ประสิทธิภาพของน้ำส้มควันไม้จากต้นยูคาลิปตัสและสะเดาในการควบคุมเชื้อรา <I>Colletotrichum gloeosporioides</I>

Main Article Content

วิลาสินี แสงนาค
สรัญยา ณ ลำปาง

บทคัดย่อ

การศึกษาประสิทธิภาพของน้ำส้มควันไม้จากต้นยูคาลิปตัสและสะเดา ในการควบคุมเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides สาเหตุโรคแอนแทรคโนสมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้ โดยรวบรวมเชื้อราได้ทั้งหมด 131 ไอโซเลท จากนั้นทดสอบความต้านทานต่อสารกำจัดเชื้อราคาร์เบนดาซิม พบเชื้อราที่ต้านทานสารป้องกันกำจัดเชื้อราคาร์เบนดาซิมระดับสูง (HR) จำนวน 94 ไอโซเลท (71.76%), ต้านทานระดับปานกลาง (MR) 2 ไอโซเลท (1.53%) และระดับอ่อนแอ (S) 35 ไอโซเลท (26.72%) สำหรับ การทดสอบประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญเส้นใยของเชื้อรา C. gloeosporioides โดยผสมน้ำส้มควันไม้ในอาหารเลี้ยงเชื้อ potato dextrose agar (PDA) ที่ระดับความเข้มข้นที่ทำการทดลอง พบว่าน้ำส้มควันไม้ทั้ง 2 ชนิด ที่ความเข้มข้นตั้งแต่ 2% (v/v) ขึ้นไป ยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อราได้ 100% ส่วนประสิทธิภาพในการยับยั้งการงอกของโคนิเดียที่เวลา 24 ชั่วโมง พบว่าน้ำส้มควันไม้ทั้ง 2 ชนิด ที่ความเข้มข้นตั้งแต่ 1% (v/v) ขึ้นไป ยับยั้งการงอกของสปอร์ได้ 100% จากประสิทธิภาพของน้ำส้มควันไม้ยูคาลิปตัสที่ระดับความเข้มข้นน้อยสามารถยับยั้งการเจริญของเส้นใย และการงอกของสปอร์เชื้อราได้ดีกว่าน้ำส้มควันไม้สะเดา จึงนำน้ำส้มควันไม้ยูคาลิปตัสทดสอบการควบคุมโรคบนผลมะม่วง โดยแช่มะม่วงในน้ำส้มควันไม้ที่ความเข้มข้น 1, 2 และ 3% (v/v) เป็นเวลา 1, 3 และ 5 นาที ตามลำดับ แล้วปลูกเชื้อ พบว่าการแช่มะม่วงในน้ำส้มควันไม้ 1% (v/v) เป็นเวลา 1 นาที สามารถลดการเกิดโรคได้ เมื่อเทียบกับชุดควบคุม เมื่อตรวจสอบคุณภาพของมะม่วงภายหลังจากการแช่น้ำส้มควันไม้เป็นเวลา 16 วัน กลิ่นจะหายไปในวันแรกหลังจากการแช่น้ำส้มควันไม้ และไม่พบอาการของโรคที่ผล ในขณะที่ชุดควบคุมแสดงอาการของโรคทั่วทั้งผล นอกจากนี้สีเปลือก และรสชาติของมะม่วงไม่ต่างจากมะม่วงก่อนนำมาแช่น้ำส้มควันไม้ กล่าวโดยสรุปน้ำส้มควันไม้จากยูคาลิปตัสมีศักยภาพในการควบคุมโรคแอนแทรคโนสในผลมะม่วง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรองจิต แซ่หงอ. 2530. การศึกษาลักษณะความต้านทานของเชื้อ Colletotrichum sp. ต่อสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อราประเภทดูดซึมบางชนิด. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 155 หน้า.
จุฑารัตน์ ธิป้อ. 2550. ประสิทธิภาพของน้ำส้มควันไม้ และไคโตซานในการควบคุมเชื้อรา Colletotrichum spp. สาเหตุโรคแอนแทรคโนสของพริกที่ทนทานต่อสารป้องกันกำจัดเชื้อราคาร์เบนดาซิม. ปัญหาพิเศษปริญญาตรี. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 76 หน้า.
เฉลิมชัย แก้ววรชาติ. 2539. การปลูกมะม่วง. อักษรสยามการพิมพ์, กรุงเทพฯ. 88 หน้า.
ธรรมศักดิ์ สมมาตย์. 2543. สารเคมีป้องกันกำจัดโรคพืช. โรงพิมพ์ลินคอล์น, กรุงเทพฯ. 317 หน้า.
นิพนธ์ วิสารทานนท์. 2542. โรคมะม่วง. เอกสารเผยแพร่ทางวิชาการหลักสูตร “หมอพืชไม้ผล” ฉบับที่ 6. เอกสารวิชาการ. หจก. เอ พลัส ทรี มีเดีย, กรุงเทพฯ. 45 น. 44 หน้า.
วรรษมน บุญยิ่ง. 2549. ประสิทธิภาพของน้ำส้มควันไม้ และสารสกัดหยาบจากพริกในการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา Colletotrichum spp. สาเหตุโรคแอนแทรคโนสของส้ม. ปัญหาพิเศษปริญญาตรี. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 38 หน้า.
วิไลลักษณ์ เขื่อนแก้ว. 2549. ประสิทธิภาพของสารสกัดหยาบของพืชสมุนไพรในวงศ์ Piperaceae น้ำส้มควันไม้ และสาร benomyl ในการควบคุมเชื้อราสาเหตุโรคแอนแทรคโนสของกล้วย และพุทรา. ปัญหาพิเศษปริญญาตรี. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 38 หน้า.
สมาคมเทคโนโลยีที่เหมาะสม. 2549. การศึกษาการใช้น้ำส้มควันไม้ในระบบเกษตรกรรมอินทรีย์ Study using of Wood Vinegar in Organnic Agriculture. 145 หน้า. ใน: รายงานการประชุมวิชาการโครงการส่งเสริมการผลิตการเผาถ่านและการจัดทรัพยากรป่าไม้อย่างมีประสิทธิภาพ.
สุชาติ วิจิตรานนท์, ขจรศักดิ์ ภวกุล และดารา พวงสุวรรณ. 2531. โรคของมะม่วง. น.9-12 ใน มะม่วงเพื่อการส่งออก. กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ.
Agrios, G.N. 2005. Plant Pathology. 5th ed. Academic Press., London. 952 p.
Fitzell, R.D., and C.M. Peak. 1984. The epidemiology of anthracnese disease of mango : inoculums sources spore. production and dispersal. Annals of Applied Biology 104: 53-59. CAB Abstracts. Accession no. 841397228.
Jeger, M.J., R.A. Plumpley, C. Prior, and C. Persad. 1987. SS2-Post-harvest aspects of crop protection. Manila (Philippines). Agris. Accession no. 90-086360.
Koenraadt, H., S. C. Somerville, and A. L. Jones 1992. Characterization of mutations in the beta-tubulin gene of benomyl-resistant field isolates of Venturia inaequqlis and other plant pathogenic fungi. Phytopathology 82: 1348-1354.
Peres, N. A. R., N. L. Souza, T L. Peever and L. W. Timmer. 2004. Benomyl sensitivity of isolates of Colletotrichum acutatum and C. gloeosporioides from citrus. Plant Dis. 88: 125-130.
Sutton, B. C. 1992. The genus Glomerella and its Anamorph Colletotrichum. Pages 1 – 27. in Colletotrichum: Biology, Pathology and Control. J. A. Bailey, and M. J. Jeger, eds. CAB International, Wallingford, UK.