การศึกษาเบื้องต้นเพื่อใช้น้ำเวย์จากโรงงานเต้าหู้เลี้ยงจุลินทรีย์

Main Article Content

อรัญ หันพงศ์กิตติกูล
เรณู ปิ่นทอง
ชินอิชิ คิโนชิตะ

บทคัดย่อ

การศึกษาเบื้องต้นนี้ทำขึ้นเพื่อที่จะหาทางใช้ประโยชน์จากน้ำเวย์ ซึ่งได้จากการตกตะกอนแยกเต้าหู้แล้ว โดยเลี้ยงจุลินทรีย์เพื่อผลิต มวลชีวภาพ ก๊าซชีวภาพ ไวตามินบีสอง และเอ็นไซม์เซลลูเลส ผลการทดลองสรุปได้ดังนี้ น้ำเวย์ประกอบด้วยน้ำตาลรีดิวซิ่ง 0.5 มก. /มล. น้ำตาลทั้งหมด 5.5 มก. /มล. กรดอะมิโน 4.1 มก. /มล. และไนโตรเจนทั้งหมด 1.62 มก. /มล. จุลินทรีย์มากกว่า 30 ชนิด แยกได้จากน้ำเต้าหู้เสียเพื่อนำมาเพาะเลี้ยงในน้ำเวย์ไม่เติมสารอื่นใด พบว่าจุลินทรีย์ที่เจริญดีที่สุดคือ ยีสต์ ซึ่งให้ค่า OD 660 เป็น 2.52 หน่วย ภายใน 1 วัน การทดลองผลิตก๊าซชีวภาพจากน้ำเวย์ได้ใช้กากเหลือหลังการหมักก๊าซชีวภาพจากมูลวัวเป็นเยื้อเริ่มต้น วิธีการหมักเป็นแบบกึ่งต่อเนื่อง พบว่าในขวดหมักขนาด1 ลิตร สามารถผลิตกายชีวภาพได้ 200 มล. ภายใน 2 วัน การเลี้ยง Eromothecium ashbyii ในน้ำเวย์เป็นเวลา 5 วัน สามารถผลิตไรโบฟลาวินได้ 0.09 มก. /มล. ในน้ำเวย์ที่เติมกากถั่วเหลือง 11% จะผลิตไรโบฟลาวินได้เป็น 0.92 มก. /มล. และการเสียง Sporotrichum cellulophilum ที่เพาะเลี้ยงในน้ำเวย์เป็นเวลา 5 วัน สามารถผลิตเซลลูเลสได้ 0.78หน่วย/มล. และเมื่อเติมกากถั่วเหลือง 10% จะได้เซลลูเลสเริ่มเป็น 1.28 หน่วย/มล.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Association of Vitamin Chemists. (1966). Methods of Vitamin assay 3rd ed. The Association of Vitamin chemist, Inc. Interscience Publishers, New York.

Dubois, M.; Gilles, K.A.; Hamilton, J.K.; Rebers, P.A.; and Smith, F. (1956). Colorimetric method for determination of sugar and related substances. Anal. Chem. 28 : 350 - 356.

Lowry, O.H.; Rosenbrough, J.J.; Farr, A.L.; and Randall, R.J. (1951). Protein measurement with the Folin-phenol reagent. J. Biol. Chem. 193 : 256 - 275.

Miller, G.L. (1956). Use of dinitrosalicylic acid reagent for the determination of reducing sugar. Anal. Chem.31:426-428.

Sugimoto, H. (1974). Treatment of soybean spent solubles by means of yeast cultivation. J. Food Sci. 39 : 934 - 938.

Wong, M.H. (1985). Cultivation of microalgae in refuse compost and soybean waste extracts. Agricultural wastes. 12 : 225 - 233.

Youngsmith, B. and Apiraktivongnse, P. (1983). Vitamin B12 production from soybean curd whey with Propionibacterium freudenreichii. J. Ferment. Technol. 61 : 105 - 107.