แมลงศัตรูกาแฟอราบีก้าที่สําคัญบนที่สูงของประเทศไทย และแนวทางป้องกันกําจัด

Main Article Content

จริยา วิสิทธิ์พานิช

บทคัดย่อ

แมลงศัตรูของกาแฟอราบีก้าบนที่สูงของประเทศไทยที่มีความสําคัญประมาณ 5 ชนิด โดยแบ่ง ออกเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มแมลงปากดูดขนาดเล็กเช่นเพลี้ยอ่อน เพลี้ยหอย และ เพลี้ยแป้ง เป็นศัตรู สําคัญของกาแฟระยะต้นอ่อนหรือย้ายปลูกประมาณ 1-2 ปี ทําลายกาแฟโดยดูดกินน้ําเลี้ยงบริเวณยอดอ่อน ใบอ่อน ทําให้พืช ชงักการเจริญเติบโต แมลงเหล่านี้ขับถ่ายน้ำหวานออกมาทําให้เกิดราดําปกคลุมใบ เป็นผลให้ พื้นที่ในการสังเคราะห์แสงของพืชลดลง แมลงกลุ่มที่สองคือกลุ่มแมลงเจาะกินในลําต้น โดยหนอนของแมลงเหล่า นี้จะเข้าเจาะกิ่งและลําต้น ได้แก่หนอนกาแฟสีแดง และหนอนด้วงหนวดยาว เป็นศัตรูสําคัญของกาแฟที่มีอายุ 4-5 ปีขึ้นไป การเข้าทําลายของหนอนเหล่านี้ทําให้ต้นเหี่ยวแห้งตาย การป้องกันกําจัดแมลงเหล่านี้ส่วนใหญ่ยัง นิยมใช้สารเคมีฆ่าแมลงอยู่มาก แต่สภาพพื้นที่ปลูกกาแฟบางแห่งเป็นเขตต้นน้ําลําธารจึงควรระมัดระวัง อันตรายจากการใช้สารเคมี ซึ่งอาจจะโดนชะล้างลงมากับน้ําเป็นอันตรายต่อผู้คนและสัตว์เลี้ยงที่อยู่ข้างล่างได้ ถ้า หากจําเป็นจะต้องใช้สารเคมีฆ่าแมลง ควรเลือกกลุ่มที่สลายตัวเร็วพิษตกค้างสั้น มีพิษน้อยต่อคนและสัตว์ ควรพ่นเฉพาะจุดที่มีแมลงระบาดเท่านั้น และหลีกเลี่ยงช่วงที่พบแมลงศัตรูธรรมชาติในปริมาณสูง นอกจากนี้ การเขตกรรมที่ถูกวิธีก็เป็นการลดการระบาดของแมลงได้ทางหนึ่ง


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ถนอมถิ่น, วิจิตร., ธรรมเขต, อาภรณ์, จีรจําเนียร, ศุภชัย., คงอุดหนุน, จรรยา, ดํารักษ์, ดํารงศักดิ์, ชิตพงษ์, ประดิษฐ์, พงษ์สุวรรณ, สะอาด., และจงอยู่สุข, ประยงค์, (2526). คู่มือส่งเสริมการเกษตร ที่ 23 เรื่อง โรคและแมลงศัตรูกาแฟกับการป้องกันกําจัด ร.พ.ศูนย์การทหารราบ.
ถนอม, วิจิตร. (2527), แมลงศัตรูกาแฟอราบีก้าที่สําคัญของภาคเหนือบนที่สูง. รายงานวิจัย การปลูกและการผลิตกาแฟอราบีก้า เสนอ ในการประชุมเชิงปฏิบัติการ "งานวิจัยเพื่อ พัฒนากาแฟอราบีก้า" ครั้งที่ 1 ณ โรงแรมเชียงใหม่ฮิลล์ วันที่ 18-20 มกราคม หน้า 1 - 10.
วิสิทธิ์พานิช, จริยา, (2528), การสํารวจชนิดและปริมาณของแมลงศัตรูกาแฟ และแมลงศัตรู ธรรมชาติ. รายงานวิจัยการปลูกและผลิตการแฟอราบีก้า เสนอในการประชุมเชิง ปฏิบัติการ งานวิจัยเพื่อพัฒนากาแฟอราบีก้า" ครั้งที่ 2 ณ โรงแรมเชียงใหม่ออร์คิด วันที่ 10 มกราคม 2528 หน้า 1-8.
วิสิทธิ์พานิช, จริยา. (2528) การศึกษาชีวประวัติ และประสิทธิภาพของการฆ่าแมลงชนิดต่าง ๆ ในการป้องกันกําจัดเพลี้ยหอยสีเขียว (Coccus Viridis Green) ของกาแฟอราบีก้า วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร, 2627 : 81-86.
วิสิทธิ์พานิช, จริยา. (2530), รายงานผลการวิจัย เรื่อง การสํารวจและใช้ศัตรูธรรมชาติ เพื่อควบคุมแมลงศัตรูพืชสําคัญ ๆ ของกาแฟ ทางภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อังกสิทธิ์ , พงษ์ศักดิ์ , ละอองศรี, และ สันติเมทนีดล, ธีรภัทร. (2531). จากฝืน...สู่กาแฟ. โรงพิมพ์ดารารัตน์, เชียงใหม่.
Gill, R.J., Nakahara, S., and Williams, M.L. (1977). A review of the genus coccus Linnaeus in America north of Panama (Homoptera : Coccoidea : Coccidae). In occasional Papers in Entomology, Andrews, F.G. (ed.). Department of Food and Agriculture, Division of Plant Industry. No. 24. p.37-41.
Le, Pelley, R.H. (1968). Pests of Coffee. Butler and Tanner Ltd. Frome and London, Great Britain.
Le Pelley, R.H. (1973). Coffee Insects. Annual Review of Entomology 18: 121-142.
Stapley, J.H. and Gayner F.C.H. (1969). World Crop Protection Vol. 1 Pests and Disease. Iliffe books Ltd. London.
Thamonthin, V. and Visitpanich, J. (1988). Biological Control and Distribution of Major Coffee Pests. Proceeding of International seminar on Coffee Technology, Chiang Mai, Thailand. (in press).