การศึกษาโรคที่เกิดกับข้าวเหนียวพันธุ์พื้นเมือง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาโรคที่เกี่ยวกับข้าวเหนียวพื้นเมืองจํานวน 50 พันธุ์ ที่แปลงทดลองของศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่ม ผลผลิตทางเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในสภาพไร่นาในฤดูเพาะปลูกปี 2526 พบโรคที่ สําคัญ 2 โรค คือ โรคขอบใบแห้ง (Xanthomonas campestris pv. oryzae) และโรคกาบใบแห้ง (Rhizoctoria solani) โรคทั้ง 2 ชนิดนี้พบทําลายข้าวเหนียวทุกพันธุ์ที่ทําการทดลอง โดยจะเริ่มเข้าทําลายหลังจากย้ายปลูกแล้วประมาณ 30 วัน ความรุนแรงของโรคจะเพิ่มมากขึ้นเมื่อข้าวเหนียวมีอายุมากขึ้น ในระยะ ตั้งท้องถึงออกรวง ข้าวเหนียวเกือบทุกพันธุ์จะแสดงอาการค่อนข้างอ่อนแอต่อโรคทั้ง 2 นี้ นอกจากนั้นยังพบ โรคอื่นๆ อีก 5 โรค ซึ่งเข้าทําลายข้าวเหนียวบางพันธุ์เท่านั้น โรคดังกล่าวได้แก่ โรคใบซีดสีน้ำตาล (Sphaerulina oryzina) โรคถอดฝักดาบ (Gibberella fujikuroi) โรคใบจุดสีน้ำตาล (Cockliobolus miyabeanus) โรคใบขีดโปร่งแสง (Xanthomonas Campestris pv. oryzicola) และโรคใบสีแสด
Article Details
References
De Datta, S.K. (1981). Principles and Practices of Rice Production. John Wiley and Sons, Inc., U.S.A.
Hori, M. and Anraku, M. (1971). Studies on the ecology of sheat blight of rice plant. Appointed Exp. (Plant Disease and Insects) 24:1-92
Jennings, P.R., Coffman, W.R. and Kauffman, H.E., (1979). Rice Improvement. International Rice Research Institute. Los Banos, Philippines. 186 pp.
Kozaka, T. (1975). Sheath blight in rice plants and its control. The Phytopathological Society of Japan and The Japanese Society of Applied Entomology and Zoology Rev. Plant Protect. Res. 8:69-80.
Ou, S.H. (1985). Rice Diseases. The Cambrian New (Aberystwyth) Ltd., Great Britain.