การใช้ถั่วพร้าเป็นแหล่งโปรตีนในอาหารไก่เนื้อ

Main Article Content

สุชน ตั้งทวีวิพัฒน์
บุญล้อม ชีวะอิสระกุล

บทคัดย่อ

การศึกษาถึงคุณค่าทางอาหารและการใช้ถั่วพร้าเป็นแหล่งโปรตีนทดแทนการใช้กากถั่วเหลืองในไก่กระทงโดยเสริมถั่วพร้าบดในระดับ 0, 10, 15 และ 20% ของสูตรอาหารที่มีโปรตีน 21, 19 และ 17% ในช่วงไก่อายุ 1-3, 3-6 และ 6-7 สัปดาห์ตามลำดับใช้ไก่เนื้อพันธุ์เอ. เอ. 707 อายุ 7 วันจำนวน 120 ตัวแบ่งออกโดยสุ่มเป็น 4 กลุ่มกลุ่มละ 3 ซ้ำเลี้ยงแบบปล่อยพื้นในคอกย่อยแต่ละคอกขนาด 0.9 x 1.8 ตารางเมตรมีน้ำและอาหารกินตลอดระยะเวลาทดลอง 6 สัปดาห์


ปริมาณโภชนะหยาบในถั่วพร้าคิดเป็นร้อยละของวัตถุแห้ง (dry mater basis, โปรตีน 25.7%, ไขมัน 3.0%, เยื่อใย 10.7%, NFE 57.1% และมีค่า urease activity 22.9 mg N / กรัม / นาทีซึ่งสูงกว่าเมล็ดถั่วมะแฮะดิบและถั่วเหลืองดิบ (7.78 และ 5.7omg N / กรัม / นาทีตามลำดับ) ส่วนปริมาณสารยับยั้งทริปซินปรากฏว่ามีน้อยกว่าถั่วทั้ง 2 ชนิดที่กล่าวถึงแล้วคือ 13.73 เทียบกับ 30.30 และ 74.32 mgT / g air dry Sample ตามลำดับผลการทดลองในไก่เนื้อปรากฏว่าอัตราการเจริญเติบโตและอาหารที่กินตลอดอายุไก่ 7 สัปดาห์มีปริมาณลดลงตามระดับการเพิ่มการใช้ถั่วพร้าในอาหารโดยการใช้ถั่วพร้าที่ระดับ 10% มีน้ำหนักตัวเพิ่มและปริมาณอาหารที่กินไม่แตกต่างจากกลุ่มเปรียบเทียบ (1.63 และ 3.59 กก. เปรียบเทียบกับ 1.70 และ 3.81 กก. ตามลำดับ) อัตราแลกน้ำหนักของไก่กลุ่มที่ได้รับอาหารมีถั่วพร้าระดับ 20% สูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญ (P <0.05) ส่วนกลุ่มที่ได้รับอาหารมีถั่วพร้าระดับ 0-15% ให้อัตราแลกน้ำหนักอยู่ระหว่าง 2.21 2.27 ซึ่งไม่มีความแตกต่างทางสถิติสำหรับน้ำหนักตับอ่อนของไก่เพิ่มขึ้นตามการเพิ่มระดับการใช้ถั่วพร้าในอาหารโดยมีอัตราการตายไม่แตกต่างกันทุกกลุ่มทั้งที่ใช้และไม่ใช้ถั่วพร้าในอาหาร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จันทลักขณา, จรัญ. (2523) สถิติวิธีวิเคราะห์และวางแผนงานวิจัย. บริษัท สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช, กรุงเทพ.
ตั้งทวีวิพัฒน์, สุชน. และ อิเลียต, โรเบิร์ต. (2531). การใช้เมล็ดถั่วมะแฮะเพื่อเป็นอาหารสัตว์ปีก. 2. ใช้ถั่วมะแฮะเป็นแหล่งโปรตีน / พลังงานในอาหารไก่เนื้อ. รายงานการประชุมวิชาการเกษตรศาสตร์ครั้งที่ 26. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพ.
ตั้งทวีวิพัฒน์, สุชน. เวียรศิลป์, เทิดชัย. และ ชีวะอิสระกุล, บุญล้อม. (2531). การหาค่าพลังงานใช้ประโยชน์ของข้าวเปลือกบดและถั่วมะแฮะบดโดยวิธีการแทนที่ส่วนของอาหารเปรียบเทียบและการใช้เป็นอาหารเดี่ยวในสัตว์ปีก. ว. เกษตร. 4 (2): 108- 121.
Association of Official Analytical Chemists. (1980). Official methods of analysis. Association of Official Analytical Chemists, Washington, D.C.
Bressani, R., Brenes, R.G., Garcia, A. and Elias, L.G. (1987). Chemical composition, amino acid content and protein quality of Canavalia spp. seeds. J. Sci. Food Agric. 40: 17-23.
Duke, J.A. (1977). Phytotoxin tables, Crit. Rev. Toxicol. 5 (3): 189-237.
Duke, J.A. (1981). Handbook of legumes of world economic importance. New York: Plenum Press.
Frost, A.B. and Mann. G.V. (1966). Effect of cystine deficiency and trypsin inhibitor on the metabolism of methionine. J. Nutr. 89: 49-54.
Khayambashi, H. and Lyman, R.L. (1966). Growth depression and pancreatic and intestinal changes in rats force-fed amino acid diets containing soybean trypsin inhibitor. J. Nutr. 89: 455-464.
Naumann, K. and Bassler, R. (1976). Methodenbuch Band III. Die chemische Untersuchung von Futtermitteln. Verlag J. Neumann-Neudamm, W. Germany.
Schneeman, B.O., Chang, L., Smith, L.B. and Lyman, R.L. (1977). Effect of dietary amino acids, casein and soybean trypsin inhibitor on pancreatic protein secretion in rats. J. Nutr. 107: 281-288.
Struthers, B.J. and MacDonald, J.R. (1983). Comparative inhibition of trypsins from several species by soybean trypsin inhibitors. J. Nutr. 113: 800-804.
Temler, R.S., Dormond, C.A., Simon, E., Morel, B. and Mettraux, C. (1984). Response of rat pancreatic proteases to dietary proteins, their hydrolysates and soybean trypsin inhibitor. J. Nutr. 114: 270-278.