การศึกษาการใช้น้ำของข้าวนาดำ

Main Article Content

สิทธิพร สุขเกษม
สิทธิชัย ลอดแก้ว

บทคัดย่อ

จากการศึกษาการใช้น้ำของข้าวเหนียวสันป่าตอง และข้าวพันธุ์ กย.6 ณ โครงการวิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระหว่างปี 2526 - 2527โดยใช้ถังวัดการน้ำของพีช (Lysimeter, drainage type) ขนาด 1.2 x 1.2 x 1.0 เมตร ผลปรากฏว่าอัตราการคายระเหยเฉลี่ยตั้งแต่ปักดำจนกระทั่งเก็บเกี่ยว 2 สัปดาห์ ของข้าวเหนียวสันป่าตอง มีค่าเท่ากับ 3.9 และ 5.0 มม. /วัน สำหรับข้าวพันธุ์ กย.6 สัมประสิทธิ์การใช้น้ำของข้าวนาดำมีค่าสูงสุดในระยะที่ข้าวเริ่มออกดอก - ตั้งท้อง คือมีค่า เท่ากับ 1.2 และ 1.6 สำหรับข้าวเหนียวสันป่าตองและข้าวพันธุ์ กย.6 ตามลำดับ ส่วนประสิทธิภาพการใช้น้ำของข้าวนาดำทั้งสองพันธุ์ มีค่าเท่ากับ 2.80 และ 2.30 กก. /ลบ. เมตร เมื่อเทียบน้ำหนักแห้งรวม และมีค่าเท่ากับ 1.13 และ 0.92 กก. /ลบ. เมตร เมื่อเทียบกับผลผลิต ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

บุณยธโลกูล, วิบูลย์. (2526). หลักชลประทาน. ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ .

สุขเกษม, สิทธิพร. (2527 ) .อุณหภูมิอากาศเฉลี่ยประจำวัน ที่ได้จากการวัดโดยตรงการคำนวณและจากโมเดล. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร ปีที่ 1 ฉบับที่ 3. 43 - 52.

สุขเกษม, สิทธิพร และ ราชัน วรรณจักร. (2528) คักยภาพการคายระเหย. วารสารเกษตร (1). 1 : 24 - 41.

Doorenbos, J. and pruitt, W.O. (1977). Guidelines for predicting crop water requirements. FAO Irri. Drain. Paper 24. FAO., Rome.

Doorenbos, J, and Kassam, A.H. (1979). Yield response to water. FAO Irri. Drain. Paper 33. FAO., Rome.

Ekasingh, M. and Suksawad, N. (1975). A study of evapotranspiration rate of rice var. R.D. 9. Multiple Cropping Project : Agri. Tech. Report for 1974 - 75.

Frere, M. and Popov, G.F. (1979). Agrometeorological crop monitoring and forcasting. FAO, Rome.

Jensen, M.E. (1973). Consumptive use of water and irrigation water requirements. American Society of Civil Engineers., New York.

Rosenberg, N.J. (1970). Microclimate : The biological environment. John Wiley & Sons., New York.