ผลของเชื้อบริสุทธิ์ต่อคุณภาพของแหนมที่ผลิตในฤดูร้อน

Main Article Content

ลักขณา รุจนะไกรกานต์
อรัญ หันพงศ์กิตติกุล
ไพโรจน์ วิริยจารี

บทคัดย่อ

ได้ทำการแยกเชื้อแลคติคแอสิคแบคทีเรียจากแหนมที่ผลิตแบบพื้นเมือง ในท้องที่จังหวัดเชียงใหม่สองแหล่งจํานวน 13 สายพันธุ์ที่มีคุณสมบัติสามประการคือ เจริญเติบโตได้รวดเร็วใน 24 ชั่วโมง, สร้างกรดแลคติคได้ดีและสลายสารไนเตรทได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้นําเชื้อทั้ง 13 สายพันธุ์ดังกล่าวมาทําการผลิตแหนมในฤดูร้อนจํานวน 4 การทดลอง โดยสลับเชื้อทั้ง 13 สายพันธุ์นั้น แล้วเปรียบเทียบผลกับตัวอย่างควบคุมที่ผลิต แบบพื้นบ้าน ผลการศึกษาทางเคมี จุลชีววิทยา และด้านประสาทสัมผัส พบว่าแหนมที่ทดลองใช้เชื้อบริสุทธิ์และ แหนมตัวอย่างควบคุมมีองค์ประกอบของอาหารใกล้เคียงกัน ปริมาณสารไนเตรท ไนไตรท และในโตรซามีนต่ำ กว่าปริมาณสูงสุดที่กฎหมายอนุญาตให้มีในอาหารประเภทเนื้อ ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของแหนมทดลองใช้เชื้อบริสุทธิ์ลดลงรวดเร็วและกรดแลคติคเพิ่มขึ้นรวดเร็วมาก แม้วันแรกของการผลิตรวมทั้งตลอดช่วงการเก็บรักษาที่ 25 องศาเซลเซียส พบชาลโมเนลลา (Salmonella) ในบางตัวอย่าง แม้ในช่วงแรกของการผลิต จึงไม่ควรบริโภคแหนมขณะที่ความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ยังไม่ลดต่ำกว่า 4.3 วัตถุดิบที่ใช้ทำแหนมควรมีคุณภาพดี และ มีการควบคุมการผลิตให้มีสุขาภิบาลที่ดีไปทุกขั้นตอนแหนมที่ใช้เชื้อบริสุทธิ์ทั้ง 4 การทดลอง ให้สี กลิ่น รสชาติ ลักษณะเนื้อสัมผัส และลักษณะรวมที่ดีเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคเช่นเดียวกับตัวอย่างควบคุมที่ผลิตแบบพื้นบ้าน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คำนวนตา, จรูญ. (2509). การค้นคว้าเรื่องแหนมไทยตอนที่หนึ่งว่าด้วยจุลินทรีย์ที่เป็นตัวการในแหนม วิทยานิพนธ์ปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพมหานคร.
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 84 (2527). เรื่องวัตถุเจือปนอาหาร.
เลาห์เรณู, ไพศาล และโกวิทย์ นุชประมูล. (2515). การถนอมอาหารพวกแหนมโดยการฉายรังสี รวมบทคัดย่อการประชุมทางวิชาการเกษตรศาสตร์และชีววิทยา สาขาพืช ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร.
รุจนะไกรกานต์, ลักขณา. อรัญ หันพงศ์กิตติกูล และไพโรจน์ วิสัยจารี. (2527). การพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารพื้นบ้านและอาหารหมักจากเนื้อสุกรเพื่อส่งออก. งานวิจัยประเภทเร่งด่วน สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจําปี พ.ศ.2527.
เตชะภิญญาวัฒน์, สมบุญ. (2518). การศึกษาจุลินทรีย์ที่เป็นตัวการในระหว่างการทําแหนม. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพมหานคร.
A. O. A. C. (1980). Official Methods of Analysis of the Association of Official Analytical chemists. William Horwitz. (Editor.) 12th edition. Association of official Analytical Chemists., Washington.
Brchanan, E.R.E., Gibbon, N.E., Cowan, S.T. Hott, J.G., Liston, J., Murray, R.G.G., Niven, C.E., Ravin, A.W. and Stamler, R.V. (1974). Bergey's Manual of Determinative Bacterilogy. William and Wilkins Co. Balkins Co. Baltimore, U.S.A.
Ockerman, W.H. (1973). Chemistry of Meat Tissue. Dept. of Animal Science. The Ohio State Univ. and the Ohio Agricuttural Research and Development Centre.
Oldfield, S. (1984). Meat Processing, Manufactind Meatse, Dept. of Biotechnology, Massey University.
Pearson, D. (1973). Laboratary Techniques in Food Analysis. Butterworth & Co. Ltd.