ผลการใช้เปลือกข้าวโพดฝักอ่อนเปรียบเทียบกับหญ้าขนหรือหญ้าซีตาเรียร่วมกับการให้อาหารข้นเต็มที่ หรือจํากัดอาหารข้นในกระต่ายรุ่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
เปรียบเทียบการใช้เปลือกข้าวโพดฝักอ่อนกับหญ้าขน (Para grass) หรือหญ้าชีตาเรีย (Setaria) ร่วมกับการใช้อาหารข้นเต็มที่และการจำกัดอาหารข้นในกระต่ายรุ่น โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 3 การทดลอง
ในการทดลองที่หนึ่งใช้กระต่ายลูกผสมหย่านมพื้นเมือง X ชิคกา-แซด (Zika-Z) 12 ตัว แบ่งออกเป็น 3 พวก ๆ ละ 4 ตัว โดยพวกแรกเลี้ยงด้วยอาหารข้นเต็มที่ร่วมกับหญ้าขน พวกที่สองเลี้ยงด้วยอาหารข้นเต็มที่ร่วมกับ เปลือกข้าวโพดฝักอ่อน และพวกที่สามเลี้ยงด้วยอาหารข้น 75% ของปริมาณที่กินเต็มที่ร่วมกับเปลือกข้าวโพด ฝักอ่อน ในการทดลองที่สองทําการทดลองเหมือนการทดลองแรก แต่เปลี่ยนจากหญ้าชนเป็นหญ้าชีตาเรีย และเพิ่มสัตว์ทดลองเป็นพวกละ 6 ตัว ในการทดลองที่สาม ใช้กระต่ายลูกผสมพื้นเมือง X ชิคกา-แซด (Zika-Z) เพศผู้จํานวน 6 ตัว หาสัมประสิทธิ์การย่อยได้ของเปลือกข้าวโพดฝักอ่อนและหญ้าชน
ผลปรากฏว่า การทดลองที่ 1 และ 2 ได้ผลสอดคล้องกันคือ ปริมาณอาหารที่กินได้ทั้งหมด (คิดเป็น วัตถุแห้ง) ในแต่ละกลุ่มไม่มีความแตกต่างทางสถิติ ปริมาณโปรตีนที่กินได้มีความแตกต่างกัน (P<0.05 และ P<0. 01 ในการทดลองที่ 1 และ 2 ตามลําดับ) โดยกลุ่มที่ได้รับอาหารข้นเต็มที่ร่วมกับหญ้าขนหรือหญ้าชีตาเรียเต็มที่ จะได้รับโปรตีนสูงกว่า แต่ไม่มีความแตกต่างในระหว่างกลุ่มที่ได้รับอาหารข้นเต็มที่ไม่ว่าจะใช้หญ้าหรือเปลือกข้าวโพดเป็นอาหารหยาบ แต่ไม่มีความแตกต่างระหว่างภายในกลุ่มที่ได้รับอาหารข้นเต็มที่และในกลุ่มที่ได้รับเปลือกข้าวโพดฝักอ่อนเป็นอาหารหยาบไม่ว่าจะได้รับอาหารข้นเต็มที่หรือจํากัดอาหารก็ตาม ในการทดลองที่สาม สัมประสิทธิ์การย่อยได้ของโภชนะส่วนใหญ่ในเปลือกข้าวโพดฝักอ่อนสูงกว่า หญ้าขน (P<0.01) และอยู่ในเกณฑ์ดี (65-71% vs 55-61.1%) ยกเว้น โปรตีน มีค่าต่ำกว่า (P<0.05) โดยในเปลือกข้าวโพดและในหญ้าขนมีค่า 69.20% และ 73.30% ตามลําดับ
การทดลองนี้ชี้ให้เห็นว่า ความชื้นค่อนข้างสูงและปริมาณโปรตีนที่ค่อนข้างต่ำในเปลือกข้าวโพด ทำให้ กระต่ายได้รับโภชนะลดลง ถึงแม้ว่าจะมีความน่ากินสูงก็ตาม การให้อาหารชั้นเต็มที่และใช้เปลือกข้าวโพดฝักอ่อน เป็นอาหารหยาบไม่มีผลเสียหาย แต่ถ้าจะจํากัดอาหารชน 75% ของที่กินเต็มที่ ควรเลี้ยงในกระต่ายที่มีน้ำหนัก มากกว่าหนึ่งกิโลกรัมในกรณีที่ใช้เปลือกข้าวโพดฝักอ่อนเป็นอาหารหยาบ
Article Details
References
ชีวะอิสระกุล, บุญล้อม., ปริพัฒนานนท์, ทิพย์วรรณ (2531). คุณค่าทางอาหารและการใช้ เปลือกและต้นข้าวโพดฝักอ่อนเป็นอาหารสัตว์. การประชุมวิชาการโครงการอาหารสัตว์ ไทย-เยอรมัน เรื่อง “การใช้วัสดุในท้องถิ่นเป็นอาหารสัตว์" ณ โรงแรมเวียงอินทร์ จ.เชียงราย 25-27 พค. 2531.
ไผ่แก้ว, ฉายแสง, ค้าเจริญ, เยาวมาลย์ และนามแดง, พิสมัย (2524). การใช้หญ้าและถั่วร่วมกับอาหารข้นระดับต่ำในการขนกระต่ายส่งตลาด. ประชุมวิชาการ สาขาสัตว์ ครั้งที่ 19 ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ 3-5 กพ. 2524.
โพธิ์ จันทร์, สุมน., โพธิ์จันทร์, ประเสริฐ., ยิ่งมีชัย, สถิต., อินสมใจ, เทอด และโรจนสถิต, เสาวคนธ์ (2530 ก). การใช้เปลือกข้าวโพดฝักอ่อนเป็นอาหารสุกรขุน. ประชุมวิชาการ สาขาสัตว์ ครั้งที่ 25 ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ 3-5 กพ. 2530.โพธิ์ จันทร์, ประเสริฐ., โพธิ์จันทร์, สุมน., ยิ่งมีชัย, สถิต., อินสมใจ, เทอด และโรจนสถิต, เสาวคนธ์ (2530 ข), การใช้เปลือกข้าวโพดฝักอ่อนเลี้ยงแกะ. ประชุมวิชาการ สาขา สัตว์ ครั้งที่ 25 ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ 3-5 กพ. 2530.
A,O.A.C. (1975). Official Methods of Analysis. 12th Edn. Assoc. off. Anal. Chem., Washing ton.
Cheva-Isarakul, Bl. (1982). The quality of residues and by products in Northern Thailand. In the Utilization of Fibous Agricultural Residues as Animal Feeds, p 68-72, ed.P.T. Doyle.
Cheva-Isarakul, Bl. and Paripattananont, T. (1987). The nutritive value of baby corn wase. Paper persented at 7th AAFARR Workshop, Chiang Mai, Thailand, 2-6 June 1987.
Grandi, A. and Marzetti, P. (1981). Digestibility and nutritive value to the rabbit of two types of water hyacinth. Coniglicoltura. 18(12): 19-32. Cited in Nutri. Abst. and Reviews. 52(8) : 490.
Maynard, L.A., Loosli, J.K. and Hintz, H.F. (1979). Animal Nutrition. 7th Ed. McGraw Hill, New York.
Schlolant, W. (1981). The production capacity of rabbits in meat and wool. Anim. Res. and Devel. 14:72-79.
Slade, L.M. and Hintz, H.E. (1969). Comparison of digestion in horses, ponies, rabbits, and quinea pigs. J. Anim. Sci. 28: 842-853.
Suriyajantratong, W. and Tongnipone, V. (1980). Chemical composition of some cannery waste for use as animal feed. Annual Report of the National Buffalo Research and Development Project. p 190-199. Department of Livestock Development. Ministry of Agriculture and Cooperatives. Bangkok, Thailand.