ผลของการเสริมฟางข้าวด้วยกระถินแห้งระดับต่าง ๆ และความแม่นยำของการใช้เถ้าที่ไม่ละลายในกรด เป็นตัวบ่งชี้ภายในเพื่อหาการย่อยได้
Main Article Content
บทคัดย่อ
แกะทดลองเพศผู้จำนวน 18 ตัว น.น. เริ่มต้นเฉลี่ย 26.5 + 2.3 กก. ได้ถูกสุ่ม แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ทุกกลุ่มให้ได้รับฟางข้าวเต็มที่แต่เสริมกระถิ่นคิดเป็นร้อยละของน้ำหนักตัว ในระดับต่างกันคือ 0.5, 1.0 และ 1.5% และเสริมแร่ธาตุผสมวันละ 2.5 กรัม/ตัว ใช้เวลาทด ลอง 10 สัปดาห์ ในระหว่างนั้นได้ทดลองหาการย่อยได้ของโภชนะ การสะสมโปรตีนและการใช้ เถ้าที่ไม่ละลายในกรด (AIA) เป็นตัวบ่งชี้ภายในสำหรับการหาการย่อยได้เปรียบเทียบกับการเก็บ มูลทั้งหมดด้วย
ผลปรากฏว่า เมื่อเสริมใบกระถินในระดับสูงขึ้น แกะจะกินอาหารได้ดีขึ้น มีการย่อย ได้ของโปรตีนสูงขึ้น แต่ของเยื่อใยต่ำลง แกะได้รับโภชนะย่อยได้สูงขึ้น มีการสะสมโปรตีนในร่างกายมากขึ้น (13.4, 23.5, 42.3 กรัม/ตัว/วัน) มีการเจริญเติบโตดีขึ้นคือ 24.5, 32.5 และ 54.5 กรัม/ตัว/วัน และมีอัตราแลกน้ำหนัก 32.4, 21.5 และ 17.9 ในกลุ่ม 1,2 และ 3 ตามลำดับ การเสริมกระถินแห้งที่ระดับ 1.5% ของน้ำหนักตัวเป็นเวลา 10 สัปดาห์ นับว่าเป็นระดับ ที่ปลอดภัยเพราะสัตว์ไม่ได้แสดงอาการป่วยแต่อย่างใด
แม้ว่าการใช้เถ้าที่ไม่ละลายในกรด (AIA) เป็นตัวบ่งชี้ภายในเพื่อหาการย่อยได้ในบางการทดลองจะได้ผลแปรปรวนไปบ้าง แต่ในการทดลองนี้นับว่าได้ผลใกล้เคียงกับการเก็บมูล ทั้งหมดมาก เพราะได้ค่า Recovery ของ AIA ในมูลเฉลี่ย 100.8 + 4.4% (n = 15)
Article Details
References
ชีวะอิสระกุล, บุญเสริม และ ชีวะอิสระกุล, บุญล้อม (2529) สมรรถภาพในการผลิตของวัวรุ่นที่ได้รับฟางข้าวเสริมกระถิน และเปรียบเทียบกับฟางปรุงแต่งและรำ วารสารเกษตร, 2 (1): 1-16
มณีดุลย์, ชาญชัย (2530), เพลี้ยไก่ฟ้าทำลายกระถิน, ธุรกิจอาหารสัตว์ 4 (10) : 63-66
ศรีวัฒนสมบัติ, พนอม และ วรรณพัฒน์ เมธา (2527) ผลของการเสริมใบกระถินและ หรือ ใบผักตบชวาบนร่วมกับฟางหมักยูเรียในสูตรอาหารกระบือปลักต่อการย่อยได้ และความสมดุลของไนโตรเจน. ประชุมวิชาการ สาขาสัตว์ ครั้งที่ 22 ณ มหาวิทยาลัยเกษตร ศาสตร์ กรุงเทพฯ 30 มค.-3 กพ. 2527
หงษ์พฤกษ์, วารี (2530) เพลี้ยไก่ฟ้า เพลี้ยไก่แจ้ (psylids) ที่พบในประเทศไทยใน “ปัญหาแมลงปากดูดและไรที่สำคัญของพืชเศรษฐกิจไทย รายงานการประชุมใหญ่สามัญประจำปี ทางวิชาการ พ.ศ. 2530 สมาคมกีฏและสัตววิทยา ฯ 3-11
อินทรมงคล, จินตนา ; สิรินันทเกตุ, เกศรินทร์ ; สอนบุญลา, โสวัฒน์ และ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต, สุนทราภรณ์ (2525), การศึกษาการใช้ใบกระถินสดในการขุนโคแบบหลังบ้าน รายงานการประชุมประจําปีทางวิชาการ สาขาสัตว์ครั้งที่ 2 กรมปศุสัตว์ กรุงเทพฯ : 60-70
อรรถจารุสิทธิ์, จุฑารัตน์ (2530), เพลี้ยไก่ฟ้ากระถิน (Heteropsylla incisa) และแนวทางป้องกันกําจัดในประเทศไทยใน “ปัญหาแมลงปากดูดและไรที่สําคัญของพืชเศรษฐกิจใน ประเทศไทย” รายงานการประชุมใหญ่สามัญประจําปีทางวิชาการ พ.ศ. 2530 สมาคม กีฏและสัตววิทยา ฯ: 12-19
Cheva - Isarakul, Bl.and Cheva - Isarakul, Bs. (1985). Variation in nuitritive value of rice straw in northern Thailand. 2 Voluntary feed intake and digestibility by sheep. In Proc. Relevance of Crop Residues as Animal Feeds in Developing Countries. (Eds. M. Wanapat and C. Devendra). P. 43–52 Funny Press, Bangkok, Thailand.
Cheva-Isarakul, B1. (1987). Performance of sheep fed urea - treated or urea-mo- lasses straw with or without fresh Leacaena supplement as compared with fresh grass. Paper presented at the 7 th AAFARR Workshop held at Chiang Mai, Thailand, 2–6 June 1987.
Devendra, C. (1982). The nutritive value of Leucaena Leucocephala CV. Peru in balance growth studies with goats and sheep. Mardi Res. Bull., 10(2): 138-150.
Devendra, C. (1983). Physical treatment of rice staw for goats and sheep and the response to substitution with variable levels of cassava (Manihot esculenta Crants), Leucaena (Leucaena leucocephala) and Gliricidia (Gliri cidia maculata) Forages. Mardi Res. Bull., 11 (3): 272-290.
Goering, H.K. and Van Soest, P.J. (1970). Forage Fibre Analyses. U.S. D.A. Handbook No. 379.
Jones, R.J. (1981). Does ruminal metabolism of mimosine explain the absence of Leucaena toxicity in Hawaii. Aust. Vet. J. 57:55-56.
Manidool, C. (1985). Utilization of tree legumes with crop residues as animal feeds in Thailand. In Proc. Relevance of Crop Residues as Animal Feeds mc in Developing Countries. (Eds. M. Wanapat and C. Devendra) p. 249 272. Funny Press, Bangkok, Thailand.
Mcdonald, P.; Edwards, R.A.; Greenhalgh, J.F.D. (1973). Animal Nutrition, p. 192. Oliver and Boyd, Edinburgh, London.
Mendoza, R.C. (1983). The use of Leucaena for livestock feed in Asia. A. high lights of research into the use of Leucaena for forage in the Philippines. ASPAC Food and Fertilizer Technology Centre, Extension Bulletin No198.
Naumann, K. and Bassler, R. (1976). Methodenbuch Band 3, Die chemische Untersuchung von Futtermitteln. Verlag J. Neumann - Neudamm. Melsungen, Federal Republic of Germany.
Promma, S.; Tuikampee, V.; Himarat V. and Vidhyakorn, N. (1985). Production responses of lactating cows fed urea - treated rice straw compared to untreated rice straw supplemented with Leucaena leaves. In Proc. Relevance of crop Residues as Animal feeds in Developing countries (Eds. M. Wanapat and C. Devendra) p. 301-314 Funny Press, Bangkok, Thailand.
Perez, C.B. (1976). Fattening cattle on farm by- products. ASPAC Food and Fertilizer Technology Centre, Extension Bulletin 83:1-11.
Perdox, H.B.; Thamoderam, M.; Blom, J.J.; Van den Born, H. and Van Veluw, C. (1982). Practical experiments with urea ensiled straw in Sri Lanka. Paper presented at the Third Annual Seminar on “Maximum Livestock Production from Minimum Land”, Joydebpur Bangladesh. Feb. 15-18, 1982.
Van Keulen, J. and YOUNG, B.A., (1977). Evaluation of acid-insoluble ash as a natural marker in ruminant degestibility studies. J. Anim. Sci. 44 : 282–287.
Wongsrikeao, W. and Wanapat, M. (1985). A. comparison of untreated or urea treated rice straw when supplemented with fresh Leueaena for buffaloes. In Ruminant Feeding Systems Utilizing Fibrous Agricultural Residues-1985. (Ed R.M. Dixon.) p. 49-58. School of Agriculture and Forestry, University of Melbourne, Australia.