ผลการอบรมอาหารข้าวสาลีประยุกต์ ณ อ.ฝางและ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่

Main Article Content

อรุณี อภิชาติสรางกูร
กฐิน ศรีมงคล
สากันย์ สุวรรณการ

บทคัดย่อ

โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตและใช้ประโยชน์จากข้าวสาลีคณะเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ฝึกอบรมการใช้ประโยชน์จากข้าวสาลีให้แก่ประชากรทั้งผู้ปลูกและไม่ปลูกข้าวสาลี ณ อำเภอฝางและอำเภอแม่แตงจังหวัดเชียงใหม่การฝึกอบรมได้แบ่งเป็นสองช่วงคือช่วงแรกปี 2529-30 และช่วงหลังปี 2531-32 สำหรับที่อำเภอแม่แตงโครงการฯ ได้เข้าไปส่งเสริมในช่วงหลังอาหารที่เผยแพร่ในช่วงแรกมีทั้งทำจากแป้งสาลีและทำจากเมล็ดติดร่า เช่น บะหมี่ ซาลาเปา ขนมนิ้วนาง น้ำพริกเผา เป็นต้น การส่งเสริมในช่วงหลังส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์จากแป้งสาลีติดราการสำรวจผลการอบรม โดยวิธีสุ่มตัวอย่างขนาด 40 ในช่วงแรกและตัวอย่างขนาด 60 ในช่วงหลังพบว่าการอบรมผลต่อการเพิ่มเนื้อที่ปลูกข้าวสาลีของประชากรทั้งกลุ่มที่เคยและกลุ่มที่ไม่เคยปลูกน้อยมากเนื่องจากผู้ไม่เคยปลูกส่วนใหญ่ไม่สามารถปลูกได้เพราะไม่มีพื้นที่ปลูกและยังขาดงบประมาณส่วนผู้ที่เคยปลูกส่วนใหญ่ต้องการปลูกต่อเนื่อง เพราะสามารถจำหน่ายได้ แต่ไม่ค่อยนิยมเก็บไว้บริโภคในครัวเรือนเนื่องจากอาหารข้าวสาลีประยุกต์ชนิดที่ชอบ เช่น บะหมี่ ทำลำบากต้องใช้อุปกรณ์ราคาแพงส่วนอาหารชนิดที่ชอบอื่น ๆ เช่นซาลาเปาและน้ำพริกเผามีกรรมวิธีที่ยุ่งยากโดยทั่วไปเหตุผลที่ชอบอาหารเหล่านี้เพราะอร่อย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

อภิชาติสรางกูร, อรุณี และ สุวรรณการสากันย์. (2531). การยอมรับอาหารข้าวสาลีประยุกต์ในพื้นที่ อ. ฝาง จ. เชียงใหม่ วารสารเกษตร 4 (3): 176-182.
Betitz, H.D. and Grosch, W. (1987). Food Chemistry. Springer Verlag, Berlin Heidelberg.
BRI Industry Bulletin. (1986) The Composition of Wholemeals-Effect on Meal Bread 10 Quality. No. 401 A.
BRI Industry Bulletin. (1987). How Much Bread are Australian Eating? Results of the 1983 National Dietary Survey of Adults. No. 410 A.
Saxelby, C. and Venn-Brown Una. (1980). The Role of Australian Flour and Bread in Health and Nutrition Bread Research Institutes of Australia. p. 80-88.