วิศวกรรมพันธุศาสตร์กับอุตสาหกรรมอาหาร

Main Article Content

อรัญ หันพงศ์กิตติกูล

บทคัดย่อ

ในอุตสาหกรรมอาหาร ได้มีการนำจุลินทรีย์มาใช้ในขบวนการแปรรูปอาหารหลายชนิด โดยเฉพาะอาหารประเภทหมักดอง การผลิตอาหารแต่ละชนิดจะใช้จุลินทรีย์แตกต่างกันไป การคัดเลือกสายพันธุ์ที่เหมาะสมนั้น ในสมัยก่อนสะใช้วิธีคัดเลือกจากจุลินทรีย์ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ แต่ในปัจจุบันมีความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์สาขาวิชาวิศวกรรมพันธุศาสตร์ ทำให้ทราบกลไกการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมภายในเซลของสิ่งมีชีวิต สามารถแยกหน่วยพันธุกรรมทำให้บริสุทธิ์ได้ และยังสามารถตัดต่อหรือเพิ่มหน่วยพันธุกรรม โดยเฉพาะส่วนที่เรียกว่าดีเอ็นเอได้ด้วย ซึ่งนำมาประยุกต์ใช้คัดเลือกสายพันธุ์จุลินทรีย์ที่เหมาะสมต่อการผลิตสารประกอบต่าง ๆ ที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารหลายชนิด เช่น อุตสาหกรรมการผลิตกรดอะมิโน การผลิตไวตามิน และการผลิตเอ็นไซม์ เป็นต้น


จุลินทรีย์และสิ่งมีชีวิตทั้งมวล เจริญเติบโตโดยสร้างสารต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตออกมาในปริมาณที่พอเหมาะต่อการเจริญเท่านั้น การที่มีการสร้างสารบางอย่างเกินความจำเป็น จะเกิดขึ้นได้น้อยมาก เพราะสิ่งมีชีวิตมีกลไกควบคุมการทำงานของระบบต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ แต่จุลินทรีย์บางชนิดมีการสร้างสารบางอย่างในปริมาณมากได้ เพราะกลไกควบคุมการทำงานระดับโมเลกุลบางชนิดผิดปกติ เข่น Brevibacterium glutamicum สร้างกรดกลูตามิคมาก เพราะกลไกควบคุมการทำงานของเอ็นไซม์หลายอย่างผิดปกติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Batt, A.C. and Sinskey, A.J. (1984). Use of Biotechnology in the Production of Single-cell Protein. Fd. Technol. 38 : 108-111.

Darrington, H. (1983). New Uses for Biotechnology. Fd. Manufacture : 65-71.

Haas, M.J. (1984). Methods and Applications of Genetic Engineering. Fd. Technol. 38 : 69-77.

Hulse, J.H. (1984). Biotechnology : New Horns for an old Dilemma. Fd. Technol. Austraila 36 : 271-277.

Panchal, J., Russell, I., Sills, A.M. and Stewart, G.G. (1984). Genetic Manipulation of Brewing and Related Yeast Strains. Fd. Technol. 38 : 99-106.

White, T.J., Meade, J.H., Shoe maker, S.P., Koths, K.E. and Innis. M.A. (1984). Enzyme Cloning for the Food Fermentation Industry. Fd. Technol. 38 : 90-98.