การผลิตท่อเก็บตัวอย่างอาหารจากซิลิโคนเพื่อใช้ในสัตว์เคี้ยวเอื้อง

Main Article Content

เทอดชัย เวียรศิลป์
ทัศนีย์ อภิชาติสรางกูร

บทคัดย่อ

เตรียมซิลิโคนให้มีความหนา 5 มม. และ 3 มม. สำหรับใช้ผลิตท่อเก็บตัวอย่างอาหารจากกระเพาะรูเมน และลำไส้เล็กที่มีรูปตัวอักษรที่ (T-shaped) ตามลำดับ นำแผ่นซิลิโคนดังกล่าวมาวางทาบลงบนแบบพิมพ์และกดปรับรอยต่อให้เรียบ ต่อจากนั้นนำไปอบในหม้อนึ่งความดัน 15 ปอนด์ / ต. ร. นิ้วเป็นเวลา 2 ช.ม. ถอดท่อเก็บตัวอย่างออกจากแบบพิมพ์แล้วอบในตู้อบ 200° ซ. 2 ช.ม. ทิ้งไว้ให้เย็น ใช้กรรไกรปรับแต่งส่วนละเอียดอีกครั้งหนึ่ง จากการทดลองใช้แบบพิมพ์ที่ทำจากดินเผาเคลือบ, แท่งเหล็กกลึงผิวเรียบ และไม้ไผ่ พบว่าการเตรียมแบบพิมพ์จากไม้ไผ่ทำได้ง่ายและมีราคาถูกที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับแท่งเหล็กกลึงเรียบ และดินเผาเคลือบตามลำดับ การเตรียมแผ่นซิลิโคนให้มีความหนาสม่ำเสมอและไม่มีหยดน้ำ หรือ ฟองอากาศอยู่ภายใน จะทำให้ท่อเก็บตัวอย่างมีคุณภาพดี และทนทานต่อการใช้งาน


ท่อเก็บตัวอย่างที่ผลิตจากซิลิโคน สามารถผลิตได้เองภายในประเทศ และลดอันตรายที่จะเกิดจากการนอนทับหรือเสียดสีกับคอกของสัตว์ทดลอง และเมื่อท่อเก็บตัวอย่างชำรุดก็สามารถเปลี่ยนได้โดยไม่ต้องทำการผ่าตัดใหม่

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bell, C.F. and Lott, K.A.K. (1966). Modern approach to inorganic chemistry. 2nd Edition. Butterworths. London. 333 p.
Dougherty, R.W. (1981). Experimental Surgery in Farm Animals. The Iowa State University Press, Ames, lowa 50010. USA p. 24-48.
Wenham. G. (1979). Effects of cannulation on intestinal motility. Ann. Rech. Vet 10 (2/3), 157-159.