การประเมินประชากรลูกผสมระหว่างข้าวก่ำพันธุ์แสง 5 ที่มีสารฟีนอลสูงในเมล็ด กับข้าวพันธุ์สมัยใหม่ปทุมธานี 1

Main Article Content

พัทธพล ต้นกิ่ง
ชนากานต์ เทโบลต์ พรมอุทัย
ต่อนภา ผุสดี
ศันสนีย์ จำจด

บทคัดย่อ

ข้าวก่ำพันธุ์แสง 5 เป็นข้าวที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีม่วงดำและมีปริมาณสารฟีนอลในเมล็ดสูงซึ่งได้คัดเลือกสายพันธุ์บริสุทธิ์มาจากพันธุ์พื้นเมืองท้องถิ่นบนพื้นที่สูงในภาคเหนือของประเทศไทย โดยสารประกอบฟีนอลถือเป็นสารสำคัญที่พบมากในข้าวก่ำซึ่งมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระและลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคเรื้อรังสำคัญต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม ข้าวพันธุ์แสง 5 เป็นข้าวพันธุ์พื้นเมืองที่มีผลผลิตต่ำเมื่อเทียบกับข้าวพันธุ์ปรับปรุงสมัยใหม่ ดังนั้น เพื่อปรับปรุงพันธุ์ข้าวแสง 5 ให้มีผลผลิตสูงขึ้นจึงได้ผสมพันธุ์กับข้าวขาวพันธุ์ปรับปรุงสมัยใหม่พันธุ์ปทุมธานี 1 การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินลักษณะทางพืชไร่ของลูกผสมชั่วที่ 1 และชั่วที่ 2 และเพื่อคัดเลือกต้นที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีดำที่มีปริมาณสารฟีนอลสูงจากประชากรลูกผสมชั่วที่ 2 โดยปลูกลูกผสมชั่วที่ 1 ในฤดูนาปี พ.ศ. 2560 ผลการทดลองพบว่า ลูกผสมชั่วแรกมีลักษณะทางพืชไร่ส่วนใหญ่และผลผลิตต่อต้นอยู่ระหว่างพ่อแม่ ยกเว้นลักษณะความสูงที่มากกว่าพันธุ์พ่อแม่ส่วนเปอร์เซ็นต์การติดเมล็ดน้อยกว่าพันธุ์พ่อแม่ ปลูกประชากรชั่วที่ 2 จำนวน 280 ต้น คัดเลือกต้นที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีดำได้ 129 ต้น นำไปประเมินลักษณะทางพืชไร่ พบว่า ลักษณะทางพืชไร่กระจายตัวนอกเหนือขอบเขตของพ่อแม่ ลูกผสมส่วนใหญ่ติดเมล็ดน้อยกว่าพ่อแม่ มีค่าผลผลิตอยู่ระหว่าง 6.2 - 56.5 กรัมต่อต้น ส่วนใหญ่ค่อนไปทางพันธุ์แม่ วิเคราะห์สารฟีนอลในเมล็ดพบว่า มีการกระจายตัวแบบต่อเนื่องตั้งแต่ 28 ถึง 272 มิลลิกรัม กรดแกลลิกสมมูลต่อ 100 กรัม ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างผลผลิตกับปริมาณฟีนอลในเมล็ดข้าว คัดเลือกลูกผสมที่มีค่าปริมาณฟีนอลสูงสุด 8 ต้น มีค่าระหว่าง 199.7 - 272.3 มิลลิกรัม กรดแกลลิกสมมูลต่อ100 กรัม มีผลผลิตระหว่าง 7.6 - 34.2 กรัมต่อต้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่าต้นที่คัดเลือกสามารถใช้เป็นฐานพันธุกรรมในการคัดเลือกในรุ่นต่อไปได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chang, T.T and E.A. Bardenas. 1965. The Morphology and Varietal Characteristics of the Rice Plant. Technical Bulletin 4. The International Rice Research Institute, Laguna.

Folin, O. and V. Ciocalteu. 1927. On tyrosine and tryptophane determinations in proteins. The Journal of Biological Chemistry 73(2): 627-650.

Goffman, F.D. and C.J. Bergman. 2004. Rice kernel phenolic content and its relationship with antiradical efficiency. Journal of the Science of Food and Agriculture 84(10): 1235-1240.

Jaksomsak, P. 2007. Genetic control of iron content in rice grain. M.S. Thesis. Chiang Mai University, Chiang Mai. 93 p. (in Thai)

Jamjod, S., C. Thebault Prom-u-thai, N. Yimyam and S. Lordkaew. 2015. Collection, evaluation and characterization for special quality in Thai rice varieties from Chiang Mai, Chiang Rai and Mae Hong Son provinces. Final report. Lanna Rice Research Center, Chiang Mai University, Chiang Mai. 71 p. (in Thai)

Kaladee, D., P. Pongpiachan and S. Jamjod. 2000. Genetics, breeding and agriculture nutritional immunity of purple rice (Oryza sativa L.). Final report Science and Technology Research Institute. Chiang Mai University. Chiang Mai. 74 p. (in Thai)

Khempet, S. and S. Jongkaewwattana. 2012. Comparison of Agronomic Characteristics and Total Phenolic Content of Native Purple Glutinous Rice. Chiang Mai University Journal of Natural Sciences (Special Issue on Agricultural & Natural Resources) 11(1): 359-369.

Khodruankeaw, T., C. Thebault Prom-u-thai, T. Pusadee and S. Jamjod. 2020. Evaluation of progeny population between upland rice KumHomMorChor and photoperiod insensitive rice varieties. Khon Kaen Agriculture Journal 48(3): 535-546. (in Thai)

Min, B., L. Gu, A.M. Mc Clung, C.J. Bergman and M.H. Chen. 2012. Free and bound total phenolic concentrations, antioxidant capacities, and profiles of proanthocyanidins and anthocyanins in whole grain rice (Oryza sativa L.) of different bran colours. Food Chemistry 133(3): 715-722.

Pham, V.H. 2016. Phenolic compounds of cereals and their antioxidant capacity. Critical Reviews in Food Science and Nutrition 56(1): 25-35.

Plant Varieties Protection Office. 2020. Advertisement of a request for the certificate of a new plant variety registration according to the Plant Varieties Protection Act, B.E. 1975. (Online). Available: https://www.doa.go.th/pvp/wp-content/uploads/2020/11/AnnoDOA_Public233.pdf (August 5, 2021). (in Thai)

Rungwattanapong, T. 2011. Relationship between anthocyanin total phenolic content and antioxidant activities of local purple glutinous rice. M.S. Thesis. Chiang Mai University, Chiang Mai. 83 p. (in Thai)

Somboon, P., C. Thebault Prom-u-thai, T. Pusadee and S. Jamjod. 2017. Gene segregation for anthocyanin contents in F2 population between purple glutinous rice from highland and Pathum Thani 1 grown at lowland and highland locations. Journal of Agriculture 33(3): 323-332. (in Thai)

Xiao, J, C. Wu, Y. He, M. Guo, Z. Peng, Y. Liu, L. Liu, L. Dong, Z. Guo, R. Zhang and M. Zhang. 2020. Rice bran phenolic extract confers protective effects against alcoholic liver disease in mice by alleviating mitochondrial dysfunction via the PGC-1α-TFAM pathway mediated by microRNA-494-3p. Journal of Agricultural and Food Chemistry 68(44):12284-12294.