ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความต้องการปลูกสตรอว์เบอร์รีอย่างยั่งยืนของเกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

นำโชค บุญมี
พัฒนา สุขประเสริฐ
สุวิสา พัฒนเกียรติ
ศิรส ทองเชื้อ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะพื้นฐานบางประการทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) การจัดการปลูกสตรอว์เบอร์รีตามข้อกำหนดทางวิชาการของเกษตรกร 3) ความต้องการปลูกสตรอว์เบอร์รีอย่างยั่งยืนของเกษตรกร และ 4) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความต้องการปลูกสตรอว์เบอร์รีอย่างยั่งยืนของเกษตรกร ประชากรเป้าหมาย คือ เกษตรกรผู้ปลูกสตรอว์เบอร์รีในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 541 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 230 คน ได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ ใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และหาค่าความสัมพันธ์โดยใช้สถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุ ผลการศึกษา พบว่า 1) เกษตรกรผู้ปลูกสตรอว์เบอร์รี ร้อยละ 74.78 เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 45.73 ปี ร้อยละ 39.57 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.69 คน จำนวนแรงงานปลูกสตรอว์เบอร์รีเฉลี่ย 3.42 คน ขนาดพื้นที่ปลูกสตรอว์เบอร์รีเฉลี่ย 3.04 ไร่ ได้รับผลผลิตเฉลี่ย 2,010.72 กิโลกรัมต่อไร่ มีรายจ่ายในการปลูกสตรอว์เบอร์รีเฉลี่ย 37,994.20 บาทต่อไร่ และรายได้จากการปลูกสตรอว์เบอร์รีเฉลี่ย 66,836.72 บาทต่อไร่ 2) เกษตรกรมีการจัดการปลูกสตรอว์เบอร์รีตามข้อกำหนดทางวิชาการโดยรวมและรายด้านในระดับปฏิบัติบางครั้ง 3) เกษตรกรมีความต้องการปลูกสตรอว์เบอร์รีอย่างยั่งยืนโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีความต้องการในระดับมากที่สุด คือ ด้านสิ่งแวดล้อมและด้านเศรษฐกิจ และ 4) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความต้องการของผู้ปลูกในการปลูกสตรอว์เบอร์รีอย่างยั่งยืน คือ จำนวนแรงงาน การเป็นสมาชิกกลุ่ม/สหกรณ์ และการจัดการการปลูกตามข้อกำหนดทางวิชาการด้านการนำผลไปปรับใช้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Ağir, H.B., G. Saner and H. Adanacioğlu. 2015. Risk sources encountered by farmers in the open field production of strawberry and risk management strategies: a case of Menemen-Emiralem district of Izmir. Journal of Agricultural Sciences 21: 13-25.

Arikunto, S. 2013. Dasar-Dasar Evaluasi Pendidikan. 2nded. Bumi Aksara, Jakarta. 344 p.

Bhrammanachote, W. 2018. The study of an implementation of strawberry farmers to strengthen the community: a case study of Pong Yaeng Nok, Maerim district, Chiang Mai province. Research report. Faculty of Management Sciences, Chiang Mai Rajabhat University, Chiang Mai. 67 p. (in Thai)

Bordeerat, W. 2000. PDCA Cycle to Success. Prachachon Co., Ltd., Bangkok. 18 p. (in Thai)

Chiang Mai Provincial Agricultural Extension Office. 2017. Economic fruit planting area in 2017. Chiang Mai Provincial Agricultural Extension Office, Chiang Mai. 22 p. (in Thai)

Cronbach, L. J. 1951. Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika. 16(3): 297-334.

Ercan, I., B. Yazici, G. Ocakoglu, D. Sigirli and I. Kan. 2007. Review of reliability and factors affecting the reliability. Academic document. Uludag University, Bursa. 22 p.

Romero-Gámez, M. and E.M., Suárez-Rey. 2020. Environmental footprint of cultivating strawberry in Spain. The International Journal of Life Cycle Assessment 25(4): 719-732.

Maitrawattana, S. 2014. Strawberry due to the Royal Initiative. The Crown Property Bureau, Bangkok. 186 p. (in Thai)

National Bureau of Agricultural Commodity and Food Standards. 2020. Seminar project to brainstorm on the draft agricultural standards on strawberry. Project document. National Bureau of Agricultural Commodity and Food Standards, Bangkok. 4 p. (in Thai)

Panjaruang, S., B. Keowan and S.K. Sanserm. 2014. Strawberry production adhering to good agricultural practice by farmers in Samoeng district of Chiang Mai province. pp. 1-11. In: Proceedings of 5th STOU Graduate Research Conference, Sukhothai Thammathirat Open University, Nonthaburi. (in Thai)

Pipattanawong, N., H. Akagi, W. Tacha, B. Thongyeun and S. Tiwong. 2011. Strawberry Pharachatan 80 varieties. Kasetsart Extension Journal 56(1): 22-28. (in Thai)

Office of the National Economic and Social Development Council. 2021. Sustainable Development Goals. (Online). Available: https://sdgs.nesdc.go.th/about-sdgs (May 28, 2021). (in Thai)

Saetiew, P., P. Nilvises and B. Keowan. 2013. Application of good agricultural practice in melinjo production of farmers in Raj Good Sub-district, Muang district, Ranong province. pp. 2861-2869. In: Proceedings of 10th National Kasetsart University Kamphaeng Saen Conference, Kasetsart University, Nakhon Pathom province. (in Thai)

Supamala, S. 2006. Farmers needs on strawberry production technology at Tambon Borkeaw, Amphoe Samoeng, Changwat Chiang Mai. M.S. Thesis. Kasetsart University, Bangkok. 113 p. (in Thai)

Wichachoo, P. 2013. Safe Strawberry. Kasikorn Newspaper 86(2): 44-51. (in Thai)

Yamane, T. 1973. Statistics: An Introductory Analysis. 3rd ed. Harper and Row, New York. 1130 p.