ผลผลิตในรอบปีของปาล์มน้ำมัน 8 สายพันธุ์ทางการค้า
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาการให้ผลผลิตของปาล์มน้ำมันพันธุ์การค้าอายุ 6 ปี จำนวน 8 สายพันธุ์ ทำการทดลอง ณ สถานีวิจัยท่าเชียด คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.บางแก้ว จ.พัทลุง (ละติจูด 7°36'63.9"N และ ลองจิจูด 100°13'12.2"E ) ทำการทดลองในปี พ.ศ. 2561 พื้นที่ปลูกเป็นที่ลุ่ม น้ำท่วมขัง มีการปรับสภาพพื้นที่โดยการขุดร่องคูระบายน้ำแบบร่องปลูกเดี่ยว วางแผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อกสมบูรณ์ มี 8 กรรมวิธี (สายพันธุ์) ได้แก่ PR, UT, S2, S7, GT, CP, PS และ CR แต่ละกรรมวิธีมีจำนวน 3 ซ้ำ ซ้ำละ 3 ต้น บันทึกลักษณะผลผลิต ได้แก่ จำนวนทะลาย และน้ำหนักทะลาย จำนวน 12 เดือน บันทึกลักษณะการเจริญเติบโตทางลำต้นทุก 4 เดือน จนครบ 1 ปี พบว่า ผลผลิตของปาล์มน้ำมันสายพันธุ์ PR, GT และ PS มีแนวโน้มให้ผลผลิตสูงที่สุด และพบว่า ช่วงเดือนมกราคม กุมภาพันธ์ และมีนาคม มีราคาผลผลิตต่อกิโลกรัมที่สูงกว่าเดือนอื่น ๆ จากการคำนวณรายได้ พบว่า ปาล์มน้ำมันสายพันธุ์ GT ให้รายได้สูงสุดเท่ากับ 11,697.5 บาท รองลงมาคือสายพันธุ์ PR และ PS (11,629.7 และ 11,553.8 บาท ตามลำดับ) การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยลักษณะการเจริญเติบโต พบว่า ความยาวใบย่อย ความกว้างใบ ความหนาทางใบ ขนาดลำต้น และพื้นที่ใบไม่แตกต่างกันทางสถิติระหว่างพันธุ์ ลักษณะผลผลิตน้ำมันของสายพันธุ์ PS ไม่มีความแตกต่างทางสถิติกับสายพันธุ์อื่นแต่มีค่าสูงกว่าสายพันธุ์ PR อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้นจากการพิจารณาลักษณะทั้งหมดจึงควรส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกปาล์มน้ำมันทั้ง 3 พันธุ์นี้ในแปลงเดียวกันเพื่อทำให้มีผลผลิตที่ดีมีคุณภาพ และเพื่อยกระดับรายได้และความมั่นคงให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย
Article Details
References
Corley, R.H.V. and P.B. Tinker. 2003. The Oil Palm. 4th ed. Blackwell Publishing Company, Oxford. 592 p.
Corley, R.V.H. and B.S. Gray. 1976. Yield and yield components. pp. 77-86. In: R.H.V. Corley, J.J. Hardon and B.J. Wood (eds.). Oil Palm Research. Elsevier Scientific Publishing Company, Amsterdam.
Eksomtramage, T. 2015. Oil Palm Breeding. Faculty of Natural Resources. 2nd ed. Prince of Songkla University, Songkhal. 463 p. (in Thai)
Eksomtramage, T. and T. Jantaraniyom. 2015. Oil Palm Handbook. 1st ed. Hatyai Digital Print, Songkhal. 60 p. (in Thai)
Gerritsma, W. and F.X. Soebagyo. 1999. An analysis of the growth of leaf area of oil palms in Indonesia. Experimental Agriculture 35(3): 293-308.
Henson, I.E. 1993. Assessing frond dry matter production and leaf area development in young oil palm. pp. 473-478. In: Proceedings of the 1991 PORIM International Palm Oil Conference - Module 1 (Agriculture). PORIM, Bangi, Malaysia.
Jacquemard, J. C. 1979. Contribution to the study of the height growth of the stems of Elaeis guineensis Jacq. Study of the L2T x D10D cross. Oleagineux 34(11): 492-497.
Jantaraniyom, T. 2018. Farmer Manual: Efficient Oil Palm Production. 1st ed. Oil Palm Research and Development Center, Faculty of Natural Resources, Prince of Songkla University, Songkhla. 123 p. (in Thai)
Office of Agricultural Economics. 2020. Oil palm: Daily purchase price of agricultural products at the central market. [Online]. Available: https://bit.ly/39jB28i (November 18, 2020). (in Thai)
Okoye, M.N., C.O. Okwuagwu and M.I. Uguru. 2009. Population improvement for fresh fruit bunch yield and yield components in oil palm (Elaeis guineensis Jacq.) American-Eurasian Journal of Scientific Research 4(2): 59-63.
R Development Core Team. 2008. R: A Language and Environment for Statistical Computing. R Foundation for Statistical Computing, Vienna.
Sanputawong, S., K. Chansathean, N. Peakchantuk. and C. Chuiruy. 2017. Study of proper fertilizer management on growth and yield of oil palm (Eleais guineensis Jacq.). International Journal of Agricultural Technology 13(7.3): 2631-2639.
Singin, C., W. Rattanasupha and S. Krualee. 2018. Flowering pattern of 3 oil palm cultivars in Thung Yai distrist, Nakhon Si Thammarat province. Songklanakarin Journal of Plant Science 5(4): 1-8. (in Thai)
Soonsuwon, W. 2006. Agricultural research. 1st ed. Agricultural Innovation and Management Division (Plant Science), Faculty of Natural Resources, Prince of Songkla University, Songkhla. 294 p. (in Thai)