เป็นที่ทราบกันดีว่าปัจจุบันนี้ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกได้รับอิทธิพลจากกระแสข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ สะพัดถึงกันหมดทำให้โลกปัจจุบันดูมีขนาดเล็กลงมากเกิดบรรยากาศใหม่ที่เป็นสังคมเปิดเพิ่มทวีขึ้นเรื่อย ๆ จนผู้คนปรับตัวตามแทบไม่ทันสังคมเกษตรเองก็หนีไม่พ้นกระแสนี้จากการเป็นสังคมเปิดมาก ทำให้เกษตรกรขายที่ทำกินไปเป็นจำนวนมาก พื้นที่ทำการเกษตรลดลงอย่างน่าใจหายและเป็นไปอย่างต่อเนื่อง นั่นคือประสิทธิภาพการผลิตทางการเกษตรจะต้องดีกว่าเดิมจึงจะพอกิน พอใช้ พอขาย ยิ่งเป็นผลิตเพื่อการส่งออกด้วยแล้ว ความจำเป็นยิ่งเพิ่มขึ้น
เคยสงสัยว่าทำไมเรายังคงเป็นผู้ตามทางวิชาการการเกษตรอยู่ในหลายสาขาโดยเฉพาะกับประเทศที่พัฒนาแล้ว ส่วนใดที่เรานำอยู่บางครั้งก็เป็นเพราะว่าประเทศเหล่านั้นยังไม่ได้ทำเมื่อลองเปิดดูในวารสารชื่อ The American Biology Teacher เห็นมีหัวข้อ How-To-Do-It ลงตีพิมพ์เป็นประจำทุกเล่มเช่นเรื่องการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อโดยใช้กะหล่ำดอก (50 (3): 154-159], รีคอมบิแนนท์ ดี.เอ็น.เอ. เทคโนโลยีสำหรับห้องปฏิบัติการชีววิทยาในโรงเรียน 50 (1): 43-45] ไบโอเทคโนโลยีใน 3 วัน [50 (7) 446-452] และอื่น ๆ อีกมาก งานเหล่านี้คือประวัติศาสตร์ของนักวิจัยที่มีชื่อเสียงของสหรัฐอเมริกา และเชื่อว่ามีทิศทางทำนองเดียวกันในประเทศพัฒนาแล้วอื่น ๆ มีข้อน่าสังเกตในเรื่องนี้ประการแรกคือเป็นการยืนยันว่าความซาบซึ้งในทฤษฎีหรือเทคนิคทางวิทยาศาสตร์สอนกันไม่ได้ต้องทำเองเรียนรู้เองตำราหรือผลงานวิจัยเป็นเพียงแนวทางเท่านั้นยังมีความจริงอีกมากที่นักเรียนและนักศึกษาต้องปฏิบัติและหาเอาเองประการที่สองประเทศพัฒนาแล้วให้ความสำคัญกับทักษะการปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ของเยาวชนมากและถ้าดูหัวข้อการฝึกปฏิบัติการของนักเรียนจะเป็นสาขาใหม่ ๆ ที่นักวิจัยระดับชาติกำลังทำอยู่ แต่นำมาทำให้ง่ายขึ้นเหมาะสำหรับการทดลองในโรงเรียนสุดท้ายคือในการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยนั้นการสอนและการวิจัยของอาจารย์ควรเป็นหนึ่งเดียวแยกจากกันไม่ได้การที่นักศึกษาช่วยอาจารย์ทำวิจัยถือได้ว่าเป็นการเรียนที่หาไม่ได้ในตำราหรือจากการอ่านวารสารเพื่อให้ได้บัณฑิตที่เป็นผู้นำทางวิชาการเกษตรในสังคมอนาคตและอยู่รอดในการแข่งขันระดับนานาชาติที่นับวันจะยิ่งเข้มข้นขึ้นเรื่อย ๆ
เผยแพร่แล้ว: 2020-10-30