ผลการแบ่งรีดนมโคพื้นเมืองเพื่อบริโภคที่มีต่อคุณภาพน้ำนม ที่รีดได้เละการเจริญพัฒนาของลูกโคระยะกินนม
Main Article Content
บทคัดย่อ
แม่โคพื้นเมืองขาวลําพูน 16 ตัว พร้อมลูกเพศผู้ 8 ตัว และเพศเมีย 8 ตัว แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม แต่ละกลุ่มประกอบด้วยแม่โค 4 ตัว ลูกเพศผู้ 2 ตัว และลูกเพศเมีย 2 ตัว หลังจากคลอดลูก 28 วัน นําแม่ โค 3 กลุ่มแรกมารีดนมนาน 2, 4 และ 6 เดือน โดยรีดนมวันละครั้งตอนเช้า ส่วนแม่โคกลุ่มที่ 4 ไม่นํา มารีดนม หลังรีดนมปล่อยให้แม่โคเลี้ยงลูกได้ตลอดวัน แต่แยกลูกโคทุกกลุ่มจากแม่ช้งไว้ตลอดคืน เมื่อสิ้นสุดการ ทดลองลูกโคมีอายุ 210 วัน ลูกโคที่ไม่นําแม่มารีดนมกับลูกโคที่นําแม่มารีดนม 2, 4 เดือน มีอัตราการเจริญ เติบโตใกล้เคียงกัน (P>.05) คือ 0.247, 0.244 และ 0.233 กก./ วัน ตามลําดับ ส่วนลูกโคจากแม่ที่รีดนม 6 เดือนมีแนวโน้มอัตราการเจริญเติบโต (0.179 กก./วัน) ต่ำกว่ากลุ่มอื่น น้ำหนักตัวแม่โคที่เปลี่ยนแปลงระหว่างการทดลองจนถึงเมื่อลูกโคอายุได้ 210 วัน แตกต่างกันแต่ไม่มีนัยสําคัญทางสถิติ แม่โคที่ไม่นํามารีดนมน้ำหนักเพิ่มขึ้น 2.50 กิโลกรัม แต่แม่โคที่นํามารีดนม 2, 4 และ 6 เดือนมีน้ำหนักลดลง 12.00, 19.75 และ 21.25 กิโลกรัม ตามลําดับ น้ำนมมีไขมันและโปรตีนเฉลี่ย 2.65 และ 4.18 เปอร์เซนต์ ตามลําดับ
Article Details
References
จิตรกร, ประกาย. (2526). นมและผลิตภัณฑ์นม. สมาคมสัตวบาลแห่งประเทศไทย, กรุงเทพฯ
ตันติศิรินทร์, ไกรสิทธิ์. (2525), อิทธิพลของนมต่อการพัฒนาเยาวชน, น. 17 - 18. ใน จันทลักขณา, จรัญ และธัมวาสร, ศรเทพ. (ผู้รวบรวม), นม นม สําหรับชาวบ้าน. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ
ผลารักษ์, กนก. (2510), ความสามารถและลักษณะการให้นมเปรียบเทียบ ระหว่างโคเรดชินดี, โคอินเดียเลือดคละและลูกผสมบราวน์สวิสส์ X ชีบ. วิทยานิพนธ์ปริญญาตรี. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
โพธิกานนท์, นิรันดร. (2529), การผลิตนมดื่มในชนบท. เอกสารเผยแพร่วิชาการเกษตร. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เชียงใหม่.
เฟืองจันทร์, บุญชอบ., โพธิกานนท์, นิรันดร และชัยรัตนายุทธ์, พรศรี. (2531), ปริมาณน้ำนมโคขาวลําพูนที่ได้รับจากวิธีการรีดนม โดยให้ลูกโคกระตุ้นและไม่ให้ลูกโคกระตุ้นก่อนการรีดนม. วารสารเกษตร 4(1) : 1 -7.
วรวรรณ, ชวนิศนดากร. (2509), วัวไทยสําหรับเป็นวัวเนื้อ. วารสารสัตวบาล 15 (7) : 589-599.
สถาบันวิจัยสังคมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2524). ลักษณะทางเศรษฐกิจสังคมและประชากร พ.ศ. 2523 ของอําเภอเสริมงาม จังหวัดลําปาง. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
อุไรกุล, สากล. (2530), สรุปสถานการณ์ปศุสัตว์ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2530. สุกรสาสน์ 14 (54) : 79-84.
Diggins, R.V., Bundy, C.E. and Christensen, V.W. (1979). Dairy Production. 4th ed., Prentice-Hall, Inc., New Jersey.
Duncan, D.B. (1955). Multiple range and multiple F-test. Biometrics 3:1-42.
Eckles, C.H., Combs, W.B. and Macy, H. (1951). Milk and Milk Products. 4th ed., McGraw-Hill Book Company, New York.
Foley, R.C., Bath, D.L., Ickinson, F.N. and Tucher, H. (1972). Dairy Cattle : Principles, Problems, Pro fits. Lea and Febiger, Philadelphia.
McDowell, R.E. (1972). Improvement of Livestock Production in Warm Climates. W.H. Freeman and Company, San Francisco.
Quinn, T. (1980). Dairy Farm Management. Delmar Publishers, New York.
Reaves, P.M. and Henderson, H.O. (1963). Dairy Cattle Feeding and Management. 5th ed., John Wiley and Sons, Inc., New York.
Roy, J. H. B. (1980). The Calf. 4th ed., Butterworths, London.
Steel, R. G. D. and Torrie, J.H. (1980). Principles and Procedures of Statistics. 2nd ed., MeGraw-Hill International Book Company, Auckland.
Vanstone, E. and Dougall, B.M. (1980). Principles of Dairy Science. Cleaver-Hume Press Ltd., London
Villegas, V. (1939). Livestock Industries of Cochin china, Cambodia, Siam and Malays. Philippine Agriculturist 27: 693-725.
Villegas, V. and Cruz, C.E. (1958). Dairy qualities of Philippine cows. Philippine Agriculturist 41 : 459-498.