การใส่ปุ๋ยในโตรเจนสำหรับข้าวในดินนาชุดสันทราย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาเพื่อค้นคว้าหาชนิดของปุ๋ยไนโตรเจนและวิธีการใส่ที่เหมาะสมสำหรับข้าวได้กระทำที่แปลงทดรองของศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในระหว่างฤดูฝนปี พ.ศ. 2527 โดยทำการเปรียบเทียบบปุ๋ย 2 ชนิด คือ แอมโมเนียมซัลเฟต (Ammonium sulfate) และ ยูเรีย (Urea) โดยวิธีการใส่ที่แตกต่างกัน 3 วิธี คือ ใส่คลุกกับดินเป็นปุ๋ยรองพื้น (basal incorporation), แบ่งใส่ (split application) และใส่แบบปุ๋ยดินปั้น (mudball) ในอัตรา 60 กก. N/เฮกตาร์ พันธุ์ข้าวที่ใช้เป็นพืชทดสอบคือพันธุ์ กข. 7 ปลูกแบบย้ายกล้า (transplanting) โดยใช้ระยะปลูก 25 x 25 ซม.
ผลการทกลองที่ได้รับชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการใส่ปุ๋ยไนโตรเจน ในการเพิ่มผลผลิตที่เป็นน้ำหนักแห้งทั้งหมด และผลผลิตเมล็ด มากกว่าแปลงเปรียบเทียบที่ไม่ใช้ปุ๋ยไนโตรเจนไม่มีความแตกต่างในผลผลิตของข้าวที่ได้รับการใส่ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟตโกยวิธีแตกต่างกัน ในขณะที่การใส่ยูเรียในวิธีต่างๆ กัน มีผลความแตกต่างในผลผลิตของข้าว อย่างไรก็ดีผลผลิตของข้าวจะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำกัญ เมื่อมีการใส่ปุ๋ยยูเรียในรูปของปุ๋ยดินปั้นนั้น ข้อมูลจากการวิเคราะห์ของระบบดิน-พืชได้ชี้แนะถึงบทบาทที่สำคัญของปุ๋ยไนโตรเจนในการผลิตข้าว ในดินชุดนี้การใช้ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟตมีประสิทธิผลดีกว่าปุ๋ยยูเรีย ยกเว้นเมื่อมีการใส่ในรูปของปุ๋ยดินปั้นเท่านั้น วิธีการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนมีอิทธิพลอย่างมากต่อการดูดใช้ปุ๋ยโดยพืช และความแตกต่างนี้จะมีตั้งแต่ 45-61 % และ 30-56 % ของปริมาณไนโตรเจนที่เติมลงไปในดินในรูปของแอมโมเนียมซัลเฟตและเรียงตามลำดับ ปุ๋ยไนโตรเจนที่พืชดูดใช้ไปโดยส่วนมากจะสะสมอยู่ในส่วนของพืชที่อยู่เหนือดินและจะถูกใช้ไปเป็นจำนวนมากในการสร้างเมล็ด มีปุ๋ยไนโตรเจนจำนวนพอสมควรตั้งแต่ 8-40 % ของปริมาณไนโตรเจนทั้งหมดที่เดิมลงไป ยังคงเหลือตกค้างอยู่ในดิน โดยปริมาณที่สะสมอยู่นั้นพบว่ามีอยู่มากที่สุดในกรรมวิธีการใส่ปุ๋ยแบบแบ่งใส่ ตามด้วยแบบปุ๋ยดินนั้น และแบบรองพื้นผลการทดลองได้ให้ข้อชี้แนะสำหรับดินชุดนี้ไว้ว่าการใช้ปุ๋ยยูเรียไม่ควรปฏิบัติโดยการใส่แบบรองพื้น เนื่องจากเกิดการสูญเสียมาก (62 % ของปริมาณไนโตรเจนทั้งหมดที่ใส่ และมีการใช้โดยข้าวในปริมาณที่น้อย (30 % ของปริมาณไนโตรเจนทั้งหมดที่ใส่) อย่างไรก็ดี การใช้ปุ๋ยไนโตรเจนทั้ง 2 ชนิดนี้ในรูป ปุ๋ยดินปั้นดูเหมือนว่าจะเป็นเทคนิคที่ดีที่สุดในการลดการสูญเสียของปุ๋ย และในขณะเดียวกันช่วยเพิ่มการสะสมในระบบดิน-พืชในระดับที่น่าพอใจเช่นเดียวกันกับการเพิ่มผลผลิต
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Bremner, J.M. (1965). Total nitrogen. In. Methods of soil analysis, part 2. Am. Soc. of Agron. No. 9. Madison, Wisconsin, USA. 1149-1176.
Craswell, E.T. and VIck, P.L.G. (1979). Fate of fertilizer nitrogen applied to Wetland rice. In. Nitrogen and rice. IRRI: 173-192.
Craswell, E.T. and De Datta. S.K. (1980). Recent developments in research on nitrogen fertilizers for rice. RRI Res. Pap. Ser. 49:1-11.
De Datta, S.K. (1978). Fertilizer management for efficient use in wetland rice soils. In. Soils and rice. IRRI: 671-701.
De Datta, S.K. (1981). Evaluation of nitrogen fertility and increasing fertilizer efficiency in wetland rice soils. Proc. Symp on Paddy Soil. Inst. of Soil Sci. Press. Beijing: 171-206.
IAEA (1970). Rice fertilization; a six-year isotope study on nitrogen and phosphorus fertilizer utilization. Tech. Rep. Ser. 108:1 184.
IRRI. (1978). Summary report (Agronomic data and economic analysis) on the first and second international trials on nitrogen fertilizer efficiency in rice (1975-1977). Los Banos, Philippines: 1-30.
Ishizuka, Y. (1980). The importance of nitrogen for the growth of the rice plant. In. Increasing nitrogen efficiency for rice cultivation. ASPAC. Food. Fert. Tech. Center. Taiwan: 1-12.
Jiraporncharoen, S. (1984). Significance of fertilizer and straw nitrogen in crop production and fertility of lowland rice soil. Ph.D. thesis, Kyushu University, Fukuoka, Japan: 1-330.
Juang, T.C. (1980). Increasing nitrogen efficiency through deep placement of urea super granules under tropical and subtropical paddy conditions. In. Increasing nitrogen efficiency for rice cultivation. ASPAC. Food. Fert. Tech Center. Taiwan: 83-99.