การตอบสนองต่อปุ๋ยและการคาดคะเนผลผลิตของข้าวไร่ในสภาพการเพาะปลูกแบบชาวเขาในจังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

ไพบูลย์ วิวัฒน์วงศ์วนา
ดำรง ติยวลีย์

บทคัดย่อ

การทดลองได้กระทำในจังหวัดเชียงใหม่ บนที่สูง 3 แห่ง ในระหว่างฤดูฝน พ.ศ. 2527 เพื่อศึกษาการตอบสนองของปุ๋ยและการคาดคะเนผลผลิตของข้าวไร่ ภายใต้ระบบการปลูกข้าวไรแบบดั้งเดิมของเกษตรกรชาวไทยภูเขา จากการศึกษาพบว่า ผลผลิตของชาวไร่ในแปลงที่ไม่ได้ใส่ปุ๋ยแตกต่างกันมากขึ้นกับความอุดมสมบูรณ์ของดินในแต่ละท้องที่ ผลผลิตที่ได้รับมีสหสัมพันธ์อย่างสูงกับระดับของ pH ฟอสฟอรัสและโปแตสเซียมในดิน อย่างไรก็ตามจากการวิเคราะห์ทางสถิติแบบ Stepwise regression พบว่าผลผลิตของข้าวไรสามารถที่จะคาดคะเนได้เป็นอย่างดี จากการใช้สมการรวมของ pH และ ความเป็นประโยชน์ของฟอสฟอรัส ส่วนโปแตสเซียมนั้น ไม่จำเป็นต้องนำมาใช้ร่วมในการพิจารณา


ถึงแม้ว่าปุ๋ยไนโตรเจนและฟอสฟอรัสจะมีอิทธิพลอย่างเด่นชัดต่อการเพิ่มผล ผลิตของชาวไร อย่างไรก็ตาม เปอร์เซ็นต์การเพิ่มขึ้นของผลผลิตจะมีมากในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ส่วนดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง เปอร์เซ็นต์การเพิ่มของผลผลิตจะอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

วิวัฒน์วงศ์วนา, ไพบูลย์ และติยวลีย์ ดำรง. (2528). อิทธิพลของอัตราและวิธีการใส่ปุ๋ย ไนโตรเจนและฟอสฟอรัส ต่อผลผลิตของข้าวไร่ วารสารเกษตร (1) 1:50 - 60.

Draper, N. and Smith, H. (1966). Applied regression analysis. John Wiley & Sons, Inc. New York, U.S.A.

Faculty of Agriculture. (1983). Yield improvement in upland rice. Report to ARS, USDA. Faculty of Agriculture, Chiang Mai University.

Faculty of Agriculture. (1979). Multiple cropping for highland. Report to ARS, USDA. Faculty of Agriculture, Chiang Mai University.

Social Research Institute. (1983). Socio-economic Survey of highland units of Northern Thailand for community development (Survey 1). Chiang Mai University.

Wivutvongvana, P. and Tiyawalee, D. (1984). Soil fertility changes under different multiple cropping systems. Proceedings of the 5 th ASEAN Soil Conference, June 10-23, 1984. Bangkok, Thailand. Vol. 1, pages H 6.1-H 6.7.