ชีววิทยาและความสามารถในการห้ำของมวนตาโต (<I>Geocoris ochropterus</I> Fieber)

Main Article Content

อรพรรณ เกินอาษา
กิตติยา สุขเสน
อทิติยา แก้วประดิษฐ์
วิวัฒน์ เสือสะอาด

บทคัดย่อ

การศึกษาชีววิทยาของมวนตาโต Geocoris ochropterus Fieber (Hemiptera: Lygaeidae) ภายใต้สภาพห้องปฏิบัติการ พบว่า ไข่มีรูปร่างยาวรี สีเขียวอ่อน ตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่เป็นฟองเดี่ยว ไข่มีความกว้างเฉลี่ย 0.34±0.04 มม. ยาวเฉลี่ย 0.86±0.08 มม. ระยะฟักไข่เฉลี่ย 7.30±0.48 วัน ระยะตัวอ่อนมี 5 วัย ลำตัวสีน้ำตาลเข้มและเริ่มมีนิสัยเป็นตัวห้ำทันทีเมื่อฟักออกจากไข่ ระยะตัวอ่อนใช้เวลาในการเจริญเติบโตเฉลี่ย 36.7±2.91วัน ตัวเต็มวัยทั้งเพศผู้และเพศเมียลำตัวมีสีดำ เพศเมียมีขนาดลำตัวใหญ่กว่าเพศผู้ ตัวเต็มวัยเพศผู้และเพศเมียมีอายุเฉลี่ย 12.80±1.55 และ 15.20±0.79 วัน ตามลำดับ ตัวเต็มวัยเพศเมียหนึ่งตัวสามารถวางไข่ได้เฉลี่ย 4.40±0.84 ฟองต่อวัน ในการศึกษาความสามารถในการห้ำของมวนตาโต G. ochropterus ต่อเหยื่อ 6 ชนิด ได้แก่ เพลี้ยไฟฝ้าย Thrips palmi Karny เพลี้ยอ่อนฝ้าย Aphis gossypii Glover ตัวอ่อนเพลี้ยแป้งชบา Macronellicoccus hirsutus (Green) ตัวอ่อนแมลงหวี่ขาวยาสูบ Bemisia  tabaci  (Gennadius) ไข่ผีเสื้อข้าวสาร Corcyra cephalonica Stainton และไรแดงหม่อน Tetranychus truncatus Ehara พบว่า มวนตาโตทั้งในระยะตัวอ่อนและตัวเต็มวัยชอบกินเพลี้ยอ่อนฝ้ายมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ เพลี้ยไฟฝ้าย  ไข่ผีเสื้อข้าวสาร  ตัวอ่อนเพลี้ยแป้งชบา  ไรแดงหม่อน และตัวอ่อนแมลงหวี่ขาวตามลำดับ โดยตัวอ่อนของมวนตาโตตั้งแต่วัยที่ 1 ถึงวัยที่ 5 และตัวเต็มวัยกินเพลี้ยอ่อนฝ้ายมากที่สุดเฉลี่ย 866.10±10.24 และ 566.60±11.3 ตัว ขณะที่กินตัวอ่อนแมลงหวี่ขาวน้อยที่สุดเฉลี่ย 234.15±8.69 ตัว และ 101.45±2.19 ตัว ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bell, K.O. and W.H. Whitcomb. 1964. Field studies on egg predator of the bollworm, Heliothis zea (Boddie). Florida Entomologist 47: 171-180.
Kapadia, M.N. and S.N. Puri. 1991. Biology and comparative predation efficacy of three heteropteran species recorded as predators of Bemisia tabaci in Maharashtra. BioControl 36(4): 555-559.
Kumar, N.S. and T.N. Ananthakrishnan. 1985. Geocoris ochropterus Fabr. as a predator of some thrips. Proceedings of Indian National Science Academy: B (Biological Sciences) 51: 185-193.
Sweet II, H.M. 2000. Economic importance of predation by big-eyed bugs Geocoridae). pp. 713-724. In: C.W. Schaefer and A.R. Panizzi (eds.). Heteroptera of Economic Importance. CRC Press, Boca Raton.
Tillman, P.G. and B.G. Mullinix, Jr. 2003. Effect of prey species on plant feeding behavior by the big-eyed bug, Geocoris punctipes (Say) (Heteroptera: Geocoridae), on cotton. Environmental Entomology 32(6): 1399-1403.
Weeden, C.R., A. M. Shelton and M. P. Hoffman. 2007. Biological control: A guide to natural enemies in north America. (Online). Available: http://www.nysaes. cornell.edu/ent/biocontrol/ (January 4, 2009)