การคัดเลือกข้าวก่ำเพื่อธาตุเหล็กในเมล็ดและผลผลิตสูงในลูกผสมชั่วที่ 4 ถึงชั่วที่ 5 ระหว่างข้าวพันธุ์ก่ำหอม มช. และข้าวปทุมธานี 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
ธาตุเหล็กเป็นแร่ธาตุที่มีความสำคัญต่อสุขภาพและร่างกายมนุษย์ ซึ่งข้าวนับเป็นอาหารหลักที่เป็นแหล่งพลังงานที่ประชากรส่วนใหญ่นิยมบริโภค แต่กลับพบว่ามีปริมาณธาตุเหล็กที่มีความจำเป็นต่อร่างกายน้อยกว่าธัญพืชชนิดอื่น ๆ ดังนั้น การเพิ่มธาตุเหล็กในเมล็ดข้าวจึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการแก้ปัญหาการขาดธาตุเหล็กของผู้บริโภคข้าว การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดเลือกสายพันธุ์ข้าวที่มีปริมาณธาตุเหล็กในเมล็ดสูง มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีดำ และให้ผลผลิตสูง โดยคัดเลือกจากประชากรลูกผสมชั่วที่ 3 ระหว่างข้าวเหนียวก่ำหอม มช. ที่เป็นพันธุ์ข้าวไวต่อช่วงแสง มีปริมาณธาตุเหล็กในเมล็ดสูง และข้าวเจ้าปทุมธานี1 ซึ่งเป็นพันธุ์ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสงและให้ผลผลิตสูง จำนวน 20 สายพันธุ์ มาเป็นประชากรตั้งต้น ปลูกคัดเลือกชั่วที่ 4 ในฤดูนาปรัง พ.ศ. 2561 ในสภาพนาสวน แบบต้นต่อแถว บันทึกวันออกดอก ความสูงต้น น้ำหนักเมล็ดต่อต้น สีเยื่อหุ้มเมล็ด และวิเคราะห์ปริมาณธาตุเหล็กในเมล็ดข้าวกล้อง หลังจากนั้นคัดเลือกต้นที่มีปริมาณธาตุเหล็กในเมล็ดสูง ปลูกคัดเลือกต่อในชั่วที่ 5 ในฤดูนาปี พ.ศ. 2561 ปลูกและจัดการเช่นเดียวกับชั่วที่ 4 โดยสามารถคัดเลือกต้นที่มีธาตุเหล็กในเมล็ดสูง เยื่อหุ้มเมล็ดสีดำ และให้ผลผลิตสูง ได้ทั้งหมด 6 ต้น มีธาตุเหล็กในเมล็ดข้าวกล้องระหว่าง 13.3 - 17.5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ที่มีธาตุเหล็กสูงกว่าพันธุ์พ่อปทุมธานี 170 - 224% มีผลผลิตอยู่ระหว่าง 24.6 - 47.2 กรัมต่อต้น ซึ่งทุกสายพันธุ์มีผลผลิตมากกว่าพันธุ์แม่ก่ำหอม มช. 171 - 328% และมีเยื่อหุ้มเมล็ดสีดำตรงตามวัตถุประสงค์ สายพันธุ์ที่คัดเลือกได้ในการศึกษาครั้งนี้สามารถใช้เป็นแหล่งพันธุกรรมที่สำคัญ เพื่อพัฒนาข้าวสายพันธุ์ใหม่ที่มีปริมาณธาตุเหล็กในเมล็ดข้าวกล้องสูง มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีดำและมีผลผลิตสูงได้ในอนาคต
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Graham, R.D., R.M. Welch and H.E. Bouis. 2001. Addressing micronutrient malnutrition through enhancing the nutritional quality of staple foods: Principles, perspectives and knowledge gaps. Advances in Agronomy 70: 77-142.
Gregorio, G.B., D. Senadhira, H. Htut and R.D. Graham. 2000. Breeding for trace mineral density in rice. Food and Nutrition Bulletin 21(4): 382-386.
Jaksomsak, P. 2007. Genetic control of iron content in rice grain. M.S. Thesis. Chiang Mai University, Chiang Mai. 93 p. (in Thai)
Karladee, D. 2002. Behavior of gene controlling iron accumulation in F1 rice seed. Journal of Agriculture 18(2): 119-123. (in Thai)
Kearsey, M.J. and H.S. Pooni. 1996. The Genetical Analysis of Quantitative Traits. 1st ed. Chapman and Hall, London. 396 p.
Khodruankeaw, T., C.T. Prom-u-thai., T. Pusadee and S. Jamjod. 2020. Evaluation of progeny population between upland rice KumHomMorChor and photoperiod insensitive rice varieties. Khon Kaen Agriculture Journal 48(3): 535-546. (in Thai)
Mackill, D.J. 1995. Classifying japonica rice cultivars with RAPD markers. Crop Science 35(3): 889-894.
Oka, H. 1974. Analysis of genes controlling F1 sterility in rice by the use of isogenic lines. Genetics 77(3): 521-534.
Prom-u-thai, C. 2003. Iron (Fe) in rice grain. Ph.D. Thesis. Chiang Mai University, Chiang Mai. 227 p.
Sawangwongsin, S. 1998. The application of protection motivation theory and group process for iron deficiency anemia prevention behaviors among pregnant women attending natal care service at Pranungklao Hospital in Nonthaburi province. M.S. Thesis. Mahidol University, Bangkok. 196 p. (in Thai)
Somboon, P., C.T. Prom-u-thai., T. Pusadee and S. Jamjod. 2017. Gene segregation for anthocyanin contents in F2 population between purple glutinous rice from highland and Pathum Thani 1 grown at lowland and highland locations. Journal of Agriculture 33(3): 323-332. (in Thai)
Wanachiwanawin, W. 2016. Look for risk factors to diagnose iron deficiency anemia. Journal of Hematology and Transfusion Medicine 26(1): 7-8. (in Thai)
Wongput, C. 2019. Selection of purple rice lines for photoperiod insensitivity during F4 to F6 generations between Kum Doi Saket and Pathum Thani 1. M.S. Thesis. Chiang Mai University, Chiang Mai. 64 p. (in Thai)
Zarcinas, B.A., B. Cartwright and L.R. Spouncer. 1987. Nitric acid digestion and multi-element analysis of plant material by inductively coupled plasma spectrometry. Communications in Soil Science and Plant Analysis 18(1): 131-146.