การตอบสนองของข้าวสาลีต่อชนิดและอัตราปุ๋ยฟอสเฟต

Main Article Content

มานัส แสนมณีชัย
ภิญโญ ศิรินันท์
ชัยวัฒน์ ชวชาติ

บทคัดย่อ

ได้ศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพยองหินฟอสเฟต กับปุ๋ยทริปเปิ้ลซูเปอร์ฟอสเฟต ในการผลิตข้าวสาลีพันธุ์ Inia 66 บนดินชุดสันทราย ภายใต้สภาพไร่ซึ่งมีการชลประทาน โดยทำการใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัสในระดับต่าง ๆ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าปริมาณฟอสฟอรัสที่สกัดได้โดยวิธี Bray II ที่ระดับ 6 ppm. P จะไม่พอเพียงสำหรับข้าวสาลี การเพิ่มฟอสฟอรัสในรูปของปุ๋ยทั้งสองชนิด จะทำให้น้ำหนัก1000 เมล็ด น้ำหนักเมล็ดต่อรวงและผลผลิตของเมล็ดข้าวสาลีเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ประสิทธิภาพของหินฟอสเฟตในการเพิ่มผลผลิตของเมล็ด จะต่ำกว่าปุ๋ยทริปเปิ้ลซูเปอร์ฟอสเฟต 13 % การเติมกรดกำมะถันลงไปในหินฟอสเฟต หรือการใส่ยิบซั่มร่วมกับหินฟอสเฟต จะมีแนวโน้มทำให้ผลผลิตของเมล็ดลดลง ทั้ง ๆ ที่ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในหินฟอสเฟตเพิ่มขึ้น แต่การใส่ปุ๋ยคอกร่วมกับหินฟอสเฟตจะมีแนวโน้มในการเพิ่มผลผลิตของเมล็ด การใส่ปุ๋ยฟอสเฟตจะไม่มีผลต่อปริมาณความเข้มข้นของฟอสฟอรัส (% น้ำหนักแห้ง) ในเมล็ด และตอขัง แต่จะทำให้ปริมาณฟอสฟอรัสจะมีการสะสมในใบธงแตกต่างกันอย่างมาก พบว่าพืชที่แสดงอาการขาดฟอสฟอรัสจะมีการสะสมปริมาณฟอสฟอรัสในใบธงต่ำกว่า 0.22 % ส่วนพืชที่ได้รับฟอสฟอรัสในระดับที่พอเพียงจะมีฟอสฟอรัสในใบธงอยู่ในช่วงที่มากกว่า 0.29 % สำหรับประสิทธิภาพของการใช้ปุ๋ยฟอสเฟตจะอยู่ในช่วงระหว่าง 2.7 - 11.8 % ซึ่งแล้วแต่ชนิดและอัตราปุ๋ย พบว่าการปุ๋ยทริปเปิ้ลซูเปอร์ฟอสเฟตในอัตรา 6.4 กก. (P2O5) ต่อไร่ จะให้ประสิทธิภาพสูงสุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

รายงานผลการค้นคว้า (2519 ) . ผลการตอบสนองของข้าวต่อปุ๋ยฟอสเฟตชนิดต่าง ๆ กองข้าว กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. หน้า 439-448.

แสนมณีชัย มานัส, ภิญโญ ศิรินันท์ และ ชัยวุฒิ นิมมลังกูล (2525). การศึกษาความต้องการธาตุไนโตรเจนและฟอสฟอรัสของข้าวสาลีบนดินชุดสันทราย. การสัมมนาเชิงปฏิบัติการธัญญพืชเมืองหนาว ครั้งที่ 3. วันที่ 9-11 สิงหาคม ณ. สำนักงานเกษตรและสหกรณ์ภาคเหนือ เชียงใหม่. หน้า 241-256 .

Boatwright, G.O. and Haas, H.J. (1961). Development and composition of spring wheat as influenced by nitrigen and phosphorus fertilization. Agron. J. 53 :33-36.

Chaudhary, M.L.., and Mishra, B. (1980). Factors affecting transformation of rock phosphate in soils. J. Indian Soc. Soil Sci. 28:295-301.

Coleman, N.T.; Thrup, J.T.; and Jackson, W.A. (1960). PhosPhate sorption reactions that involve exchangeable aluminum. Soil Sci. 90 :1-7.

khasawneh, F.E., and Doll, E.C. (1978). The use of phosphate rock for direct application to soils. Adv. Agron 30: 159-205.

Lean, E.O.; and Wheeler, R.W. (1964). Partially acidulated rock phosphate as a source of phosphorus to plants: I. Growth chamber studies. Soil Sci. Soc. Amer. Proc. 28: 545-550.

Peaslee, D.E.; Anderson, C.A.; Burns, G.R.; and Black, C.A. (1962). Estimation of relative value of phosphate rock anx superphosphate to plants on different soils. Soil Sci. Soc. Amer. Proc. 26:566-570.

Sampet, Chalermpone. (1978). Comparative dry matter yields and phosphorus content of greenleaf desmodium (Desmodium intortum), in response to rock phosphate, sodium phosphate and sodium sulfate. Thailand - Australian Highland Agricultural Project, Third Report.

Tisdale, S.L. and Nelson, W.L. (1975). Soil Fertility and Fertilizers. 3rd ed. Macmillan Publishing Co., Inc., New York.