การใช้สารเคมีและวัสดุหีบห่อเพื่อยืดอายุการเก็บไส้กรอกพื้นบ้าน (ไส้ถั่ว)

Main Article Content

ลักขณา รุจนะไกรการต์
อรัญ หันพงศ์กิตติกุล
ไพโรจน์ วิริยจารี

บทคัดย่อ

ไส้กรอกหมูทอด (ไส้ถั่ว) เป็นอาหารพื้นบ้านทางภาคเหนือของประเทศไทย มีวิธีการผลิตคือ นำเนื้อหมูส่วนเนื้อแดง หมูสามชั้น และส่วนมันแข็งมานั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วนำไปผสมกับน้ำส้มสายชู ซอสเกลือ และเครื่องเทศหลายชนิด งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาถึงการยืดอายุการเก็บของผลิตภัณฑ์ดังกล่าวโดยการเพิ่มโซเดี่ยมโปรปิออเนท, โปแตสเซียมซอร์เบทหรือโซเดียมเบนโซเอทในปริมาณร้อยละ 0.1 ลงในผลิตภัณฑ์จึงนำไปบรรจุให้แน่นในไส้บรรจุธรรมชาติทอด, อบหรือย่างก่อนจึงบรรจุในถุงโพลีเอทธีลีนและซารานเก็บในอุณหภูมิ 20-26 องศาเซลเซียส ทำการศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ, เคมี และจุลชีววิทยา ในช่วงการเก็บที่ 0, 4 และ 11 วันคุณค่าทางอาหารของผลิตภัณฑ์นี้ประกอบด้วยโปรตีน, ไขมัน, เถ้า และน้ำคิดเป็นร้อยละ 19, 33, 2.5 และ 38 ตามลำดับ มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างเริ่มต้น 5.6 เมื่อเก็บได้ 4 วันพบว่า ทุกตัวอย่างมีค่าเพอร์ออกไซค์และปริมาณจุลินทรีย์เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน ตัวอย่างที่เพิ่มโซเดียมโปรปีออเนทและโซเดียมเบนโซเอทปรากฎมีเชื้อราเกิดขึ้น แต่ตัวอย่างที่เพิ่มโปแตสเซียมซอร์เบทยังคงลักษณะเช่นเดิมโดยไม่มีเชื้อราเกิดขึ้น แต่อย่างใดภายหลังเก็บได้ 11 วันพบเชื้อราเกิดขึ้นในตัวอย่างที่เพิ่มโปแตสซอร์เบท ได้ศึกษาหาปริมาณจุลินทรีย์ทั้งหมดรวมทั้งแบคทีเรียชนิด Mesophilic aerobic, แบคทีเรียที่เป็นดัชนีทางสุขาภิบาลซึ่งได้แก Escherichia coli, staphylococcus aureus, Clostridium perfringens และแบคทีเรียที่เป็นพิษในอาหารพวก Salmonella และ Vibrio Cholerae ด้วย นอกจากนี้ยังศึกษาค่าไนโตรเจนที่ระเหยได้ เพื่อใช้เป็นดัชนีในการชี้บ่งถึงการเสื่อมคุณภาพของผลิตภัณฑ์เนื้อ ตัวอย่างที่ใช้โปแตสเซียมซอร์เบทมีแนวโน้มที่จะเสื่อมคุณภาพไม่มากนัก โดยเฉพาะตัวอย่างที่บรรจุในถุงซาราน ซึ่งต่างกับตัวอย่างที่ใช้สารเคมีชนิดเดียวกันบรรจุในถุงโพลีเอทธีลีน ค่าเพอร์ออกไซด์ในทุกตัวอย่างมีค่าต่ำกว่า 5 มิลลิอีควิวาเลนทต่อกิโลกรัม ได้ศึกษาปริมาณร้อยละของเกลือและเกลือที่ซึมซาบในผลิตภัณฑ์ดังกล่าวด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ตัน, เล็ก. (2526). ปัญหาพิเศษเรื่อง การประเมินผลการเก็บรักษาไส้กรอกพื้นบ้าน (ไส้ถั่ว) โดยการวิเคราะห์ผลทางเคมี. ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่.
ประกาศกระทรวงสาธารณ สุขฉบับที่ 84 (2527) เรื่องวัตถุเจือปนในอาหาร.
วิริยจารี, ไพโรจน์ (2526). การยืดอายุการเก็บรักษาปลาหมึกแห้งโดยวิธีร่วมระหว่างการฉายรังสีและใช้สารกันรา. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพ.
ศิริลักษณ์, สินธวาลัย. (2522). ทฤษฎีอาหารเล่ม 2. แผนกวิชาอาหารและโภชนาการ, คณะวิชาคหกรรมศาสตร์.วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวะศึกษา, กรุงเทพ
A.O.A.C. (1980). Official Methods of Analysis of the Association of Official Analytical chemists. William Harwitz (Editor) 12 th edition. Association of Official Analytical Chemists, Washington.
Buchnan, E.R.E., Gibbons, N.E., Cowan, S.T., Hott, J.G., Liston, J. Murray, R.G.G., Noven, C.E, Ravin, A.W. and Stanler, R.V. (1974). Bergey's Manual of Determinative Bacteriology. William and Wilkins Co. Balkins. Co. Baltimore, U.S.A.
Gerrard, F. (1976). Sausage and small goods production. sixth edition. Northwood Publications. Ltd. London.
Lawrie, R.A. (1974). Meat Science. Pergamon Press. Oxford. New York. Toronto. Sydney. Paris. Frankfurt.
Pearson, D. (1973). Laboratory Techniques in Food Analysis. Butterworth & Co. Ltd.