การคัดเลือกแม่พันธุ์ที่มีลักษณะการผสมตัวเองไม่ติดเพื่อการปรับปรุงพันธุ์ผักกาดเขียวปลีลูกผสม

Main Article Content

ธีรวัฒน์ สีทอง
มณีฉัตร นิกรพันธุ์
ณัฐา โพธาภรณ์
จานุลักษณ์ ขนบดี
จุฑามาส คุ้มชัย

บทคัดย่อ

เมล็ดพันธุ์ลูกผสมของผักกาดเขียวปลียังไม่มีการผลิตภายในประเทศไทยได้ ฉะนั้น เมล็ดที่ใช้ในการผลิตต้องส่งโรงงานแปรรูปผักกาดดอง จึงเป็นเมล็ดนำเข้าจากต่างประเทศ การผลิตลูกผสมสามารถทำได้หลายวิธี และการใช้ลักษณะการผสมตัวเองไม่ติดเป็นสายพันธุ์แม่ก็เป็นอีกวิธีที่นิยมใช้สำหรับผลิตเมล็ดพันธุ์ลูกผสมในพืชวงศ์กะหล่ำ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดเลือกสายพันธุ์แท้ที่มีลักษณะการผสมตัวเองไม่ติดเป็นสายพันธุ์แม่สำหรับการผลิตเมล็ดพันธุ์ลูกผสม และประเมินพันธุ์ลูกผสมที่มีลักษณะตรงตามความต้องการของโรงงาน ผลการประเมินพบว่า 4OR-17, 2M-23 และ 19H9-9 เป็นสายพันธุ์ที่มีการผสมตัวเองไม่ติดปานกลาง การประเมินพันธุ์เมล็ดพันธุ์ลูกผสม 6 คู่ผสม พบว่า คู่ผสม 19H16x2M-3(H6) ให้ผลผลิต 2,935 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับสายพันธุ์พ่อและแม่ อย่างไรก็ตามขนาดปลีหลังการตัดแต่งมีขนาดใหญ่กว่าความต้องการสำหรับการแปรรูป ในขณะที่คู่ผสม 2M-23x4OR-17(H4) ให้ผลผลิต 2,726 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งไม่แตกต่างกับพันธุ์การค้า และมีน้ำหนักปลีหลังตัดแต่งเท่ากับ 342 กรัมต่อปลี ความยาวของปลี 7.9 เซนติเมตร และความกว้างของปลี 8.0 เซนติเมตร จึงเป็นคู่ผสมที่เหมาะสำหรับการแปรรูป เนื่องจากมีน้ำหนักผลผลิตสูง รวมทั้งมีขนาดของปลี และความแน่นปลีที่ดี เหมาะสำหรับการแปรรูป อีกทั้งยังมีค่าความดีเด่นของลูกผสมในด้านลักษณะของผลผลิตต่อไร่ และดัชนีปลีในทางบวก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bahrain, A., M.A. Islam, M.S. Naher, A. Kakon and M.M. Hossain. 2017. Investigation of self-incompatibility in mustard through seed set analysis. Journal of Scientific Achievements 2(5): 12-17.

Chen, S., M.N. Nelson, A.M. Chèvre, E. Jenczewski, Z. Li, A.S. Mason, J. Meng, J.A. Plummer, A. Pradhan, K.H.M. Siddique, R.J. Snowdon, G. Yan, W. Zhou and W.A. Cowling. 2011. Trigenomic bridges for Brassica improvement. Critical Reviews in Plant Sciences 30(6): 524-547.

Chen, X., W. Sorajjapinun, S. Reiwthongchum and P. Srinives. 2003. Identification of parental mungbean lines for production of hybrid varieties. Chiang Mai University Journal of Natural Sciences 2(2): 97-105.

Claessen, H., W. Keulemans, B.V. Poel and N.D. Storme. 2019. Finding a compatible partner: self-incompatibility in european pear (Pyrus communis); molecular control, genetic determination, and impact on fertilization and fruit set. Frontiers in Plant Science 10: 1-17.

Dar, Z.A., S.A. Wani, M.A. Wani, M. Gulzaffar, H. Khan, M. Habib, Z. Ahmed and A. Ishfaque. 2011. Heterosis and combining ability analysis for seed yield and its attributes in Brassica rapa ssp. brown sarson. Journal of Oilseed Brassica 2(1): 21-28.

IBPGR. 1981. Family Cruciferae. International Board for Plant Genetic Resources (IBPGR), Rome. 49 p.

Kaur, S., R. Kumar, S. Kaur and V. Singh. 2021. Combining ability for yield and its contributing characters in Indian mustard. Journal of Oilseed Brassica 12(1): 32-37.

Kho, Y.O. and J. Baer. 1968. Observing pollen tubes by means of fluorescence. Euphytica 17: 298-302.

Kitashiba, H. and J.B. Nasrallah. 2014. Self-incompatibility in Brassicaceae crops: lessons for interspecific incompatibility. Breeding Science 64(1): 23-37.

Kokubun, H., M. Nakano, T. Tsukamoto, H. Watanabe, G. Hashimoto, E. Marchesi, L. Bullrich, I.L. Basualdo, T. Kao and T. Ando. 2006. Distribution of self-compatible and self-incompatible populations of Petunia axillaris (Solanaceae) outside Uruguay. Journal of Plant Research 119: 419-430.

Nikornpun, M. 2001. Cauliflower. Department of Horticulture, Faculty of Agriculture, Chiang Mai University, Chiang Mai. 208 p. (in Thai)

Opena, R.T., C.G. Kuo and J.Y. Yoon. 1988. Breeding and Seed Production of Chinese Cabbage in the Tropics and Subtropics. Technical Bulletin No.17. Asian Vegetable Research and Development Center (AVRDC), Shanhua, Tainan. 92 p.

Purseglove, J.W. 1968. Tropical Crops: Dicotylendons 1. Longmans, Green & Co. Ltd., London. 332 p.

Siyal, A.L. 2019. Hybrid seed production its methods & benefits. (Online). Available: https://www.researchgate.net/publication/334973949_Hybrid_Seed_Production_Its_Methods_benefits (June 20, 2021).