การใช้ก๊าซชีวภาพจากมูลสัตว์เป็นพลังงานทดแทนสำหรับเครื่องยนต์ของเครื่องบดข้าวโพดแบบ Hammer Mill
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิภาพการใช้ก๊าซชีวภาพเป็นพลังงานของเครื่องยนต์บดเมล็ดข้าวโพดขนาดเล็ก โดยเบื้องต้นทำการทดลองที่ฟาร์มปศุสัตว์ งานวิจัยและพัฒนาปศุสัตว์ มูลนิธิโครงการหลวง พบว่าก๊าซชีวภาพที่ผลิตจากมูลลูกไก่มีก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) 1,610 ± 26.46 ppm หลังผ่านชุดกรองก๊าซ H2S ที่ทำด้วยเม็ดตัวกลางเคลือบ ferric hydroxide แล้วเหลือเท่ากับ 2.33 ± 0.58 ppm หรือกรองให้ก๊าซชีวภาพบริสุทธิ์ได้ถึง 99.86 % เมื่อนำก๊าซชีวภาพที่ได้ไปใช้กับเครื่องยนต์ขนาด 6.5 แรงม้า (hp) เพื่อฉุดชุดค้อนตี (hammer mill) ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6, 8 และ 10 นิ้ว พบว่า ชุดค้อนตี 8 นิ้ว สามารถบดเมล็ดข้าวโพดได้มากกว่า 6 และ 10 นิ้ว อย่างมีนัยสำคัญ (P < 0.01) และมีปริมาณการใช้ก๊าซชีวภาพรวมทั้งค่าใช้จ่ายในการบดน้อยกว่าอีกด้วย (10.473 vs. 17.163 และ 38.259 ลิตรต่อกิโลกรัมข้าวโพด และ 54.19 vs. 101.11 และ 125.60 บาทต่อ100 กิโลกรัมข้าวโพด ตามลำดับ; P < 0.01) ในขณะที่ความเร็วรอบของชุดค้อนตีขนาด 10 นิ้ว มีค่าต่ำกว่า 6 และ 8 นิ้วอย่างมีนัยสำคัญ อีกทั้งยังใช้ก๊าซชีวภาพมากกว่าขนาด 8 และ 6 นิ้ว (P < 0.01) เมื่อนำเครื่องยนต์ไปใช้งานจริงและประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ในชุมชนโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงแม่สอง จังหวัดตาก โดยสร้างถุงหมักก๊าซชีวภาพขนาด 8 ลูกบาศก์เมตร จำนวน 2 ถุง ที่บ้านของผู้เลี้ยงสุกรขุนและพ่อแม่พันธุ์ จำนวน 25 - 35 ตัว พบว่า สามารถผลิตก๊าซชีวภาพได้แม้จะอยู่บนพื้นที่สูง 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล และสามารถใช้เป็นพลังงานทดแทนสำหรับเครื่องยนต์บดเมล็ดข้าวโพดได้ โดยผู้ใช้งานมีความพึงพอใจในระดับ “มากที่สุด” มีคะแนนเฉลี่ย 4.76 จากคะแนนเต็ม 5
Article Details
References
Al Mamun, M.R. and S. Torii. 2015. Removal of hydrogen sulfide (H2S) from biogas using zero-valent iron. Journal of Clean Energy Technologies 3(6): 428-432.
Kristoferson, L. A. and V. Bokalders. 1991. Renewable Energy Technologies: Their Applications in Developing Countries. ITDG Publishing, London. 326 p.
Kulkarni, M.B. and P.M. Ghanegaonkar. 2019. Hydrogen sulfide removal from biogas using chemical absorption technique in packed column reactors. Global Journal of Environmental Science and Management 5(1): 155-166.
Landahl, G. 2003. Biogas as Vehicle Fuel: A European Overview. Trendsetter Report No. 2003:3. Stockholm Environment Administration, Stockholm. 51 p.
Persson, M. 2007. Biogas upgrading and utilization as vehicle fuel. pp. 59-64. In: Proceedings of European Biogas Workshop: The Future of Biogas in Europe III, University of Southern Denmark, Esbjerg, Denmark.
Songsee, O. 2012. Production of biogas as a renewable energy source for small farm engines. Final report. Ministry of Science and Technology, Bangkok. 77 p. (in Thai)
Steel, R.G.D., J.H. Torrie and D.A. Dickey. 1997. Principles and Procedures of Statistics: A Biometrical Approach. 3rd ed. McGraw-Hill Book Co. Inc., New York. 666 p.
Tangtaweewipat, S., O. Songsee and B. Cheva-Isarakul. 2012. Diminishing of hydrogen sulfide from biogas for community use. Khon Kaen Agriculture Journal 40 (Suppl. 2): 201-204. (in Thai)
Tangtaweewipat, S., O. Songsee, B. Cheva-Isarakul and K. Puakchareon. 2020. Use of biogas from swine manure as a renewable energy to produce electricity in community of Highland Development Project using the Royal Project Model. Journal of Agriculture 36(3): 365-375. (in Thai)
Tangtaweewipat, S., O. Songsee, B. Cheva-Isarakul, P. Polperm and S. Chaimanee. 2011. Research and development on efficiency of biogas production for small farm holders in highland area. Final report. Highland Research and Development Institute (Public Organization), Chiang Mai. 88 p. (in Thai)
Tangtaweewipat, S., O. Songsee, B. Cheva-Isarakul, K. Puakchareon, W. Thantharak and K. Umetsu. 2019. Use of biogas as a renewable energy source for producing electricity on highland area. Khon Kaen Agriculture Journal 47 (Suppl. 2): 397-404. (in Thai)