การวิเคราะห์การตัดสินใจของเกษตรกรโดยการใช้แบบจำลอง เพื่อหาศักยภาพการขยายพื้นที่ปลูกพืชน้ำมัน

Main Article Content

เบญจพรรณ ชินวัตร

บทคัดย่อ

การวิเคราะห์ การตัดสินใจ ของเกษตรกร ในการเลือกปลูกพืชน้ำมันที่ สำคัญบางชนิดใน 4 เขต คือ ที่ราบลุ่มเชียงใหม่ ภาคเหนือตอนบน ภาคเหนือตอนล่าง และ ภาคกลางตอนบน โดยใช้แบบจำลองโปรแกรมเส้นตรง ณ ราคา ต้นทุนการผลิต และผลผลิตในระดับปัจจุบัน ผลปรากฏว่า ถั่วเหลืองเป็นพืชไร่ที่ให้รายได้ดีที่สุด เกษตรกรมักจะเลือกปลูกถั่ว เหลืองก่อนพืชไร่ชนิดอื่น สำหรับถั่วลิสง ละหุ่ง ทานตะวัน หรือพืชไร่อื่นนั้น ให้รายได้ในระบบ เกษตรแก่เกษตรกรน้อยกว่าถั่วเหลือง ผลการศึกษานี้ จึงแสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการขยาย พื้นที่เพาะปลูกถั่วเหลือง และเมื่อพิจารณาในแง่ผลตอบแทนต่อเกษตรกรแล้ว การขยายพื้นที่ เพาะปลูกถั่วเหลืองดังกล่าวนี้ อาจเกิดขึ้นได้ในเขตปลูกข้าวโพด ถั่วเขียว และถั่วลิสง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชินวัตร, เบญจพรรณ., ธาน, พชต., และ พิทักษ์วงค์, จามะรี (2530) การตัดสินใจของเกษตรกร ในที่ราบลุ่มเชียงใหม่. วารสารเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์ 5: 129-166.
ภาคอุทัย, วีระ. (2529) การตลาดเมล็ดงาของภาคตะวันออกเฉียงเหนอ วารสารแกนเกษตร 14 (6): 335-348.
สำนักงานเกษตรจังหวัดขอนแก่น, (2529) ผลงานส่งเสริมการปลูกถั่วเหลืองฤดูแล้ง ปี 2528/2529 จ. ขอนแก่น.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2529) สถิติการเกษตรของประเทศไทยปลูก ปีการเพาะปลูก 2528/2559. เอกสารสถิติการเกษตรเลขที่ 328.
Calavan Michael M. (1977). Decisions Against Nature: An Anthropological Study of Agriculture in Northern Thailand. Center for Southeast Asian Studies Special Report No. 15, Northern Illinois.
FAO. (1980). Farm Management Research for Small Farmer Development. FAO Agricultural Services Bulletin 41. Rome.
Kaosa-ard, Mingsarn., Shinawatra, Benchaphun., Rerkasem, Benjavan., Rerkasem, Kanok., and Israngkura, Adis. (1987) Agronomic and Financial Aspects of the Inclusion of Oilseed Crops at Farm Level in Thailand. Chiang Mai University.