ผลการใช้ใบกระถินแช่น้ำเสริมในอาหารสุกรรุ่น

Main Article Content

ธีระ วิสิทธิ์พานิช

บทคัดย่อ

การนำในกระถินแห่งไปแช่น้ำไหลเป็นเวลา 24 และ 48 ชั่วโมง สามารถลดประมาณสารพิษมีโมซีนลงได้ 89 และ 90 % ของที่มีอยู่ตามลำดับ และจากการทดลองนำใบกระถินแห่งที่ผ่านการแช่น้ำ 24 ชั่วโมงตากแดดให้แห้งแล้วบด ไปเลี้ยงสุกรรุ่นน้ำหนักตัวระหว่าง 30 - 60 กิโลกรัม โดยวิธีการเสริมลงในอาหารในอัตรา 10, 20 และ 30 % เปรียบเทียบกับอาหารสูตรควบคุม ซึ่งมีโปรตีนรวมประมาณ 16 % สุกรที่ใช้ทดลอง เป็นสุกรเพศผู้ตอน 3 สายเลือด พันธุ์ลาร์จไวท์ x แลนด์เรช x ดูร๊อคเจอร์ซี่ จำนวน 24 ตัว แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 6 ตัว สุกรแต่ละตัวอยู่ในคอกขังเดี่ยว มีน้ำและอาหารให้กินตลอดเวลา โดยใช้แผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อกสมบูรณ์ ผลการทดลองพบว่า สุกรที่กินอาหารสูตรควบคุมและสูตรเสริมใบกระถินแช่น้ำ 10, 20 และ 30 % มีอัตราการเจริญเติบโต เฉลี่ยต่อวัน 0.745, 0.768, 0.718 และ 0.625 กก. ปริมาณการกินอาหารเฉลี่ยต่อตัว ต่อวัน 2,021, 2.303, 2.234 และ 2.198 กก. และประสิทธิภาพในการเปลี่ยนอาหาร เท่ากับ 2.74, 3.03, 3.12 และ 3.53 ตามลำดับ โดยการเจริญเติบโตของสุกรที่กิน อาหารสูตรควบคุมและสูตรเสริมใบกระถิน 10 และ 20 % ไม่แตกต่างกันในทางสถิติและโต ดีกว่ากลุ่มที่กินอาหารเสริมใบกระถิน 30 % อย่างมีนัยสำคัญ (P < 0.05) ปริมาณการกินอาหารต่อตัวต่อวันของสุกรกลุ่มที่กินอาหารเสริมใบกระถิน 10, 20 และ 30 % ไม่แตกต่างกัน แต่มากกว่าของสุกรกลุ่มที่กินอาหารสูตรควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (P < 0.05) สำหรับประสิทธิภาพในการใช้อาหาร พบว่า การเสริมใบกระถิน 10, 20 และ 30 % ทำให้ประสิทธิภาพในการเปลี่ยนอาหารด้อยลงประมาณ 17, 14 และ 29 % ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับสุกรที่กินอาหารควบคุม แม้ว่าประสิทธิภาพในการใช้อาหารของสุกรกลุ่มที่กินอาหารเสริมใบกระถิน 10 และ 20% จะไม่ถึงขั้นแตกต่างกันในทางสถิติ (P < 0.05)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คันโธ, อุทัย (2527) สูตรอาหารสุกรยึดถือระดับกรดอะมิโน ในหนังสือที่ระลึกครบรอบ 60 ปี ศาสตราจารย์ ดร.สุชีพ รัตนสาร, โรงพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมและฝึกอบรมการ เกษตรแห่งชาติ กำแพงแสน. น. 255 - 280.

ภาคยวิวัฒน์, สุวรรณา; คันโธ, อุทัย; ราชแพทยาคม, ประทีป และเมฆสองสี ลอลิดา (2528) การใช้ประโยชน์ของใบกระถินในสุกรระยะเจริญเติบโต. รายงานการ ประชุมวิชาการ สาขาสัตวศาสตร์ ครั้งที่ 23 ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ

.

รัตรสาร, สุชีพ (2522) หลักการผลิตสุกรเซ็นทรัลเอ็กซ์เพรส ศึกษาการพิมพ์, กรุงเทพฯ เรืองไพบูลย์, กันชน, เชียวชาญกิจ, กษิดิส และคันโธ, คันโธ (2528), ผลการใช้ใบกระถินแช่น้ำเป็นอาหารเสริมโปรตีนในอาหารสุกรขุน รายงานการประชุมวิชาการ สาขาสัตวศาสตร์ ครั้งที่ 23 ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ.

Bowland, J.P., Bickel, H., Pfirter, H.P. Wenk, C.P. and Schruch, A. (1970). Respiration calorimetry studies with growing pigs fed diets containing from three to twelve percent crude fibre J. Anim. Sci. 31:494-501.

Malynicz, G. (1974). The effect of adding Leucaena leucocephala meal to commercial rations for growing pigs. Papua and New Guinea Agr. J. 25:12-14.

National Academy of Sciences (1979). Leucaena Promising Forage and Tree Crop for the Tropics. Washington, D.C.

Rivas, E.T., Arganosa, V.G., Lopez, P.L. and Oliveros, 8.A. (1977). The production performance and carcass characteristics of growing-finishing pigs fed high level of Ipil-ipil (Leucaena leucocephala Lam. de Wit) leaf meal with and without ferrous sulfate supplementation. Paper presented during the graduate seminar, Dept. of Animal Science, UPLB, Laguna.

Sampet, C. and Pattare, V. (1979). Comparative productivity of four strains of Leucaena leucocephala under different cutting regimes. Thai. J. Agr. Sci. 12:291-300.

Schulke, E., Szyszka, M., Ter Meulen, U. und El-Harith, E.A. (1982). Untersuchungen zum Einfluss der Waesserung auf den Mimosingehalt von Leucaena-Blattmaterial aus Zaire. Trop. Landwirt. 83:43-48.

Springhall, J.A. and Ross, E. (1965). Preliminary studies with poultry rations for the territory of Papua and New Guinea. I. Grower rations with copra, sago and Leucaena leucocephala. Papua and New Guinea Agr. J. 17: 117-121.

Szyszka, M. (1984). Leucaena leucocephala, Moglichkeiten und Grenzen Ihres Einsatzes als Futtermittel fuer landwirtschaftliche Nutztiere am pantropischen Standort. Ph.D. Thesis, Goettingen Universitaet.

Ter Meulen, U., Struck, S., Schulke, E. and El-Harith, E.A. (1979). A review on the nutritive value and toxic aspects of Leucaena leucocephala. Trop. Anim. Prod. 4:113-126.

Wayman, O. and Iwanaga, I.I. (1957). The inhibiting effect of Leucaena glauca (Koa haole) on reproduction performance in Swine. Am. Soc. Anim. Prod. West. Sec. Proc. 8:1-5.

Wayman, O., Iwanaga, I.I., Williams, I.H. (1970). Fetal resorption in swine caused by Leucaena leucocephala (Lam. de wit) in the diet. J. Anim. Sci. 30:583-588.