การใช้ก๊าซชีวภาพจากมูลสัตว์เป็นพลังงานทดแทนสำหรับเครื่องปั๊มน้ำขนาดเล็กในพื้นที่มูลนิธิโครงการหลวง

Main Article Content

สุชน ตั้งทวีวิพัฒน์
องอาจ ส่องสี
บุญล้อม ชีวะอิสระกุล
กัญญารัตน์ พวกเจริญ
คาซูทากะ อูเมทสุ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประยุกต์ใช้ก๊าซชีวภาพเป็นพลังงานทดแทนน้ำมันแก๊สโซลีน หรือแก๊สโซฮอล์ 95 กับเครื่องยนต์สำหรับการปั๊มน้ำ ทำการศึกษาที่ฟาร์มของเกษตรกร มูลนิธิโครงการหลวง ที่อยู่ในระดับความสูงจากน้ำทะเลปานกลาง 3 ระดับ คือ น้อยกว่า 800, 800-1,000 และมากกว่า 1,000 เมตร โดยก๊าซชีวภาพที่นำมาใช้กับเครื่องยนต์ ผลิตจากมูลลูกไก่และมูลสุกรพ่อแม่พันธุ์เลี้ยงด้วยอาหารสำเร็จรูปทางการค้า มูลสุกรพ่อแม่พันธุ์ที่เลี้ยงด้วยอาหารสำเร็จรูปผสมรำละเอียดกับผักพื้นบ้าน และจากมูลสุกรขุนที่เลี้ยงด้วยอาหารสำเร็จรูป ตามลำดับ พบว่า ก๊าซชีวภาพมีส่วนประกอบของก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) หรือก๊าซไข่เน่า 1,616.67, 776.67 และ 1,533.33 ppm ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง (P<0.01) ตามชนิดและปริมาณของมูลสัตว์ รวมทั้งอาหารที่ใช้เลี้ยงต่างกันด้วย โดยชุดกรองซึ่งประกอบด้วยเม็ดตัวกลางเคลือบด้วยเฟอริกไฮดรอกไซด์ [Fe(OH)3] บรรจุในกล่องอะลูมิเนียมขนาด 15x60x60 เซนติเมตร สามารถกำจัดก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ได้ 99.84-100% เมื่อนำไปใช้กับเครื่องยนต์ปั๊มน้ำ พบว่า สามารถใช้งานได้ตามความต้องการของเกษตรกร คือ 55.25, 22.50 และ 68.50 นาทีต่อวัน (P<0.01) ช่วยลดค่าใช้จ่ายได้ 47.02, 19.15 และ 58.29 บาทต่อวัน ตามลำดับ (P<0.01) สรุปได้ว่า ก๊าซชีวภาพผลิตได้แม้จะอยู่ในที่สูง 1,000 เมตร และยังสามารถใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อเป็นแหล่งพลังงานทดแทนสำหรับเครื่องปั๊มน้ำในฟาร์มเกษตรกรบนพื้นที่สูงได้ โดยเกษตรกรผู้ใช้งานเครื่องยนต์มีความพึงพอใจในระดับ “มากที่สุด” ซึ่งมีคะแนนเฉลี่ย 4.65 จากคะแนนเต็ม 5

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Al Mamun, M.R. and S. Torii. 2015. Removal of hydrogen sulfide (H2S) from biogas using zero-valent iron. Journal of Clean Energy Technologies 3(6): 428-432.

Amaral, A.C., A. Kunz, R.L.R. Steinmetz, L.A. Scussiato and D.C. Tapparo. 2015. Anaerobic digestion of swine manure: Stratified production units and its biogas potential. pp. 343-346. In: Proceedings of the IV Symposium on Agricultural and Agroindustrial Waste Management. Rio de Janeiro, Brazil.

Kulkarni, M.B. and P.M. Ghanegaonkar. 2019. Hydrogen sulfide removal from biogas using chemical absorption technique in packed column reactors. Global Journal of Environmental Science and Management 5(1): 155-166.

Songsee, O. 2012. Production of biogas as a renewable energy source for small farm engines. Final report. Ministry of Science and Technology, Bangkok. 77 p. (in Thai)

Steel, R.G.D., J.H. Torrie and D.A. Dickey. 1997. Principles and Procedures of Statistics: A Biometrical Approach. 3rd ed. McGraw-Hill Book Co. Inc., New York. 666 p.

Tangtaweewipat, S., O. Songsee and B. Cheva-Isarakul. 2012. Diminishing of hydrogen sulfide from biogas for community use. Khon Kaen Agriculture Journal 40(Suppl. 2): 201-204. (in Thai)

Tangtaweewipat, S., K. Puakchareon, O. Songsee and B. Cheva-Isarakul. 2021. Use of biogas from animal feces as a renewable energy for engine of a corn hammer mill. Journal of Agriculture 37(3): 225-263. (in Thai)

Tangtaweewipat, S., O. Songsee, B. Cheva-Isarakul and K. Puakchareon. 2020. Use of biogas from swine manure as a renewable energy to produce electricity in community of Highland Development Project using the Royal Project Model. Journal of Agriculture 36(3): 365-375. (in Thai)

Tangtaweewipat, S., B. Cheva-Isarakul, O. Songsee, W. Thantharak and K. Puakchareon. 2018. Biogas production for decreasing environmental problems and using as an energy source in kitchen. 8th ed. Trio Advertising & Media Co. Ltd., Chiang Mai. 36 p. (in Thai)

Tangtaweewipat, S., O. Songsee, B. Cheva-Isarakul, P. Polperm and S. Chaimanee. 2011. Research and development on efficiency of biogas production for small farm holders in highland area. Final report. Highland Research and Development Institute (Public Organization), Chiang Mai. 88 p. (in Thai)

Tangtaweewipat, S., O. Songsee, B. Cheva-Isarakul, T. Songkun and A. Seepai. 2009. Biogas production for decreasing environmental problems and being as a renewable energy source in small farm holders. Final report. Ministry of Science and Technology, Bangkok. 221 p. (in Thai)

Tangtaweewipat, S., O. Songsee, B. Cheva-Isarakul, K. Puakchareon, W. Thantharak and K. Umetsu. 2019. Use of biogas as a renewable energy source for producing electricity on highland area. Khon Kaen Agriculture Journal 47(Suppl. 2): 397-404. (in Thai)