ผลของการขาดน้ำในระยะการเจริญพันธุ์ต่อการเติบโตและผลผลิตของถั่วเหลือง

Main Article Content

อาทิตยา ยอดใจ
จักรี เส้นทอง

บทคัดย่อ

ผลการวิเคราะห์การตอบสนองของถั่วเหลือง [Glycine max (L.) Merrill]  4 พันธุ์ ได้แก่พันธุ์ สจ.2, พันธุ์ สจ.4, พันธุ์#75 และพันธุ์ AGS292 ต่อการขาดน้ำเป็นระยะเวลา 3, 5, 7 และ 9 วัน ในระยะของการเจริญพันธุ์ (R1-R2)  ระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ. ศ. 2551 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ. ศ. 2552 ที่สถานีวิจัยและศูนย์ฝึกอบรมการเกษตรแม่เหียะ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พบว่าการเพิ่มระยะเวลาของการขาดน้ำเป็นระยะเวลา 3, 5, 7 และ 9 วัน ในระยะของการเจริญพันธุ์ ทำให้การสะสมน้ำหนักแห้งรวม, อัตราการเจริญเติบโตรวม, อัตราการเจริญเติบโตของฝัก, ประสิทธิภาพของการถ่ายเทสารสังเคราะห์ไปสู่ฝัก, ผลผลิต, น้ำหนัก 100 เมล็ด, น้ำหนักฝักแห้ง, จำนวนฝักต่อต้น และจำนวนเมล็ดต่อฝักของถั่วเหลืองทุกพันธุ์ลดลง ถั่วเหลืองฝักสด พันธุ์ AGS292 มีการปรับตัวได้ดีภายใต้สภาพของการขาดน้ำที่ยาวนานได้ถึง 9 วัน รองลงมาคือถั่วเหลืองเก็บเมล็ด พันธุ์ สจ.2, และพันธุ์ สจ.4 และถั่วเหลืองฝักสดพันธุ์ #75

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เฉลิมพล แซมเพชร. 2535. ความสัมพันธ์ระหว่าง Source และ Sink. สรีรวิทยาการผลิตพืชไร่. ภาควิชาพืชไร่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 188 หน้า.
ทรงเชาว์ อินสมพันธ์ วีระชัย ศรีวัฒนพงศ์ และเฉลิมพล แซมเพชร. 2531. การตอบสนองของถั่วเหลืองพันธุ์ต่าง ๆ ต่อสภาพที่ขาดน้ำ. วารสารเกษตร 4(1) : 30-54.
ธวัชชัย ณ นคร. 2526. ความสัมพันธ์ระหว่างดิน น้ำ และพืช. วารสารวิชาการเกษตร 1(3) : 183 – 195.
นิมิตร วรสูต, สุวัฒน์ บุญจันทร์ และกมล อภินาคพงศ์. 2536. การใช้น้ำของงาบางพันธุ์ที่ได้รับน้ำปริมาณต่างกัน. รายงานการสัมมนาเชิงปฎิบัติการงานวิจัยงา ครั้งที่ 7. หน้า 83-93.
พรศิริ มณีโชติ. 2534. การตอบสนองของพันธุ์ถั่วเหลืองต่อการให้น้ำต่างระดับกัน. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) สาขาวิชาพืชไร่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 64 หน้า.
สมชาย บุญประดับ เทวา เมาลานนท์ และจักรี เส้นทอง. 2537. การตอบสนองของพันธุ์ถั่วเขียวต่อการให้น้ำต่างระดับ : การเจริญเติบโตของต้น. วารสารวิชาการเกษตร 12 (2) : 102–110.
สุวิทย์ ปิ่นทองคำ. 2534. การเจริญของรากถั่วเหลืองภายใต้การให้น้ำต่างระดับกัน. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) สาขาวิชาพืชไร่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 60 หน้า.
Pandey, R. K., W. A. T. Harrera and J. W. Pendleton. 1984. Drought response of grian legumes under irrigation gradient. III Plant growth. Agron. J. 76 : 557 – 560.
Senthong, C. 1979. Growth analysis in several peanut cultivars and the effect of peanut root – knot nematode (Meloidogyne arenaria) on peanut yields. Ph. D. Dissertation, Univ. of Florida. U. S. A. 62 pp.
Senthong, C. and R. K. Pandey. 1989. Response of five food legume crops to an irrigation gradient imposed during reproductive growth. Agron. J. 81 :680-686. Senthong, C., L. Tedia, E. Barlaan and R. K. Panday.1986. Drought response of soybean genotypes during reproductive growth phase under irrigation gradient. Saturday Seminar. Rice Farming System Program. IRRI, Philippines.