อิทธิพลของการเสริมแคโรทีนอยด์สังเคราะห์ในอาหารต่อสมรรถภาพการผลิตและสีไข่แดงของเป็ดไข่

Main Article Content

สุพจน์ โกเมนเอก
ชัยภูมิ บัญชาศักดิ์
สมบัติ ประสงค์สุข
ธีรวิทย์ เป่ยคำภา

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของแคโรทีนอยด์สังเคราะห์ในอาหารต่อความเข้มสีไข่แดงของเป็ดไข่ โดยใช้เป็ดไข่พันธุ์กากีแคมเบลล์ (Khaki Campbells) อายุ 23 สัปดาห์จำนวน 1,500 ตัว โดยแบ่งเป็ดทดลองออกเป็น 6 กลุ่ม แต่ละกลุ่มจะมีกลุ่มย่อย 5 กลุ่ม กลุ่มละ 50 ตัว เริ่มทำการทดลองเมื่อเป็ดไข่มีอายุ 26 สัปดาห์ มีการวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (completely randomized design) โดยกลุ่มการทดลองทั้ง 6 กลุ่ม จัดแบ่งตามสูตรอาหาร ดังนี้คือ 1. อาหารพื้นฐาน (ไม่เสริมแคโรทีนอยด์สังเคราะห์) 2. อาหารพื้นฐานเสริมด้วย 150 ppm canthaxanthin ร่วมกับ 100 ppm apo-ester  3. อาหารพื้นฐานเสริมด้วย 150 ppm canthaxanthin ร่วมกับ 150 ppm apo-ester  4. อาหารพื้นฐานเสริมด้วย 150 ppm canthaxanthin ร่วมกับ 1000 ppm 2 % Xanthophyll 5. อาหารพื้นฐานเสริมด้วย 250 ppm canthaxanthin และ 6. อาหารพื้นฐาน เสริมด้วย 250 ppm canthaxanthin ร่วมกับ 150 ppm apo-ester ทำการทดลองเป็นเวลา 4 สัปดาห์ จากการวิจัยพบว่า การเสริมแคโรทีนอยด์สังเคราะห์ในอาหารที่ระดับความเข้มข้นต่างกัน ไม่มีผลต่อประสิทธิภาพการผลิตและคุณภาพของไข่เป็ด (P > 0.05) แต่มีผลต่อระดับความเข้มสีของไข่แดงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(P < 0.01) โดยอาหารพื้นฐานที่เสริมด้วย canthaxanthin 250 ppm มีประสิทธิภาพการให้ค่าความแดงดีที่สุด โดยมีค่าความเข้มสีของไข่แดงสูงที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มอื่นทุกกลุ่ม (P < 0.01) ในขณะที่การเสริมด้วย apo-ester 150 ppm ในอาหารมีประสิทธิภาพการให้ค่าความเหลืองสูงกว่าอาหารที่เสริมด้วยสารสกัดจากดอกดาวเรือง (xanthophyll 2 %) 1000 ppm เมื่อนำไข่เป็ดจากแต่ละหน่วยการทดลองไปต้ม ทำเป็นไข่เค็ม และไข่แดงเค็มแล้ว วิเคราะห์ค่าความเข้มสีของไข่แดง พบว่า ทั้งไข่ต้ม ไข่แดงเค็มต้ม และไข่แดงเค็มยังคงมีค่าความเข้มสีของไข่แดงทางสถิติไปในทิศทางเดียวกันกับสีไข่แดงสด ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าการเสริมแคโรทีนอยด์สังเคราะห์ในอาหารสามารถเพิ่มความเข้มสีของไข่แดงได้อย่างมีประสิทธิภาพตามระดับของสารสังเคราะห์ที่เสริมในอาหาร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Amaya, E., P. Becquet, S. Carné, S. Peris and P. Miralles. 2014. Carotenoids in Animal Nutrition. Fefana ,Brussels. 96 p.

Breithaupt, D.E. 2007. Modern application of xanthophylls in animal feeding - a review. Trends in Food Science & Technology 18(10): 501-506.

Esfahani-Mashhour, M., H. Moravej, H. Mehrabani-Yeganeh and S.H. Razavi. 2009. Evaluation of coloring potential of Dietzia natronolimnaea biomass as source of canthaxanthin for egg yolk pigmentation. Asian-Australasian Journal of Animal Sciences 22(2): 254-259.

Galobart, J., R. Sala, X. Rincón-Carruyo, E.G. Manzanilla, B. Vila and J. Gasa. 2004. Egg yolk color as affected by saponification of different natural pigmenting sources. Journal of Applied Poultry Research 13(2): 328-334.

Grela, E.R., S. Knaga, A. Winiarska-Mieczan and G. Zięba. 2020. Effects of dietary alfalfa protein concentrate supplementation on performance, egg quality, and fatty acid composition of raw, freeze-dried, and hard-boiled eggs from Polbar laying hens. Poultry Science 99(4): 2256-2265.

Lokaewmanee, K., K. Yamauchi, T. Komori and K. Saito. 2011. Enhancement of egg yolk color by paprika combined with a probiotic. Journal of Applied Poultry Research 20(1): 90-94.

Marounek, M. and A. Pebriansyah. 2018. Use of carotenoids in feed mixtures for poultry: a review. Agricultura Tropica et Subtropica 51(3): 107-111.

Maoka, T. 2020. Carotenoids as natural functional pigments. Journal of Natural Medicines 74: 1-16.

Mezzomo, N. and S.R.S. Ferreira. 2016. Carotenoids functionality, sources, and processing by supercritical technology: A review. Journal of Chemistry 3164312, doi: 10.1155/2016/3164312.

Moura, A.M.A., T.V. Melo and D.J.A. Miranda. 2016. Synthetic pigments for Japanese quail fed diets with sorghum. Arquivo Brasileiro de Medicina Veterinária e Zootecnia 68(4): 1007-1014.

Novoveská, L., M.E. Ross, M.S. Stanley, R. Pradelles, V. Wasiolek and J.-F. Sassi. 2019. Microalgal carotenoids: A review of production, current markets, regulations, and future direction. Marine Drugs 17(11): 640, doi: 10.3390/md17110640.

Nys, Y. 2000. Dietary carotenoids and egg yolk coloration. Archiv für Geflugelkunde 64(2): 45-54.

Rezaei, M., S. Zakizadeh and N. Eila. 2019. Effects of pigments extracted from the marigold flower on egg quality and oxidative stability of the egg yolk lipids in laying hens. Iranian Journal of Applied Animal Science 9(3): 541-547.

Santos-Bocanegra, E., X. Ospina-Osorio and E.O. Oviedo-Rondon. 2004. Evaluation of xanthophylls extracted from Tagetes erectus (marigold flower) and Capsicum sp.(red pepper paprika) as a pigment for egg-yolks compare with synthetic pigments. International Journal of Poultry Science 3(11): 685-689.