ผลของการกระตุ้นด้วยพลังงานไฟฟ้าและระยะเวลาในการกระตุ้นที่แตกต่างกันต่อการเจริญของเส้นใยและคุณภาพทางกายภาพของเห็ดหลินจือ

Main Article Content

ชุติมันต์ ใส่เสี้ยว
แคทรียา สนธิยา
ณัฐฌลาภัทร์ ต่ายจันทร์
กวินธิดา สุกใส
ศุภณัฐ จะสนอง
พลกฤษณ์ มณีวระ
ปาริชาติ เทียนจุมพล
พิมพ์ใจ สีหะนาม

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการกระตุ้นเส้นใยด้วยพลังงานไฟฟ้าและระยะเวลาในการกระตุ้นที่แตกต่างกันต่อการเจริญของเส้นใยและคุณภาพทางกายภาพของเห็ดหลินจือ พบว่า การกระตุ้นด้วยไฟฟ้า 100 kV ส่งผลให้เส้นใยเห็ดหลินจือเจริญบนอาหารวุ้นดีกว่าการกระตุ้นด้วยไฟฟ้า 25 kV เมื่อเลี้ยงเชื้อที่ผ่านการกระตุ้นด้วยไฟฟ้า 100 kV ในอาหารเมล็ดข้าวฟ่างมีแนวโน้มส่งผลให้เส้นใยเห็ดหลินจือเจริญทั้งแนวดิ่งและแนวระนาบเร็วกว่ากรรมวิธีอื่น และยังพบว่าเส้นใยเห็ดหลินจือที่ผ่านการกระตุ้นด้วยไฟฟ้า 50 kV เจริญบนวัสดุเพาะขี้เลื่อยดีกว่ากรรมวิธีอื่น เมื่อดอกเห็ดเจริญถึงระยะแก่ทางการค้า พบว่า เห็ดหลินจือซึ่งเจริญจากเส้นใยที่ผ่านการกระตุ้นด้วยพลังงานไฟฟ้า 100 kV มีความยาวก้านดอกมากกว่าเห็ดหลินจือซึ่งเจริญจากเส้นใยที่ผ่านการกระตุ้นด้วยไฟฟ้า 25 kV สำหรับปัจจัยระยะเวลาในการกระตุ้นด้วยไฟฟ้า พบว่า การกระตุ้นด้วยไฟฟ้าเป็นเวลา 30 วินาที ส่งผลให้เส้นใยเห็ดหลินจือเจริญบนอาหารวุ้นดีที่สุด แต่ระยะเวลาในการกระตุ้นด้วยไฟฟ้าไม่มีผลต่อการเจริญของเส้นใยในอาหารเมล็ดข้าวฟ่างทั้งในแนวดิ่งและแนวระนาบ นอกจากนี้ยังพบว่าเส้นใยเห็ดหลินจือที่ผ่านการกระตุ้นด้วยไฟฟ้าเป็นระยะเวลา 10 วินาที มีแนวโน้มเจริญบนวัสดุเพาะขี้เลื่อยดีกว่ากรรมวิธีอื่น ทั้งนี้ปัจจัยระดับพลังงานไฟฟ้าและระยะเวลาในการกระตุ้นเส้นใยด้วยไฟฟ้าไม่มีผลต่อความกว้างดอก ความยาวดอก ความหนาดอก เส้นผ่านศูนย์กลางของก้านดอก น้ำหนักสดของดอก และน้ำหนักแห้งของดอกเห็ดหลินจือ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Gamage, S. and S. Ohga. 2018. Effects of different electric field on mycelial growth of isolated strain of wild Ophiocordyceps sinensis. Journal of the Faculty of Agriculture, Kyushu University 63(2): 223-229.

Guo, Y., Y. Wang, X. Xu, D. Niu, Q. Qing, L. Wang and J. Zhu. 2024. Effects of cold plasma pretreatment on the synthesis of polysaccharide from Pleurotus ostreatus. Applied Biochemistry and Biotechnology 196: 1977–1991.

Hapuarachchi, K.K., T.C. Wen, R. Jeewon, X.L. Wu and J.C. Kang. 2016. Ganoderma lucidum - are the beneficial medical properties substantiated? Mycosphere 7(6): 687-715.

Islam, F. and S. Ohga. 2012. The response of fruit body formation on Tricholoma matsutake in situ condition by applying electric pulse stimulator. International Scholarly Research Notices Agronomy 2012: 462724, doi: 10.5402/2012/462724.

Jamil, N.A.M., C. Gomes, Z. Kadir and A. Gomes. 2020. Impact of electrical stimulation on the growth of mycelium of Lignosus rhinocerus (Cooke) Ryvarden. Electromagnetic Biology and Medicine 39(4): 356-363.

Misra, N.N., B. Yadav, M.S. Roopesh and C. Jo. 2019. Cold plasma for effective fungal and mycotoxin control in foods: Mechanisms, inactivation effects, and applications. Comprehensive Reviews in Food Science and Food Safety 18(1): 106-120.

Ohga, S., S. Iida, C.D. Koo and N.S. Cho. 2001. Effect of electric impulse on fruit body production on Lentinula edodes in the sawdust-based substrate. Mushroom Science and Biotechnology 9(1): 7-12.

Sun, B., M. Sato and J.S. Clements. 2000. Oxidative processes occurring when pulsed high voltage discharges degrade phenol in aqueous solution. Environmental Science and Technology 34(3): 509-513.

Takaki, K., N. Yamazaki, S. Mukaigawa, T. Fujiwara, H. Kofujita, K. Takahashi, M. Narimatsu and K. Nagane. 2009. Fruit body formation of basidiomycete by pulse voltage stimulations. Frontier of Applied Plasma Technology 2: 61-64.

Takaki, K., K. Yoshida, T. Saito, T. Kusaka, R. Yamaguchi, K. Takahashi and Y. Sakamoto. 2014. Effect of electrical stimulation on fruit body formation in cultivating mushrooms. Microorganisms 2(1): 58-72.

Takaki, K., K. Takahashi and Y. Sakamoto. 2018. High-voltage methods for mushroom fruit-body developments. pp. 95-113. In: M.A. El-Esawi (ed.). Physical Methods for Stimulation of Plant and Mushroom Development. IntechOpen Limited, London.

Wachtel-Galor, S., J. Yuen, J.A. Buswell and I.F.F. Benzie. 2011. Ganoderma lucidum (Lingzhi or Reishi): A medicinal mushroom. pp. 173-197. In: I.F.F. Benzie and S. Wachtel-Galor (eds.). 2nd ed. Herbal Medicine: Biomolecular and Clinical Aspects. CRC Press/Taylor & Francis, Boca Raton, Florida.

Wang, T., X. Li, C. Zhang and J. Xu. 2023. Transcriptome analysis of Ganoderma lingzhi (Agaricomycetes) response to Trichoderma hengshanicum infection. Frontiers in Microbiology 14: 1131599, doi: 10.3389/fmicb.2023.1131599.

Yoshida, K., K. Takaki and S. Nagane. 2015. Effects of electrical stimulation by high voltage pulse generator on yield of Pleurotus jp takizawa in sawdust-bed cultivation. IEEJ Transactions on Fundamentals and Materials 135(6): 353-354.