การใช้เมล็ดถั่วมะแฮะเพื่อเป็นอาหารสัตว์ปีก 4. การเสริมเมทไธโอนีนในสูตรอาหารที่มีถั่วมะแฮะระดับสูง

Main Article Content

สุชน ตั้งทวีวิพัฒน์
บุญล้อม ชีวะอิสระกุล

บทคัดย่อ

การศึกษาผลการเสริมเมทไธโอนีนในอาหารไก่เนื้อที่ใช้เมล็ดถั่วมะแฮะบดเป็นแหล่งโปรตีนระดับสูงแทนที่กากถั่วเหลืองในสูตรอาหารที่มีผลต่อการเจริญเติบโตประสิทธิภาพการใช้อาหารการขยายตัวของตับอ่อนและค่าโลหิตวิทยาเมื่อใช้อาหารทดลองที่มีถั่วมะแฮะระดับ 30, 40 และ 50% ในอาหารที่มีพลังงานใช้ประโยชน์ 2200-3000 กิโลแคลอรี่ / กก. และมีโปรตีนระดับ 21, 19 และ 17% ในช่วงไก่อายุ 1-3, 3-6 และ 6-7 สัปดาห์ตามลำดับโดยมีการเสริมเมทไธโอนีนให้สูงกว่าที่ NRC (1984) แนะนำ 50, 100 และ 150% เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ไม่มีการใช้ถั่วมะแฮะและมีระดับเมทไธโอนีนสูงกว่าระดับที่ NRC แนะนำ 50% ทำการทดลองกับไก่เนื้อคละเพศพันธุ์ซับบาร์ดอายุ 7 วันจำนวน 270 ตัวที่ถูกแบ่งออกโดยสุ่มเป็น 10 กลุ่มกลุ่มละ 3 ซ้ำเลี้ยงแบบปล่อยพื้นในคอกย่อยที่แต่ละคอกมีขนาด 0.9 X 1.8 มีอาหารและน้ำกินตลอดระยะเวลาทดลอง 7 สัปดาห์ผลปรากฏว่าอัตราการเจริญเติบโตตลอดอายุไก่ 7 สัปดาห์ให้ผลไม่แตกต่างในทุกกลุ่มการทดลองโดยมีน้ำหนักตัวเพิ่มอยู่ระหว่าง 2.0-2.2 กิโลกรัมอาหารที่กินเพิ่มขึ้นเมื่อมีการใช้ถั่วมะแฮะในอาหารส่งผลให้อัตราแลกน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (P <0.05) เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมน้ำหนักตับอ่อนเพิ่มขึ้นตามระดับถั่วมะแฮะ แต่ค่า Haematocrit ไม่เปลี่ยนแปลงสำหรับการเสริมเมทไธโอนีนในระดับที่สูงกว่า NRC (1984) แนะนำ 100 และ 150% ไม่มีผลต่อการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้อาหารให้ดีกว่าการเสริมเมทไธโอนีนที่สูงกว่าระดับแนะนำ 50%

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จันทลักขณา, จรัญ. (2523), สถิติวิธีวิเคราะห์และวางแผนงานวิจัย. บริษัท สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัด . กรุงเทพฯ
ตั้งทวีวิพัฒน์, สุชน. และอิเลียต, โรเบิร์ต. (2531). การใช้เมล็ดถั่วมะแฮะเพื่อเป็นอาหารสัตว์ปีก 2. ใช้ถั่วมะแฮะเป็นแหล่งโปรตีน / พลังงานในอาหารไก่เนื้อรายงานการประชุมทางวิชาการเกษตรศาสตร์ครั้งที่ 26. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ
ตั้งทวีวิพัฒน์, สุชน. เวียรศิลป์, เทอดชัย. และชีวะอิสระกุล, บุญล้อม. (2531) การหาค่าพลังงานใช้ประโยชน์ของข้าวเปลือกบดและถั่วมะแฮะบดโดยวิธีการแทนที่ส่วนของอาหารเปรียบเทียบและการใช้เป็นอาหารเดี่ยวในสัตว์ปีก. ว. เกษตร 4 (2): 108-121.
ตั้งทวีวิพัฒน์, สุชน. และอิเลียต, โรเบิร์ต. (2532). การใช้เมล็ดถั่วมะแฮะเพื่อเป็นอาหารสัตว์ปีก 3. ใช้ถั่วมะแฮะเป็นแหล่งของโปรตีน / พลังงานในอาหารไก่ไข่. ว. เกษตร 5 (1): 37-46.
ตั้งทวีวิพัฒน์, สุชน. และชีวะอิสระกุล, บุญล้อม. (2532). การใช้ถั่วพร้าเป็นแหล่งโปรตีนในอาหารไก่เนื้อ. ว. เกษตร 5 (2): 137-150.
Frost, A.B. and Mann, G.V. (1966). Effect of cystine deficiency and trypsin inhibitor on the metabolism of methionine. J. Nutr. 89: 49-54.
Khayambashi, H. and Lyman, R.L. (1966). Growth depression and pancreatic and intestinal changes in rats force-fed amino acid diets containing soybean trypsin inhibitor. J. Nutr. 89: 455-464.
Lehninger, A.L. (1975). Biochemistry, 2nd Ed. Kalyani Publishers, New Delhi, India.
Nambi, J.and Gomez, M. (1986). Studies on the nutritive evaluation of pigeonpea (cajanus cajan) as a protein supplement in broiler feeds. Nutr. Abstr. Rev. (Ser. B) 56 (3): 186.
National Research Council. (1984). Nutrient requirements of poultry, gth Ed. National Academy Press, Washington, D.C., U.S.A.
Schneeman, B.O., Chang, I., Smith, L.B. and Lyman, R.L. (1977). Effect of dietary amino acids, casein and soybean trypsin inhibitor on pancreatic protein secretion in rats. J. Nutr. 107: 281-288.
Springhall, J., Akinola, J.O. and Whiteman, P.C. (1974). Evaluation of pigeonpea seed (Cajanus cajan) meal in chicken ration. Cited by Whiteman, P.C. and Nor ton, B. W. 1980. Alternative uses for pigeonpea. In Proceedings of the International Workshop on Pigeonpeas. ICRISAT, Patancheru, India. Vol 1. pp. 365 377.
Struthers, B.J. and MacDonald, J.R. (1983). Comparative inhibition of trypsins from several species by soybean trypsin inhibitors. J. Nutr. 113: 800-804.
Temler, R.S., Dormond, C.A., Simon, E., Morel, B. and Mettraux, C. (1984). Response of rat pancreatic proteases to dietary proteins, their hydrolysates and soybean trypsin inhibitor. J. Nutr. 114: 270-278.
Visitpanich, T., Batterham, E.S. and Norton, B.W. (1985, a). Nutritional value of chickpea (Cicer arietinum) and pigeonpea (Cajanus cajan) meals for growing pigs and rats. I. Energy content and protein quality. Aust. J. Agric. Res. 36: 327-335.
Visitpanich, T., Batterham, E.S. and Norton, B.W. (1985, b). Nutritional value of chickpea (Cicer arietinum) and pigeonpea (Cajanus cajan) meals for growing pigs and rats. II. Effect of antoclaving and alkali treatment. Aust. J. Agric. Res. 36: 337-345.