Montd. (Hemiptera: Tingidae)
Main Article Content
บทคัดย่อ
มวนร่างแหพุทรา Monosteira minutula Montd. เป็นแมลงที่พบอยู่ทั่วไปในประเทศไทยในแหล่งที่มีการปลูกพุทราหรือที่ขึ้นเองในธรรมชาติทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของแมลงชนิดนี้ดูดกินน้ำเลี้ยงอยู่ใต้ใบพุทราใบที่ถูกทำลายจะมีจุดสีขาวกระจายอยู่ทั่วไปปรากฏให้เห็นชัดทางด้านบนของใบ.
ชีวประวัติของแมลงชนิดนี้ จากการศึกษาในห้องเลี้ยงแมลงที่อุณหภูมิ 31 ถึง 34 เซลเซียสโดยเลี้ยงด้วยใบอ่อนของพุทรา พบว่า มวนร่างแหพุทราวางไข่ใต้ใบ ที่เส้นใบโดยไข่ทั้งฟองฝังลงไปในเนื้อเยื่อพืชจะเห็น แต่เฉพาะฝาปิดไข่ (Operculum) ลักษณะเป็นวงรีที่บริเวณผิวของเส้นใบเมื่อมองใต้กล้องจุลทรรศน์วงจรชีวิตของแมลงชนิดนี้มีระยะไข่เฉลี่ย 8.18 + 0.11 วันตัวอ่อนมี 5 วัย (Instar) และลอกคราบ 5 ครั้งตัวอ่อนแต่ละวัยมีอายุต่างกันคือ 2.12. + 0.05, 1.87 + 0.04, 1.40 + 0.04, 1.94 + 0.11 และ 2.91 + 0.12 วัน ตามลำดับ รวมอายุตัวอ่อนทั้งหมด 18.42 + 0.22 วัน ตลอดชั่วอายุขัยเพศเมียวางไข่ได้เฉลี่ย 185.33 ฟอง / ตัวและมีอายุอยู่ได้นานเฉลี่ย 57.33 วันส่วนเพศผู้ 66.13 วัน
Article Details
References
Butani, D.K. (1979). Insects and fruits. Khosle and Pragati Printers, New Delhi.
Drake, C.J. and Ruhoff, F.A. (1965). Lace bugs of the world. A catalog (Hemiptera: Tingidee). Bull. V.S. Natl. Mus.
Mohanasunderam, M. and Boonyonk, C. (1976). Preliminary list of the tingid fauna of Thailand. Abstr. in Rev. Appl. Ent. Ser. A 64 (3): 362.